กูรูแนะทางรอด ‘สตาร์ตอัพ’ รุ่นใหม่

23 ก.พ. 2562 | 04:30 น.
ปัจจุบันในประเทศไทย มีสตาร์ตอัพไม่ถึง 10% ที่ได้รับการลงทุนจากซีดราวด์ไปถึงรอบซีรีส์ A ซึ่งกว่า 90% ของสตาร์ต อัพไทยติดกับดักซีรีส์ A ข้อมูลจาก Techsauce Startup Report เผยว่าในปี 2561 การลงทุนลดลงเหลือเพียง 61 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเมื่อเทียบกับปี 2560 ที่มีการลงทุนถึง 105 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่อง จากไม่มีการลงทุนในดีลใหญ่ๆ ที่มีมูลค่าสูงกว่า 50 ล้านบาท เกิดขึ้น ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการแข่งขันที่รุนแรง นักลงทุนหันไปลงทุนในต่างประเทศ และต้นทุนในการได้มาซึ่งลูกค้าเพิ่มสูงขึ้น

กว่าจะผ่านได้ในซีรีส์ A

นายกิตตินันท์ อนุพันธ์ ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Claim Di เปิดเผยว่า จากที่เข้ารอบดีแทค แอคเซอเลอเรท แบตช์ 2 ตั้งแต่ปี 2557 ก็ได้มี การระดมทุน (Raise fund)ในรอบ ซีรีส์ A ไป ซึ่งขณะนี้กำลังจะระดม ทุน ในรอบซีรีส์ B สำหรับช่วงเริ่มต้นเรียกได้ว่าไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน ยังงงๆอยู่ แต่เมื่อเข้ามาอยู่ในดีแทค แอคเซอเลอเรท ก็เริ่มไปถูกทาง พอไปในทางที่ถูก ก็จะมีคนนำเงินมาให้ แต่ถ้ายังไปไม่ถูกทางหรือยังมัวเดาอยู่ ก็ยากที่จะได้เงินทุน ตอนอยู่ในแบตช์เราได้ซีดราวด์ (Seed Round) แต่ผ่านไป1 ปี เงินจากซีดราวด์หมด นั่นคือความยาก ก็ได้ลองผิดลองถูกจนผ่านในรอบซีรีส์ A เมื่อเงินหมดสิ่งที่คิดคือจะต้องทำอย่างไร เป็นเรื่องที่สตาร์ตอัพต้องเรียนรู้

TP11-3447-A “เมื่อเจอความกดดัน จึงหาทางออกได้ และนำไปเล่าให้นักลงทุนฟังทำให้ได้เงินมา การระดมทุนแต่ละรอบมันต้องพิสูจน์โมเดลธุรกิจที่คิดให้ได้ ต้องหาแนวทางของตัวเองให้เจอ ซึ่งพอเข้าไปในรอบซีรีส์ B ก็เรียกว่ายากกว่าเดิมอีกหลายเท่า”

อุปสรรคที่ต้องเผชิญ

นายสิทธิศักดิ์ วงศ์สมนึก ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง Giztix กล่าวว่า Giztix นั้นเข้ารอบในโครงการดีแทค แอคเซอเลอเรท แบตช์ 3 ซึ่งขณะนี้กำลังเข้าสู่ช่วงการระดมทุนในรอบซีรีส์ B อุปสรรคตั้งแต่ที่ได้เข้าร่วมในแบตช์คือ ความคิดที่ว่าตัวเองเจ๋งในระดับหนึ่ง จากการมีแบ็กกราวด์ของการทำโลจิสติกส์ให้กับ ปตท. เมื่อเข้ามาจึงต้องทำตัวเองให้เป็นนํ้าไม่เต็มแก้วเพื่อเรียนรู้ใหม่ ซึ่งก็ผ่านไปได้ด้วยดี และก็ได้ระดมทุนในรอบซีด เมื่อได้เงินมาก็พอจะรู้อยู่ว่าต้องใช้จ่ายอย่างไร

หลังจากที่ได้เงินทุนจาก SCG มามูลค่าการลงทุนเยอะขึ้น วิชัน มิสชัน จุดประสงค์ก็ต้องชัด และการระดมทุนในรอบ ซีรีส์ B นั้นเราต้องโต 4-5 เท่าภายใน 12 เดือน การใช้กลยุทธ์ในรูปแบบเดิมจึงไม่เป็นผล เพราะความรู้ไม่พอจึงได้ไปหาเรียนเพิ่มเติมจากอาลีบาบา

090861-1927-9-335x503-8-335x503-13-335x503 “สิ่งที่สำคัญคือห้ามขาดทุน ต้องหาวิธีใช้เงินที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายและต้นทุนให้ได้ เพราะมันไม่ใช่แค่เกม แต่ขึ้นอยู่กับทีมงานที่เราต้องรับผิดชอบอีกหลายชีวิต นั่นคือสิ่งที่สำคัญในการเป็นสตาร์ต อัพ ถ้าเงินทุนหมดเราต้องอยู่ได้”

เงินหมดคือจุดเปลี่ยน

นายวสะ สุภาโชค เอี่ยมสุรีย์ ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ Fastwork เล่าประสบการณ์ในการระดมทุนของฟาสต์เวิร์กก่อนที่จะได้ 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ว่า “เงินหมด” สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นตัวทดสอบว่าทีม ธุรกิจและนักลงทุนของ ฟาสต์เวิร์ก แข็งแรงแค่ไหน ในช่วงเริ่มรอบซีรีส์ A ได้มีการแบ่งเวลาไว้ประมาณ 7 เดือน ซึ่งคิดว่าพอ แต่สุดท้ายกลับคุยกับนักลงทุนไม่ลงตัว และเหลือเวลาเพียง 5 สัปดาห์ที่ต้องหาเงินอีกกว่า 160 ล้านบาท จึงต้องยืมเงินมาลงทุนก่อน ทำให้ธุรกิจเปลี่ยนไปเลย มีการลดค่าใช้จ่าย 80% เพิ่มรายได้ 70% ภายในเวลา 2 สัปดาห์ ก็สามารทำได้และจึงมีการระดมทุนใหม่อีกครั้ง

“การที่ได้เงินมา 160 ล้านบาทในเวลา 6 สัปดาห์ ทำให้ประสบการณ์ในการระดมทุนเราเปลี่ยนไปจากเดิมที่คิดว่าต้องใช้เวลานาน แต่ในความเป็นจริงเราต้องหาคนที่เชื่อในตัวเราและอยากจะเข้ามาในตลาดที่เราอยู่ ซึ่งระยะเวลาไม่สำคัญ สุดท้ายเขาก็จะเลือกลงทุนกับเรา”

กลยุทธ์พาร์ตเนอร์ชิพโมเดล

ด้านนายสิทธิศักดิ์ กล่าวว่า เรื่องการเงินเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด รองลงมาคือการบริหารจัดการ โดยการสร้างความสำเร็จให้กับพนักงานในทีมไม่ใช่เพียงแค่ตัวเรา อีกทั้งในช่วงนี้องค์กรต่างๆ มีการจัดตั้งกองทุนขึ้นมากมาย แต่จะทำอย่างไรให้ได้เงินทุนมาก็เป็นเรื่องที่ยาก ดังนั้นควรที่จะหาทางพาร์ตเนอร์ชิพ
ถ้าผลิตภัณฑ์เราสามารถไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ของพาร์ตเนอร์ได้ ก็จะทำให้วินวินกันทั้งสองฝ่าย หรืออาจจะกลายเป็นวีซีในอนาคตได้ก็ดี อันนี้คือ พาร์ตเนอร์ชิพโมเดล

รายงาน | หน้า 11 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ | ฉบับ 3,447 ระหว่างวันที่ 24 - 27 กุมภาพันธ์ 2562

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว