‘ทีเอ็มบี’ชี้บาทแข็งค่า ทุบธุรกิจสูญรายได้แสนล.

21 ม.ค. 2561 | 23:00 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

นายนริศ สถาผลเดชา เจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า แนวโน้มค่าเงินบาทที่แข็งค่าต่อเนื่องนั้น แม้ว่าส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยดอลลาร์อ่อนค่าด้วย แต่หากดูดัชนีค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้า (NEER) จะพบว่าดัชนี NEER แข็งค่าที่สุดในรอบ 17 ปี นับตั้งแต่ปี 2550 อยู่ที่ระดับกว่า 110% ซึ่งหากย้อนไปดูช่วงที่ค่าเงินบาทแข็งค่าที่สุดในปี 2556-2557 ที่อยู่ 29-30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งประเทศเพื่อนบ้านก็อยู่ในทิศทางแข็งค่าเช่นเดียวกัน แต่จะเห็นว่าดัชนี NEER ยังไม่สูงเท่าปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 100% ถือว่าไทยเงินบาทค่อนข้างแข็งค่าเมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้า โดยทั้งปีศูนย์วิเคราะห์ฯ มองกรอบเงินบาทภายในสิ้นปีจะอยู่ที่ 31.80 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งกรอบเงินบาทคงไม่แข็งค่ามากกว่านี้ เพราะมีเรื่องของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ขึ้นอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้ง ทำให้ภาพเริ่มเคลียร์มากขึ้น

[caption id="attachment_176296" align="aligncenter" width="503"] นริศ สถาผลเดชา ผู้อำนวยการอาวุโส ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) นริศ สถาผลเดชา ผู้อำนวยการอาวุโส ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)[/caption]

อย่างไรก็ดี หากย้อนมาดูผลกระทบจากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น จะพบว่าการแข็งค่าขึ้น 10% จากปีก่อน ทำให้ไทยสูญเสียรายได้จากภาคธุรกิจส่งออกสูงถึง 1 แสนล้านบาท ซึ่งหากมาดูในรายอุตสาหกรรม จะเห็นว่าอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบหนัก จะเป็นกลุ่มภาคการเกษตรและกลุ่มอาหาร เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ไม่มีการนำเข้า จึงไม่ได้รับอานิสงส์จากการแข็งค่าของเงินบาท ซึ่งกลุ่มนี้มีสัดส่วนรายได้สูงถึง 2-5 หมื่นล้านบาท แต่กลุ่มอุตสาหกรรมส่งออกที่มีการนำเข้าเครื่องจักรด้วย อาจจะได้ผลประโยชน์จากบาทแข็ง แต่โดยรวมบาทแข็งค่าจะเป็นความเสี่ยงต่อการส่งออก

ดังนั้น มองว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) น่าจะมีวิธีบริหารจัดการที่แอกทีฟมากขึ้นตามเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น แต่การบริหารจัดการของธปท.อาจจะต้องทำควบคู่กับการส่งสัญญาณด้วย เพื่อลดการคาดหวังหรือคาดการณ์ของตลาด ซึ่งจะช่วยให้การบริหารจัดการและดูแลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะถ้าหากไม่ส่งสัญญาณควบคู่กันว่าธปท.กำลังดูแลอยู่และจะดูแลต่อไปให้ตลาดรับรู้ เชื่อว่าต่อให้ธปท.จะใช้มาตรการอะไร หรือเข้าไปดูแลเท่าไรก็อาจไม่เพียงพอแน่นอน

ขณะเดียวกัน ธปท.อาจจะขอความร่วมมือกับสมาคมธนาคารไทย (TBA) หรือธนาคารพาณิชย์ ในการออกโปรแกรมชั่วคราวมาช่วยลดต้นทุนการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนโดยการทำ Forward หรือชดเชยในส่วนของ Swap Point ที่ติดลบแล้วตอนนี้ที่ 0.2% เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่มองว่าการป้องกันเป็นต้นทุน

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,333 วันที่ 21 - 24 มกราคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9