ค่าโง่ 'กล้ายาง'!! รัฐจ่าย 'ซีพี' 1.7 พันล้าน

13 ก.พ. 2561 | 09:11 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

1609

กรมวิชาการเกษตรป่วน! ศาลฎีกาสูงสุดตัดสินให้ ‘ซีพี’ ชนะคดียางล้านไร่ เผยความเสียหาย 1,700 ล้านบาท ที่กรมจะต้องชดใช้ หลังถูกระงับส่งมอบ 16.4 ล้านตัน วงในเผยต้องจ่ายก้อนแรก 300 ล้านบาท

ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาในคดีที่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ได้ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกว่า 1,700 ล้านบาท จากกรมวิชาการเกษตร จากที่บริษัทถูกระงับการส่งมอบต้นกล้ายาง 16.4 ล้านตัน ซึ่งก่อนหน้านี้ชนะแล้ว 2 ศาล ลุ้นศาลฎีกาตัดสิน

ล่าสุด แหล่งข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า เมื่อปลายเดือน ธ.ค. 2560 ศาลฎีกาสูงสุดได้ตัดสินให้ ‘เครือซีพี’ ชนะคดีกล้ายาง 1 ล้านไร่ ซึ่งผลจากการตัดสินทำให้กรมวิชาการเกษตรจะต้องชำระค่าเสียหายทั้งสิ้น 1,700 ล้านบาท ซึ่งทางบริษัทได้เรียกค่าเสียหายทั้งจากต้นกล้ายางที่ไม่ได้ส่งมอบและภาพลักษณ์ของบริษัท โดยศาลได้ให้กรมวิชาการเกษตรแบ่งชำระเป็นงวด โดยงวดแรกจะต้องชำระ 300 ล้านบาท ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวได้พยายามติดต่อสอบถามไปยัง นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายสุวิทย์ ชัยเกียรติยศ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ถึงผลคดี แต่ไม่สามารถติดต่อได้


AW_Online-03

สำหรับโครงการส่งเสริมการปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ ในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีเกษตรกรร่วมโครงการประมาณ 1.42 แสนราย ต้องใช้กล้ายางถึง 90 ล้านต้น ระยะเวลาของโครงการ 3 ปี (2547-2549) กรมวิชาการเกษตรได้ว่าจ้าง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด เป็นผู้ผลิตและส่งมอบกล้ายาง โดยโครงการนี้ได้รับความช่วยเหลือเงินทุนจากโครงการช่วยเหลือเกษตรกร 1,440 ล้านบาท ชำระคืนภายใน 10 ปี นับจากที่ยางให้ผลผลิต และวงเงินสินเชื่อเพื่อการดูแลรักษาระยะเวลา 6 ปี อีก 5,360 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 8%

ทั้งนี้ กระบวนการจัดหากล้าพันธุ์ยางนั้น หลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2546 กรมวิชาการเกษตรได้ออกประกาศการประกวดราคาให้บริษัทเอกชนยื่นประมูล ซึ่งปรากฏว่า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด ในเครือซีพี ชนะการประมูล ซึ่งต่อมากรมวิชาการเกษตรได้ทำสัญญากับซีพีให้ดำเนินการผลิตต้นกล้าพันธุ์ยางพารา ซึ่งต้องใช้ทั้งสิ้น 90 ล้านต้น ในวงเงิน 1,397 ล้านบาท เพื่อส่งมอบให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการปลูกภายในระยะเวลา 3 ปี (2547-2549) โดยตามสัญญาว่าจ้างระบุว่า ในปีแรก ซีพีต้องส่งมอบกล้าพันธุ์ยางให้ได้ 20% (18 ล้านต้น), ปี 2548 จำนวน 30% (27 ล้านต้น) และปี 2549 ซีพีต้องส่งมอบให้ได้ 50% (45 ล้านต้น)

จากที่กระทรวงเกษตรฯ ให้ยกเลิกสัญญาการส่งมอบกล้ายางระหว่างกรมวิชาการเกษตรกับบริษัท ได้สร้างความเสียหาย ทั้งกับบริษัทและเกษตรกรที่รอรับกล้ายางอยู่จำนวนมาก เพราะช่วงก่อนที่สัญญาจะจบลง วันที่ 31 ส.ค. 2549 ทางบริษัทไม่สามารถส่งมอบกล้ายางได้ตามสัญญา ด้วยสาเหตุภัยธรรมชาติ จนทำยางชำถุงไม่ได้ จึงแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรรับทราบและขอต่อสัญญาการส่งมอบ จากวันที่ 31 ส.ค. 2549 ทางบริษัทไม่สามารถส่งมอบกล้ายางได้ตามสัญญา ด้วยสาเหตุภัยธรรมชาติ จนทำยางชำถึงไม่ได้ จึงแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรรับทราบและขอต่อสัญญาการส่งมอบ จากวันที่ 31 ส.ค. 2549 เป็นวันที่ 15 เม.ย. - ก.ค. 2550 และพร้อมจะจ่ายค่าเสียหายตามสัญญา ซึ่งการขอต่อสัญญาครั้งนี้ บริษัทสามารถทำได้ตามสัญญาที่ระบุไว้ ในกรณีที่เกิดเหตุสุดวิสัย

ต่อมาเมื่อกรมวิชาการเกษตรได้หารือกับกระทรวงเกษตรฯ แล้ว ได้ทำหนังสือแจ้งให้บริษัท เมื่อวันที่ 29 ส.ค. 2549 ว่า ยินดีจะต่อสัญญาให้บริษัทจึงเร่งผลิตยางชำถุง ที่ต้องเริ่มจากการจ้างเกษตรกรเก็บเมล็ดพันธุ์ชำถุงยาง จนถึงการติดตา ใช้ระยะเวลาประมาณ 8 เดือน และบริษัทมีกล้ายางพร้อมจะส่งมอบแล้ว แต่กรมวิชาการเกษตรกลับมีหนังสือว่า ขอยกเลิกโครงการนี้ และอ้างว่า ไม่เคยมีหนังสือเพื่อขอต่อสัญญา จึงเป็นที่มาของการฟ้องร้องในครั้งนี้


………………..
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,339 วันที่ 9-14 ก.พ. 2561 หน้า 01+15

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว