MIX & MATCH เก่ากับใหม่ บูรณาการฉนวนกันความร้อน ลดการใช้พลังงาน

20 เม.ย. 2562 | 02:00 น.

การบูรณาการบ้านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ของมูลนิธิครีเอทีฟ ไมเกรชั่น (อีส) เพื่อให้เป็นที่ตั้งของโครงการ Bangkok 1899 เพื่อเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนทางด้านสังคมและวัฒนธรรมแห่งใหม่ในเมืองไทย โดยได้รับการสนับสนุนหลักจากมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ และกองทุน ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี เป็นโครงการปรับปรุงอาคารเก่า ที่ MIX & MATCH ของเก่ากับของใหม่ ที่ผสมผสานเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน ภายใต้ 3 เสาหลัก คือ ศิลปะ การมีส่วนร่วมของประชาชน และความยั่งยืน นี่คือโจทย์สำคัญที่ “ซูซานนา ตันเต็มทรัพย์” ประธานกรรมการ มูลนิธิครีเอทีฟ ไมเกรชั่น (อีส) / ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการของBangkok1899 บอกเล่าถึงความตั้งใจในการบูรณะบ้านเก่าที่พระยาศรีภูริปรีชา (กมล สาลักษณ์) สร้างขึ้น เพื่อให้เป็นเรือนหอของนางสาวถวิล ธิดาคนโต กับ นายสนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา (เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี) เมื่อราวปี 2442

จุดเด่นของการบูรณะบ้านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี คือ การบูรณะเพื่อเป็นต้นแบบของบ้านที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งความยั่งยืนในที่นี้หมายถึง การมีส่วนร่วมในการใช้พลังงานให้น้อยที่สุดด้วย

“อเล็กซานเดอร์ สรรประดิษฐ์” สถาปนิกผู้รับผิดชอบดูแลการบูรณาการ ได้ตัดสินใจติดต่อให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของบริษัท สยามไฟเบอร์กลาส จำกัด เข้าไปร่วมสำรวจพื้นที่ เนื่องจากเห็นความเป็นไปได้ของการนำนวัตกรรมที่มีคุณสมบัติในการช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้า ตามแผนการบูรณาการ เข้าไปติดตั้ง บริเวณพื้นห้องใต้หลังคาที่สถาปนิกผู้ออกแบบบ้านนำรูปแบบสถาปัตย กรรมแนวนีโอคลาสสิกของตะวันตก ที่กำลังได้รับความนิยมในประเทศไทยขณะนั้น มาผสมผสานกับหลังคาแบบบ้านไทยให้สอดรับกับสภาพอากาศภูมิประเทศอย่างลงตัว และเอื้อต่อสภาพภูมิอากาศ ไม่ว่าจะเป็นช่องช่วยระบายอากาศ แนวจั่วสูงประมาณกว่า 1 เมตร ที่แม้ว่าจะถูกปิดไว้ ด้วยแผ่นไม้บางๆ ทำให้พอดีต่อการนำฉนวนกันความร้อนไปวาง

วิธีการดังกล่าว สอดคล้องกับ“sustainable way” ตามคอนเซ็ปต์ที่ทางมูลนิธิต้องการ

ฉนวนกันความร้อนเอสซีจี สเตย์ คูล (STAY COOL) เป็นวัสดุตกแต่งเชิงนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยให้บ้านเย็น ด้วยอุณหภูมิที่สูงขึ้นในปัจจุบัน ผนวกกับสภาพตึกเก่า ที่มีความเสี่ยงต่อผลกระทบด้านความชื้น การเลือกฉนวนกันความร้อนที่ผลิตจากใยแก้วคุณภาพปราศจากสารพิษ จากการรับรองขององค์กรอนามัยโลก มีคุณสมบัติในการป้องกันความร้อนได้ถึง 7 เท่า ทำให้สามารถช่วยประหยัดค่าไฟจากเครื่องปรับอากาศได้ถึง 47% นํ้าหนักเบา ไม่มีผลกระทบต่อโครงสร้างของบ้าน และไม่ลามไฟ พร้อมเนื้อฉนวนถูกห่อหุ้มด้วยฟอยล์อีก 1 ชั้น ช่วยปกป้องความชื้น ควบคู่ไปกับการเพิ่มต้นไม้ในพื้นที่ส่วนต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบ ทำให้หลังการติดตั้ง มูลนิธิใช้เครื่องปรับอากาศเพียงแค่ครึ่งหนึ่งของบ้านเท่านั้น

การนำนวัตกรรมวัสดุตกแต่งมาใช้กับบ้านที่มีอายุยาวนานกว่า 100 ปี ถือเป็นการ MIX & MATCH ของเก่ากับของใหม่ได้อย่างลงตัว โดยเฉพาะแนวคิดการพัฒนาของ “บ้านต้นแบบ” ที่สะท้อนถึงการมีส่วนร่วมในการพัฒนาที่พักอาศัย สิ่งแวด ล้อม และชุมชนอย่างยั่งยืน 

หน้า 18-19 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 39 ฉบับที่ 3,462 วันที่  18 - 20  เมษายน พ.ศ. 2562