ครม.เห็นชอบ2.45แสนล.ขับเคลื่อนSMEสู่ยุค4.0

19 ธ.ค. 2560 | 12:38 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

ครม.เห็นชอบมาตรการพิเศษขับเคลื่อน SMEสู่ยุค 4.0 วงเงิน 2.45 แสนลบ.

นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) (19 ธ.ค. 60) มีมติเห็นชอบมาตรการพิเศษเพื่อขับเคลื่อนเอสเอ็มอีสู่ยุค 4.0 เนื่องจากเอสเอ็มอีเป็นหนึ่งในเป้าหมายรวมของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) โดยมีระบบเศรษฐกิจที่มีความเข้มแข็งและแข่งขันได้ มีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เข้มแข็ง สามารถใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลในการสร้างสรรค์คุณค่าสินค้าและบริการ รวมทั้งกระจายฐานการผลิตและการให้บริการสู่ภูมิภาคเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ

สำหรับมาตรการพิเศษเพื่อขับเคลื่อนเอสเอ็มอีสู่ยุค 4.0 นั้น แบ่งเป็น 2 ชุดมาตรการ โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญเพื่อให้การช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้มีศักยภาพและมีขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น โดยชุดมาตรการด้านการเงิน จะช่วยเหลือสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น วงเงินรวม 2.45 แสนล้านบาท ประกอบด้วย

somchai1

โครงการฟื้นฟูและเสริมศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสำหรับเอสเอ็มอี - คนตัวเล็ก โดยจะใช้งบประมาณจากกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวทางประชารัฐ จำนวน 8 พันล้านบาท รวมกับวงเงินจากมาตรการฟื้นฟูกิจการวิสาหกิจพัฒนาเอสเอ็มอี ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จำนวน 2 พันล้านบาท รวมเป็น 1 หมื่นล้านบาท ในการช่วยเหลือเอสเอ็มอีรายย่อยที่เป็นนิติบุคคลและมีปัญหาทางการเงิน เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยาก มีโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น

โครงการสินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน (Local Economy Loan) โดยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) วงเงิน 5 หมื่นล้านบาท เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน ลงทุน ขยาย ปรับปรุงกิจการให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี คิดอัตราดอกเบี้ย 2% ระยะเวลา 3 ปี โดยรัฐบาลจะชดเชยให้เอสเอ็มอีแบงก์ไม่เกิน 3 พันล้านบาท

โครงการ Transformation Loan เสริมแกร่ง (Soft Loan เพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักร ระยะที่ 2) วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 2% ระยะเวลา 7 ปี ดำเนินการโดยธนาคารออมสิน เพื่อเป็นเงินทุนขยาย ปรับปรุงกิจการ ควบคู่กับเงินทุนหมุนเวียนให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลในกลุ่มธุรกิจ 10 S-Curve ที่ต้องการยกระดับ ปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี โดยรัฐบาลจะชดเชยดอกเบี้ยให้ธนาคารออมสิน ไม่เกิน 3.39 พันล้านบาท

นอกจากนี้ ยังมีโครงการสินเชื่อเพื่อเอสเอ็มอีของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ วงเงินรวมทั้งสิ้น 1.65 แสนล้านบาท ครอบคลุมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั้งภาคการผลิต ภาคการค้า และภาคบริการให้สามารถเข้าถึงแหล่เงินทุนเพื่อใช้ในการทำธุรกิจในปี 2561 แบ่งเป็น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร วงเงิน 9.5 หมื่นล้านบาท, ธนาคารออมสิน วงเงิน 4.5 หมื่นล้านบาท, ธนาคารกรุงไทย วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงก์) วงเงิน 5 พันล้านบาท

“มาตรการพิเศษเพื่อขับเคลื่อนเอสเอ็มอีสู่ยุค 4.0 นั้น จะช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เข้าร่วมโครงการได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างน้อย 5.73 แสนราย รวมทั้งสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น 5.1 หมื่นราย โดยมีวงเงินภายใต้มาตรการด้านการเงินรวม 8 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะทำให้เกิดการจ้างงาน 1.67 แสนราย และวงเงินจากธนาคารรัฐและหน่วยงานอื่น ๆ ที่ร่วมด้วยอีก 1.65 แสนล้านบาท รวมเป็น 2.45 แสนล้านบาท และทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 3.7 แสนล้านบาท"

โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6

นายสมชาย กล่าวต่อว่า สำหรับมาตรการด้านการส่งเสริมพัฒนา ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการในด้านที่ไม่ใช่การเงิน ตั้งแต่ระดับฐานรากที่เป็นวิสาหกิจรายย่อยจนถึงวิสาหกิจระดับกลางทั้งในด้านการผลิต การตลาด นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และเทคโนโลยี แบ่งเป็น 4 ด้าน คือ 1. การยกระดับเศรษฐกิจฐานชุมชน (Local Economy) เพื่อสร้างงาน สร้างโอกาสเศรษฐกิจฐานราก ภายใต้โครงการอุตสาหกรรม สร้างงาน สร้างโอกาส สร้างรายได้ให้ชุมชน โดยการส่งต่องานของสถานประกอบการในพื้นที่ให้กับวิสาหกิจชุมชน และการยกระดับอุตสาหกรรมชุมชนให้เชื่อมโยงกับภาคการท่องเที่ยวภายใต้โครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ รวมถึงการพัฒนาผู้ประกอบการในสาขาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป ภายใต้โครงการปั้นนักธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปตามแนวประชารัฐ

2. การปฏิรูปกลไกส่งเสริมช่วยเหลือและให้บริการต่อ ผ่านการขยายบริการศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมไปยังพื้นที่ภูมิภาคทั่วประเทศ การเพิ่มประสิทธิภาพศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือเอสเอ็มอี 3. การสร้างระบบแวดล้อมที่สนับสนุนการพัฒนาเอสเอ็มอี ผ่านการพัฒนาและเชื่อมโยงฐานข้อมูลเอสเอ็มอี ภายใต้โครงการจัดทำ SME Big Data เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ การพัฒนาพี่เลี้ยงในลักษณะโค้ช เพื่อเป็นตัวช่วยในการขยายผลการส่งเสริมพัฒนาเอสเอ็มอี ภายใต้โครงการ Train the Coach Accelerator 4.0

4. การเพิ่มขีดความสามารถและการปรับเปลี่ยนธุรกิจ ผ่านการสนับสนุนการพัฒนาเอสเอ็มอีโดยอาศัยความร่วมมือจากบริษัทและสถาบันวิจัยชั้นนำของไทยและต่างประเทศผ่านกลไกประชารัฐ ภายใต้โครงการ Big Brothers และการผลักดันผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสู่ห่วงโซ่มูลค่าระดับโลก ภายใต้โครงการ Digital Value Chain การพัฒนาความรู้ด้านการบริหารจัดการด้านการเงิน ภายใต้โครงการเสริมแกร่งเอสเอ็มอีรอบรู้การเงิน โดยอาศัยความร่วมมือจากสมาคมธนาคารไทย ธนาคารรัฐ เป็นต้น และ การส่งเสริมการจัดทำมาตรฐานอุตสาหกรรมรูปแบบใหม่ ภายใต้โครงการ SMEs Standard Up

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9