ร.ง.ยาสูบโอดภาษีสรรพสามิตใหม่พ่นพิษหวั่นกระทบเงินส่งเข้ารัฐลดฮวบ

27 พ.ย. 2560 | 11:02 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

โรงงานยาสูบโอด ภาษีสรรพสามิตใหม่กระทบหนัก คาดยอดขายบุหรี่ปีนี้เหลือ 17,000 ล้านมวน ลดฮวบจากปีก่อน 28,000 ล้านมวน คาดปี 62 จะลดเหลือเพียง 8,500 ล้านมวน บุหรี่นอกจะครองตลาดแทน วอนรัฐทบทวนภาษีสรรพสามิตบุหรี่ใหม่ เหตุรัฐจะสูญเสียรายได้จากเงินนำส่งรัฐในรูปแบบภาษีต่างๆด้วย

นางสาวดาวน้อย สุทธินิภาพันธ์ ผู้อำนวยการยาสูบ พร้อมด้วยคณะกรรมการอำนวยการโรงงานยาสูบร่วมกันแถลงถึงผลกระทบจากพระราชบัญญัติ ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ว่า โรงงานยาสูบได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่ ที่เปิดช่องว่างให้บุหรี่ต่างประเทศที่ราคาเคยอยู่ที่ 72 บาทหรือ 90 บาท ปรับราคาลดลงมาอยู่ที่ระดับ 60 บาทได้ เพื่อให้เสียภาษีในอัตรา 20% ของมูลค่า ถือว่าไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของกฎหมายในการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตให้ทันสมัย เป็นหลักสากล และเป็นธรรมกับผู้ประกอบการ

dao

โครงสร้างภาษีสรรพสามิตบุหรี่ใหม่เปลี่ยนการจัดเก็บจาก 90% หรือ 9 เท่าของราคาหน้าโรงงาน หรือราคาสำแดงนำเข้า หรือ CIF มาเป็นการคำนวณภาษีจากปริมาณ และมูลค่าแทน ทำให้บุหรี่ต่างประเทศที่เป็นกลุ่มตลาดบน เสียภาษีลดลง โดยยังสามารถยืนราคาเดิมไว้ได้ ทำให้สามารถนำส่วนภาษีที่ลดลงนั้นมาอุดหนุนบุหรี่ตัวอื่นให้สามารถปรับราคาลดลงได้และทำให้เม็ดเงินภาษีที่ต้องเสียให้กับรัฐลดลงด้วยอย่าง บุหรี่ L&M ขนาด 7.1 เดิมมีภาระภาษีที่ 45 บาท แต่ภายใต้ภาษีใหม่ มีภาระภาษีเหลือเพียง 35.21 บาทเท่านั้น หรือลดลง 21.76% เพราะราคาขายปลีกลดลงจาก 72 บาทเหลือ 60 บาทต่อซอง

"โรงงานยาสูบต้องการเสนอให้รัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาทบทวน ประกาศกระทรวงเกี่ยวกับโครงสร้างอัตราภาษี ใน พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 ใหม่ และศึกษาผลกระทบรอบด้าน เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือ เพราะหลังจากที่มีการปรับโครงสร้างภาษีใหม่ ส่งผลต่อความไม่เป็นธรรมกับการค้าบุหรี่ในไทย ซึ่งทำให้ผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจยาสูบ ทั้งเกษตรกรผู้ปลูกใบยาสูบ ร้านค้ายาสูบ และโรงงานยาสูบเองได้รับผลกระทบ รวมทั้งการนำส่งเงินเข้าคลัง"

ciga1

ทั้งนี้ บุหรี่ต่างประเทศที่ปรับลดลง ทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนจากบริโภคบุหรี่ในประเทศเป็นบุหรี่ต่างประเทศแทน ซึ่งไม่ได้ส่งผลต่อสุขภาพหรือทำให้จำนวนผู้สูบลดลงตามเจตนารมณ์ของการออกกฎหมายสรรพสามิตแต่ย่างใด แต่กลับทำให้ยอดขายบุหรี่ในประเทศลดลง แต่ 1 เดือนหลังกฎหมายมีผลบังคับใช้ สัดส่วนทางการตลาดของโรงงานยาสูบลดลงจาก 80% เหลือ 65.92% ขณะที่สัดส่วนบุหรี่ต่างประเทศเพิ่มเป็น 32.53% จากเดิม 20% โดยคาดว่าปี 2561 จะมียอดขายบุหรี่เหลือเพียง 17,000 ล้านมวนจากปี 2560 ที่จำหน่ายได้ 28,000 ล้านมวน และปี 2562 จะลดลงเหลือ 8,500ล้านมวน ซึ่งหากปล่อยไว้นาน สุดท้ายจะทำให้บุหรี่ต่างประเทศครอบงำครองตลาดในประเทศไทย ส่งผลให้โรงงานยาสูบ รวมถึงร้านค้า และเกษตรกรผู้ปลูกใบยาสูบไม่สามารถอยู่ได้

ขณะเดียวกันรัฐจะเสียรายได้จากเงินนำส่งของโรงงานยาสูบ ที่ต้องนำส่งรัฐ 88% ของกำไรในแต่ละปี จากปี2560 ที่นำส่งรัฐกว่า 8,000 ล้านบาท กลับไม่มีเงินนำส่งเข้าภาครัฐในปี 2561 นอกจากนี้รัฐเองยังจะสูญเสียรายได้จากเงินนำส่งรัฐในรูปแบบภาษีต่างๆ จากการบังคับใช้ภาษีสรรพสามิตฉบับใหม่ รวมมูลค่ากว่า 12,725 ล้านบาท

e-book