เอ็นไวโรเซล ชี้เทรนด์ค้าปลีกยุคใหม่ต้องฉีกกรอบ physical space

30 มี.ค. 2560 | 07:34 น.
[embed]https://www.youtube.com/watch?v=USkG64D7rr8&feature=youtu.be[/embed]

เอ็นไวโรเซล (ไทยแลนด์) ชี้เทรนด์ค้าปลีก‘รีเทล เทรนด์’ (Retail Trend) ปี 2017 ต้องยกเครื่อง mindset เมื่อกลยุทธ์ทางด้านโลเคชั่น จะไม่ใช่ข้อได้เปรียบอีกต่อไป และเมื่อพื้นที่ขายของที่ใหญ่โต วางสินค้าได้หลากหลาย ก็ยังใหญ่ไม่พอกับความต้องการของผู้บริโภค ที่ไม่ได้จำกัดความต้องการสินค้าที่มีวางขาย แค่บน shelf อีกต่อไป Retail ยุคใหม่ ต้องฉีกกรอบข้อจำกัด เรื่อง physical space โดยคิดขายความต้องการของผู้บริ โภคบน air space แพลตฟอร์ม ที่ผู้บริโภคจะซื้อสินค้าใดก็ ได้ในโลก เมื่อไหร่ก็ได้ ที่ไหนก็ได้ และจะด้วยวิธีการใดก็ได้ ตราบใดที่ซื้อกับเรา

นางสาวสรินพร จิวานันต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็นไวโรเซล ประเทศไทย จำกัด บริษัทในเครือของบริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน) ผู้นำแห่งความคิดสร้างสรรค์ในภูมิภาคอาเซียน เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การปิดตัวของร้านค้าปลีกจำนวนมากในสหรัฐอเมริกา มหานครนิวยอร์ก ที่มีเศรษฐกิจเทียบได้ในอันดับที่ 20 ของโลก มีพนักงานกว่า 9 แสนคน ทำงานในธุรกิจค้าปลีกกว่า 7.7 หมื่นแห่ง เป็นศูนย์รวมของสำนักงานใหญ่ (Head Quarter) ของบริษัทยักษ์ใหญ่กว่า 80 ราย และเป็นเมืองท่องเที่ยวยอดนิ ยมของนักท่องเที่ยวทั่วโลกกว่า 60 ล้านคนต่อปี นับเป็นสัญญาณสั่นคลอนต่อวงการค้าปลีกของโลกไม่ช้าก็เร็ว การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคในการจับจ่ายซื้อของและใช้บริการ ที่ข้ามข้อจำกัดในเรื่องของเวลา สถานที่ รูปแบบ และวิธีการซื้อโดยเฉพาะกลุ่มมิลเลเนียมที่มีการเติบโต และมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นทั่วโลก มีบทบาทในสังคม ทั้งด้านการงาน และมีศักยภาพในการใช้จ่ายที่สูงขึ้นต่อเนื่อง ในขณะที่กลุ่มเบบี้บูมเบอร์มีสัดส่วนที่ลดลง

image008 ด้านเทรนด์พฤติกรรมของผู้บริโภค ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างน่าสนใจ สามารถแบ่งเป็น 3 ลักษณะหลัก คือ

1.พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคที่ มีความต้องการแบบไร้ขีดจำกัด คือ ผู้บริโภคไม่ได้ต้องการสินค้าที่อยู่บนชั้นวางเท่านั้น แต่อาจต้องการสินค้าที่ไม่มี ในประเทศ เช่น อยากได้นมที่ผลิตในออสเตรเลีย(Consumer Demand is more globalization) แต่ที่ร้านค้ากลับไม่มี ทำให้ไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการได้

2.พฤติกรรมด้านนิสัยการเลือกซื้อที่เปลี่ยนไป เช่น แทนที่จะเลือกซื้อเสื้อผ้าที่ แขวนไว้ตามร้านค้า แต่กลับเลือกซื้อด้วยวิธีการ ‘คลิ๊ก’ ซึ่งสามารถหาชุดที่แมทเข้ากัน ทั้งเสื้อผ้า กระเป๋า และรองเท้าจากหลายๆ แหล่ง ได้ในเวลาเดียวกัน

3.พฤติกรรมด้านเวลาที่ไม่ได้ช้อปปิ้งในเวลาที่เลิกงาน หรือ ห้างเปิดอีกต่อไป (จากการวิจัย พบว่า43% ของชาวอเมริกัน ช้อปปิ้งจากเตียงนอน และ23% จากโต๊ะทำงาน) ดังนั้นสามารถพูดได้ว่าเรื่องของสถานที่ (Location) อาจจะไม่ได้เป็นจุดแข็งของร้านค้าปลีกอีกต่อไป แต่ราคากลับเป็นเรื่องสำคัญแทน

การเปลี่ยนแปลงนี้ ผลักดันให้หลายๆ รีเทล เริ่มเข้าสู่แพลตฟอร์มในรูปแบบ ‘ออมนิแชนแนล’ (Omnichannel)แนวคิดของ Omnichannel คือ ไม่ได้ยึดว่าจะขายอย่างไร ขายที่ไหน แต่ยึดว่าผู้บริโภคจะซื้อตอนไหน ซื้อที่ไหน ซื้อด้วยวิธีการใดก็ได้ ขอให้เกิดการซื้อ แต่ยังไม่ใช่ air spaceแพลตฟอร์มเต็มรูปแบบ

เพราะยังไม่สามารถสั่งซื้อสินค้าแบบใด ที่ใดในโลกก็ได้ แต่การทำ Omnichannel ย่อมดีกว่าไม่ทำแน่นอน เพราะ 59% ของร้านค้าปลีกในสหรัฐอเมริ กาบอกว่า Omnichannel ช่วยทำรายได้ให้ธุรกิจมากกว่า ที่สำคัญสามารถสร้าง Engagement กับลูกค้าได้มากถึง 90% ในขณะที่ร้านค้าปลีกที่ไม่ทำ Omnichannel สามารถสร้างEngagement กับลูกค้าได้เพียง 33% เท่านั้น ถ้ารีเทลใดเข้าสู่ air space platform  เต็มรูปแบบ คือ transform จากการเป็นผู้ขาย เป็นคนกลางในการให้บริการที่ ตอบสนองความต้องการของผู้บริ โภคทุกรูปแบบ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านphysical product  place และ access รับประกันว่าสามารถอยู่รอดในธุ รกิจได้อีกนาน การที่ได้อยู่ติดตัวกับลูกค้าทุกที่ทุกเวลา (air space) ย่อมมีโอกาสมากกว่า shelf space ที่อยู่ห่างไกล เข้าถึงยากไม่ได้ตลอดเวลาอย่ างแน่นอน

รีเทลที่อยู่รอด กลับไม่ใช่คู่แข่งด้านค้าปลีกโดยตรง แต่กลับเป็น Amazon ผู้ซึ่งเป็นตัวอย่างที่สำเร็จของ air space platform เพราะไม่มีข้อจำกัดใดๆ ในการตอบสนองผู้บริโภคเลย ล่าสุดออกบริการ Prime Air ที่สามารถส่งสินค้าได้ ด้วยโดรนภายในไม่กี่ชั่วโมง รวมทั้งล็อกเกอร์รับสินค้าตามจุ ดสำคัญต่างๆ ในเมือง ที่ผู้บริโภคสามารถรับของได้เลย โดยไม่ต้องรอข้ามวัน ดังนั้นคู่แข่งร้านค้าปลีกที่ สำคัญจึงไม่ใช่ physical ที่เห็นตัวเห็นตน แต่เป็น service ที่มีความคล่องตัว ไฮเทค และไม่มีต้นทุนที่เป็น Fixed costและอาจไม่ได้อยู่ในวงการค้าปลีกอีกต่อไป