แบงก์ไม่ได้แข่งเฉพาะค่ายมือถือ

11 ม.ค. 2561 | 03:48 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

นายธีรวัฒน์ ติลกสกุลชัย ประธานคณะผู้บริหารฝ่ายกลยุทธ์ บริษัท แอสเซนด์ กรุ๊ป จำกัด กลุ่มซีพี กล่าวกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ตลาดบริการด้านการเงินดิจิตอล ในปี 2561 จะมีการแข่งขันที่สูงขึ้น โดยคู่แข่งที่น่ากลัวของธนาคารจะไม่ได้มีแค่ผู้ให้บริการโทรคมนาคม และมือถือหรือโอเปอเรเตอร์ โดย ตลาดขณะนี้แบ่งผู้เล่นออกเป็น 3 กลุ่ม 1. ธนาคาร 2. ผู้ให้บริการโทรคมนาคม และมือถือ หรือโอเปอเรเตอร์ และ 3. ผู้เล่นใหม่ที่ไม่ใช่ ธนาคารหรือผู้ให้บริการโทรคมนาคม และมือถือ หรือโอเปอเรเตอร์

ซึ่งแต่ละผู้เล่นมีข้อได้เปรียบและเสียเปรียบที่แตกต่างกันไป โดยธนาคารมีจุดได้เปรียบคือมีฐานลูกค้าขนาดใหญ่พอสมควร มีข้อมูลลูกค้าที่ครบถ้วน และที่สำคัญลูกค้ามีเงินที่อยู่กับบัญชีธนาคารอยู่และคุ้นเคยในการใช้บริการชำระเงินต่างๆ ของธนาคาร

บาร์ไลน์ฐาน ส่วนผู้ให้บริการโทรคมนาคม และมือถือ หรือโอเปอเรเตอร์ มีการเข้าถึงลูกค้าทั่วประเทศโดยผ่านโครงข่ายมือถือที่ครอบคลุมและมีอัตราการเข้าถึงในประเทศ ไทยสูงถึง 140% รวมถึงมีความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีโมบาย

ขณะที่ผู้เล่นใหม่ที่ไม่ใช่ ธนาคารหรือผู้ให้บริการโทรคมนาคม และมือถือ หรือโอเปอเรเตอร์ มักจะเป็นกลุ่มฟินเทค สตาร์ตอัพ จะมีความคล่องตัวสูงในการทำงาน และมีให้เห็นทั่วโลกแล้วว่าผู้เล่นรายใหม่เหล่านี้มักจะมีความคิดที่ใหม่ที่สามารถ disrupt ตลาดอยู่เสมอ

โอเปอร์เรเตอร์สามารถทำงานร่วมมือกับสถาบันการเงินโดยจะ win-win ทั้งคู่ อาทิ เอไอเอสและ ซีไอเอ็มบี เปิดบริการ Beat Banking เป็นต้น ซึ่งเป็นตัวอย่างการร่วมมือระหว่างสถาบันการเงินและนอนแบงก์

อนึ่งปัจจุบันทรูมันนี่มีฐานผู้ให้บริการที่ลงทะเบียนในระบบ 8 ล้านราย และมีการใช้งานประจำ 4 ล้านรายโดยยอดทำธุรกรรมผ่านระบบทรูมันนี่ 6 ประเทศ นั้นมีผู้ใช้ 30 ล้านราย มีเงินหมุนเวียนปีละ 1.6 แสนล้านบาท เติบโตขึ้น 15% โดยบริการที่มีการใช้งานมากสุด TrueMoney Wallet คือบริการ Mobile Top-Up/เติมเงินมือถือ โดยมียอดการใช้งานเกิน 30 ล้านธุรกรรมในปี 2560

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,329 วันที่ 7 - 10 มกราคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9