OECD มองบวกปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปี 2024

06 ก.พ. 2567 | 17:05 น.

OECD มองบวกปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปี 2024 ร้อยละ 2.9 เป็น ร้อยละ 2.7 ท่ามกลางความคาดหวังว่า "เงินเฟ้อ" ที่ลดลงจะนำไปสู่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ

ถือเป็นการมองบวกการเติบโตของเศรษฐกิจโลกโดยรวมในปี 2024 เปิดเผยโดย องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ระบุว่า เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มขยายตัว 2.9% ปรับเพิ่มจากประมาณการณ์ก่อนหน้าที่ 2.7% ส่วนหนึ่งจากความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะลดดอกเบี้ย หลังเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงจนสู่ระดับปกติ

การเติบโตของ GDP ของประเทศต่างๆ 

สหรัฐฯ คาดว่าจะยังคงได้รับแรงหนุนจากการใช้จ่ายภาคครัวเรือนและสภาวะตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง แต่จะอยู่ในระดับปานกลางเป็น 2.1% ในปี 2567 และ 1.7% ในปี 2568

กลุ่มประเทศผู้ใช้สกุลเงินยูโร คาดว่าจะอยู่ที่ 0.6% จาก 0.9% ส่วนญี่ปุ่น OECD คาดว่าจะเห็นอัตราการเติบโตไม่เปลี่ยนแปลงจากการคาดการณ์ครั้งก่อนที่ 1.0% หรือประมาณครึ่งหนึ่งของ 1.9% ในปีก่อน

ประเทศจีน การที่จีนยังคงเผชิญกับวิกฤตการณ์ในตลาดอสังหาริมทรัพย์และภาวะขาดความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มลดลงสู่ระดับ 4.7% ในปี 2567 จากระดับ 5.2% ในปี 2566 ตัวเลขนี้ไม่เปลี่ยนแปลงจากการคาดการณ์ในเดือน พ.ย.

 

OECD ระบุว่า แม้มุมมองแนวโน้มการเติบโตโดยรวมที่สูงขึ้น แต่การเติบโตทั่วโลกยังคงคาดว่าจะอยู่ที่ระดับปานกลางคือ 3.1% ในปี 2567 ถือเป็นการชะลอตัวลงเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน จากการขึ้นดอกเบี้ยหลายครั้งโดยธนาคารกลางสหรัฐฯ และธนาคารกลางหลักอื่นๆ เพื่อรับมือกับปัญหาราคาที่สูงขึ้น ควบคู่ไปกับการเติบโตที่ชะลอตัวในจีน ท่ามกลางปัญหาด้านอสังหาริมทรัพย์

ในส่วนของปี 2568 การเติบโตทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น 3.0% ได้แรงหนุนจากการผ่อนคลายนโยบายการเงินอย่างกว้างขวาง เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อเป็นไปตามเป้าหมายของธนาคารกลาง และรายได้ที่แท้จริงแสดงการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง

ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่สูงยังเป็นความเสี่ยง

ความเสี่ยงกับกิจกรรมและเงินเฟ้อในระยะสั้น โดยเฉพาะหากความขัดแย้งในตะวันออกกลางกระทบตลาดพลังงาน แรงกดดันด้านราคาบริการที่ยังคงมีอยู่อาจกระทบกับเงินเฟ้อและกระตุ้นให้เกิดการปรับราคาตลาดการเงิน เนื่องจากมีการประเมินความคาดหวังของการผ่อนคลายนโยบายการเงินอีกครั้ง การเติบโตอาจอ่อนแอกว่าที่คาด หากผลกระทบที่ยืดเยื้อจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในอดีตแข็งแกร่งกว่าที่คาดไว้