เตือนเกษตรกรรับมือโรคราน้ำค้างในข้าวโพดฝักสด

07 ก.ค. 2560 | 05:24 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

ในระยะนี้เริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูเพาะปลูกข้าวโพดฝักสด กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดฝักสด อาทิ ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดเทียน และข้าวโพดข้าวเหนียว ให้หมั่นสังเกตอาการของโรคราน้ำค้าง มักพบแสดงอาการในระยะที่เริ่มเพาะปลูก เริ่มแรกจะพบบริเวณยอดมีใบข้าวโพดสีเหลืองซีด หรือใบลายเป็นทางสีเขียวอ่อนสลับเขียวแก่ บางครั้งพบยอดข้าวโพดแตกเป็นพุ่ม ต้นแคระแกร็น เตี้ย ข้อถี่ ไม่มีฝักหรือมีฝักขนาดเล็ก ก้านฝักมีความยาวมาก หรือมีจำนวนฝักมากกว่าปกติ แต่ฝักจะไม่สมบูรณ์ เช่น มีจำนวนเมล็ดน้อย หรือไม่มีเมล็ดเลย

ต้นกล้าข้าวโพด2 สำหรับแหล่งที่เคยมีการระบาดของโรค หากสภาพแวดล้อมเหมาะสม คือ มีอุณหภูมิต่ำ และมีความชื้นในอากาศสูง เมื่อข้าวโพดมีอายุ 5-7 วัน ควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชไดเมโทมอร์ฟ 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20-30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารเมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นทุก 7 วัน และพ่นติดต่อกัน 3-4 ครั้ง

ต้นกล้าข้าวโพด3 นอกจากนี้ ในฤดูเพาะปลูกข้าวโพดฝักสดถัดไป เกษตรกรควรเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่ปลอดโรค และคลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชเมทาแลกซิล 35% ดีเอส อัตรา 7-10 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม หรือสารเมทาแลกซิล-เอ็ม 35% อีเอส อัตรา 3.5 มิลลิลิตรต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม หลีกเลี่ยงการเพาะปลูกข้าวโพดในฤดูที่มีการระบาดของโรครุนแรง กรณีพบเริ่มระบาด ให้ถอนต้นกล้าข้าวโพดที่แสดงลักษณะอาการของโรคไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที ด้วยเชื้อสาเหตุของโรค สามารถเข้าทำลายต้นข้าวโพดได้ตั้งแต่ในระยะที่ข้าวโพดเริ่มงอก ซึ่งการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชหลังจากต้นข้าวโพดอายุ 20 วันขึ้นไป จะไม่สามารถป้องกันกำจัดโรคนี้ได้