เตือน 54 จังหวัดรับมือ “พายุฤดูร้อน”

31 มี.ค. 2563 | 01:55 น.

อุตุฯประกาศ ฉ.2  รับมือพายฤดูร้อน วันที่ 1-4 เม.ย. ส่งผลให้ทั่วไทยมีพายุฟ้าคะนอง ลมกรรโชกแรง แนะหลีกเลี่ยงพื้นที่โล่งแจ้ง-ใต้ต้นไม้ใหญ่

 

เตือน 54 จังหวัดรับมือ “พายุฤดูร้อน”

นาวาอากาศเอก สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์  อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือน"พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 1 - 4 เมษายน 2563)" ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2563  ซึ่งจะทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง รวม 54 จังหวัด

เตือน 54 จังหวัดรับมือ “พายุฤดูร้อน”

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้งใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย   จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้

ในช่วงวันที่ 1-2 เมษายน 2563

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีษะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคตะวันออก จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

เตือน 54 จังหวัดรับมือ “พายุฤดูร้อน”

ในช่วงวันที่ 3-4 เมษายน 2563

ภาคเหนือ จังหวัดพะเยา น่าน แพร่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง อุตรดิตถ์ พิษณุโลก สุโขทัย พิจิตร กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ และตาก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์

ภาคตะวันออก จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคกลาง จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี และพระนครศรีอยุธยา

  เตือน 54 จังหวัดรับมือ “พายุฤดูร้อน”

ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ส่งผลทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น

       เตือน 54 จังหวัดรับมือ “พายุฤดูร้อน”

เตือน 54 จังหวัดรับมือ “พายุฤดูร้อน”