ผู้ว่าฯกปน.ชู “Digital MWA” มุ่งสู่ Thailand 4.0

25 ก.ค. 2560 | 03:51 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

นายปริญญา ยมะสมิต ผู้ว่าการการประปานครหลวง(กปน.) แถลงวิสัยทัศน์ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งผู้ว่าการ กปน. คนใหม่ ว่า ในยุคปัจจุบันที่ประเทศไทยมุ่งสู่ Thailand 4.0 กปน. จะดำเนินการตามวิสัยทัศน์ “Digital MWA for THAILAND 4.0” ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1  ยกระดับการให้บริการที่ดีเยี่ยม (Service Excellent)

มุ่งเน้นการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ การขยายเขตการให้บริการครอบคลุมพื้นที่รับผิดชอบ ยกระดับงานประปาและบริการที่มีมาตรฐานสากล การเพิ่มแรงดันน้ำ การเพิ่มช่องทางการชำระค่าบริการประปา การเพิ่มความสามารถในการรับเรื่องร้องเรียน การติดตั้งประปาใหม่ การซ่อมท่อแตกรั่ว การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) การยกระดับภาพลักษณ์องค์กร (MWA Branding) การดำเนินงานตามแผนน้ำประปาปลอดภัย (Water Safety Plans)

ยุทธศาสตร์ที่ 2  ก้าวสู่องค์กรชาญฉลาด (Smart Organization)

มุ่งเน้นการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ SMART-HUMAN, SMART-ASSET, SMART-IT, SMART-FINANCIAL, SMART-CONNECT

m07241 ยุทธศาสตร์ที่ 3  สร้างความยั่งยืนแก่องค์กร (Sustainability)

มุ่งเน้นการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับ Stakeholder “Partner of life” SUSTAINABILITY INFRASTRUCTURE (ระบบน้ำดิบ ระบบผลิตน้ำ ระบบสูบส่งและสูบจ่ายน้ำ การบริหารจัดการน้ำสูญเสีย), Demand Side Management, Social Responsibility และระบบธรรมาภิบาล

ยุทธศาสตร์ที่ 4  การเสริมสร้างองค์กรนวัตกรรมประปา (Innovation)

มุ่งเน้นการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ การนำนวัตกรรมสู่การใช้งานจริงงานประปา สนับสนุนทักษะวิชาชีพงานประปา ยกระดับสถาบันพัฒนาวิชาชีพประปาในระดับอาเซียน

ทั้งนี้ กปน. ได้ดำเนินงานกิจการประปาตามหลักธรรมาภิบาล มุ่งเน้นการพัฒนาทุกด้านอย่างต่อเนื่องและใส่ใจคุณภาพตั้งแต่ระบบผลิต สูบจ่าย จนถึงบ้านหรือสถานที่ใช้น้ำอย่างเท่าเทียม ผลักดันนโยบายองค์กรโปร่งใสด้วยหัวใจธรรมาภิบาล เน้นการป้องกันและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันทุกรูปแบบ โดยเป็นรัฐวิสาหกิจแรกที่ได้จัดตั้งสภาธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อเป็นกลไกในการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันในองค์กร และนำไปสู่องค์กร Zero Corruption อย่างแท้จริง