เร่งแผนกำจัด "สารพิษ" พ้นแผ่นดินไทย

18 ก.พ. 2562 | 15:11 น.
'กฤษฎา' เร่งรัดกรมวิชาการเกษตร จัดทำแผนปฏิบัติงานที่จะนำไปสู่การ "ลด-ละ-เลิก" ใช้สารเคมี 3 ชนิด ตามมติ คกก.วัตถุอันตราย ให้ปลัดกระทรวงฯ เป็นประธานคณะอำนวยการขับเคลื่อนการจำกัดการใช้ โดยวันนี้ต้องนำเสนอรายละเอียดของแผนดังกล่าว ตามที่สั่งการไปให้ทำด่วนที่สุด

S_8174417580647-503x340
นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการให้ นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงฯ ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการจำกัดการใช้สารเคมี 3 ชนิดของกระทรวง ซึ่งมี นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เป็นเลขานุการ นำรายละเอียดแผนปฏิบัติงานมานำเสนอ โดยเรื่องที่ให้ทำเร่งด่วน คือ การสำรวจปริมาณสารเคมีทั้ง 3 ชนิด ทั้งจากผู้นำเข้าและร้านจำหน่าย ว่า มีอยู่เท่าไร เนื่องจากยังมีองค์กรต่าง ๆ ผู้ได้รับอนุญาตให้นำเข้าได้นำเข้าเกินกำหนด จึงต้องสำรวจให้เสร็จภายในสิ้นเดือน ก.พ. นี้ เพื่อให้กระจ่างต่อสังคม ซึ่งจะต้องมีรายละเอียดชื่อผู้ครอบครอง รวมทั้ง วัน เดือน ปี ที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้า โดยการอนุญาตครั้งต่อไปต้องระบุชัดเจน ว่า บริษัทใดเคยนำเข้าเท่าไร แล้วจะลดเหลือเท่าไร แผนการควบคุมในพื้นที่ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะไม่ให้มีการจำหน่าย ครอบครอง หรือใช้อย่างเด็ดขาด


บล็อคคอลี่

ทั้งนี้ กรมวิชาการเกษตรต้องเร่งกำหนดวิธีการฝึกอบรม ทั้งผู้จำหน่าย เกษตรกร ลูกจ้างรับฉีดพ่นสารเคมี ซึ่งต้องมีหลักสูตรที่ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดทราบถึงวิธีการใช้ที่ถูกต้องและปลอดภัย โดยจะให้กรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งมีทั้งเกษตรจังหวัด เกษตรอำเภอ และมีเจ้าหน้าที่เกษตรตำบล ครอบคลุมทั่วประเทศเข้ามาช่วย รวมถึงใช้ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการเกษตร (ศพก.) ซึ่งมี 882 แห่งในทุกอำเภอ และ ศพก. เครือข่ายอีก 10,000 กว่าแห่งเป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้ อีกทั้งจะประสานกับกระทรวงมหาดไทยในการแต่งตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มาสนับสนุน


กะหล่พปลี

นอกจากนี้ กรมวิชาการเกษตรต้องร่วมกับภาควิชาการและภาคเอกชนศึกษาวิจัยหาวิธีการ หรือ สารอื่นมาทดแทนสารเคมีทั้ง 3 ชนิด สิ่งสำคัญที่ต้องทำทันที คือ การจัดทำแผนปฏิบัติการเร่งรัดขยายพื้นที่การทำเกษตรปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP และ/หรือเกษตรอินทรีย์ให้ครบ 149 ล้านไร่ ภายใน 2 ปี โดยคณะอำนวยการขับเคลื่อนของกระทรวงต้องรายงานความคืบหน้าต่อสาธารณชนทุก 3 เดือน ซึ่งวันนี้ทั้งปลัดกระทรวงและอธิบดีกรมวิชาการเกษตรต้องนำแผนปฏิบัติงานมานำเสนอ


090861-1927-9-335x503-3

ทางด้าน รองศาตราจารย์เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การที่มีผู้กล่าวว่า พบสารพาราควอตตกค้างในผักผลไม้นั้น ไม่น่าจะจริง เนื่องจากหากฉีดพ่นที่ใบพืชโดยตรง ใบจะไหม้ เกษตรกรจึงใช้ฉีดพ่นตอนเตรียมดินก่อนปลูก หรือ ฉีดพ่นรอบโคนต้นสำหรับพืชไร่ ทั้งนี้ พาราควอตเป็นยาฆ่าหญ้าที่มีประสิทธิภาพดีมาก สลายตัวในสิ่งแวดล้อมได้ดี ราคาประหยัด แต่หากนำมาใช้ในความเข้มข้นสูงจะมีความเป็นพิษสูง ประเทศที่ให้ยกเลิกใช้พาราควอตมักระบุถึงสาเหตุการยกเลิก ว่า เนื่องจากเกรงคนนำไปฆ่าตัวตาย ส่วนประเทศที่ใช้อยู่ยังมีอีกมาก ซึ่งได้กำหนดมาตรการความปลอดภัย เช่น การเจือจางก่อนบรรจุขาย ผู้ใช้ต้องฝึกอบรมการใช้อย่างถูกวิธี และจำหน่ายให้เฉพาะผู้ที่อบรมแล้วเท่านั้น หากบีบให้ยกเลิกใช้พาราควอต เกษตรกรต้องไปใช้ยาฆ่าหญ้าชนิดอื่น ซึ่งมีอันตรายเช่นกัน อีกทั้งมีราคาแพงกว่าด้วย ทางฝั่งเกษตรกรจึงเรียกร้องให้ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ไม่ใช่ยกเลิก


S__13467730-1

สำหรับไกลโฟเซต ซึ่งเป็นยาฆ่าหญ้าที่นิยมใช้กันทั่วโลกอีกชนิด มีพิษน้อยมาก น้อยกว่าเกลือแกงเสียอีก ราคาอยู่ในเกณฑ์ที่เกษตรกรรับได้ แต่การออกฤทธิ์เป็นแบบที่วัชพืชดูดซึมเข้าไป แล้วค่อย ๆ ตาย ต่างจากพาราควอตที่ทำให้ใบไหม้อย่างรวดเร็ว โดยผลวิจัยจากองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก ยืนยันตรงกันว่า ไกโฟเซตไม่อันตรายและไม่ได้ก่อมะเร็ง แต่หน่วยงานขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า ผลการศึกษาในสัตว์ทดลอง พบว่า ถ้าให้เป็นปริมาณมากอาจก่อมะเร็งได้ ทั้งนี้ กลุ่มผู้ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรม (GMO) นิยมใช้ไกลโฟเซต จึงทำให้ NGO ที่ต่อต้านพืช GMO โจมตีไกลโฟเซตที่เป็นพิษต่ำด้วย


S__29745750

"ทั้งนี้ เป็นเทคนิคการปั่นความกลัวสไตล์ NGO ที่ทำให้คนเข้าใจผิด ว่า พาราควอตและไกลโฟเซต ซึ่งเป็นสารกำจัดวัชพืชนั้น ตกค้างในพืชผักที่เรากินได้เหมือนยาฆ่าแมลง อย่าง คลอร์ไพรีฟอส ซึ่งถ้าเราทำตาม NGO ที่กำลังปั่นหัวคนไทยขณะนี้ หมายความว่า ประเทศไทยต้องยกเลิกพาราควอตและไกลโฟเซต แล้วเกษตรกรจะใช้สารอะไรกำจัดวัชพืช เป็นการผลักภาระค่าใช้จ่ายไปให้เกษตรกรที่ยากจนอยู่แล้ว ต้องยากจนหนักขึ้นไปอีกอย่างไม่เป็นธรรม อีกทั้งทำให้พ่อค้าสารเคมีได้กำไรมากขึ้นอีก จากการขายสารอื่นที่ไม่ถูกแบนและมีราคาแพง" รองศาสตราจารย์เจษฎา กล่าว


34408908_2123616510991226_5084667513782927360_n

รองศาสตราจาย์เจษฎา กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหาขณะนี้ คือ ฝ่ายต่าง ๆ ส่วนใหญ่เถียงกันโดยไม่คำนึงเกษตรกร ทั้งนี้ ควรให้เกษตกร ซึ่งเป็นผู้ใช้สารเคมีนี้โดยตรง เป็นผู้ตัดสินใจเรื่องนี้เอง อีกทั้งระบุว่า รู้ว่าการแสดงความคิดเห็นที่ต้านกระแสสังคมเช่นนี้จะทำให้ถูกโจมตีหนักอย่างแน่นอน

595959859