ฐานโซไซตี : “ทษช.” รอดยาก ยุบพรรค! คำวินิจฉัยศาล รธน. ปี43มัด

16 ก.พ. 2562 | 11:54 น.
รอดยาก-02 ไทยรักษาชาติ_๑๙๐๒๑๖_0043 ในที่สุดเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ก็ได้เสนอให้ “ศาลรัฐธรรมนูญ” พิจารณาวินิจฉัยยุบพรรค “ไทยรักษาชาติ” จากกรณีการเสนอพระนามทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เป็นบุคคลเพื่อเสนอแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี โดย กกต.เห็นว่าการดำเนินการดังกล่าว “เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” จึงมีมติให้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยมีคำสั่งให้ยุบพรรคไทยรักษาชาติ(ทษช.) ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 มาตรา 92

ขณะที่ “ศาลรัฐธรรมนูญ” ก็ได้มีมติเอกฉันท์รับคำร้องดังกล่าวไว้พิจารณา เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา พร้อมส่งสําเนาคําร้องให้ผู้ถูกร้องยื่นคําชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายใน 7 วัน และศาลนัดพิจารณาคดีครั้งต่อไปวันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์นี้ เวลา 13.30 น.

เมื่อเรื่องไปถึง “ศาลรัฐธรรมนูญ” ถามว่ามีโอกาสหรือไม่ที่พรรค “ไทยรักษาชาติ” จะรอดจากการยุบพรรค “ว.เชิงดอย” ขอฟันธงว่า “รอดยาก” เพราะอะไรน่ะหรือ? ก็ต้องไปดูที่ “ประกาศสถาบันพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย” เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ซึ่งมีข้อความบางตอนระบุว่า “การนำสมาชิกชั้นสูง ในพระบรมราชวงศ์มาเกี่ยวข้องกับระบบการเมือง ไม่ว่าจะโดยทางใดก็ตาม จึงเป็นการกระทำที่ขัดต่อโบราณราชประเพณี ขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรมของชาติ ถือเป็นการกระทำที่มิบังควรไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง”

[caption id="attachment_389857" align="aligncenter" width="500"] ฐานโซไซตี : “ทษช.” รอดยาก ยุบพรรค! คำวินิจฉัยศาล รธน. ปี43มัด เพิ่มเพื่อน [/caption]

ไทยรักษาชาติ_๑๙๐๒๑๖_0032 อนึ่ง บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญทุกฉบับ รวมทั้งฉบับปัจจุบัน มีหมวดว่าด้วยพระมหากษัตริย์เป็นการเฉพาะ ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่รองรับสถานะพิเศษของสถาบันพระมหากษัตริย์ ตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่เหนือการเมืองและทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิด กล่าวหา หรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้ ซึ่งบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญดังกล่าวย่อมครอบคลุมถึงพระราชินี พระรัชทายาท และพระบรมราชวงศ์ซึ่งมีความใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์ ดังที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจร่วมกับพระองค์ หรือแทนพระองค์อยู่เป็นนิจ ดังนั้น พระราชินี พระรัชทายาท และ พระบรมราชวงศ์ทุกพระองค์ จึงอยู่ในหลักการเกี่ยวกับการดำรงอยู่เหนือการเมือง และความเป็นกลางทางการเมืองของพระมหากษัตริย์ด้วย และไม่สามารถดำรงตำแหน่งใดๆ ในทางการเมืองได้ เพราะจะเป็นการขัดกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”

ประกอบ “ศาลรัฐธรรมนูญ” ชุดที่มี ประเสริฐ นาสกุล เป็นประธาน ก็เคยมีคำวินิจฉัยเป็น “บรรทัดฐาน” ไว้แล้วในปี 2543 ดังคำวินิจฉัยว่า “ในช่วงของการร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทยมีเรื่องเกี่ยวข้องกับพระบรมวงศานุวงศ์ว่าควรดำรงอยู่ในฐานะอย่างใดในทางการเมือง ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ 1/60 ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2475 ที่มีถึงพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ประธานคณะกรรมการราษฎรว่า ทรงเห็นด้วยตามความคิดของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ที่เห็นว่า พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป ย่อมดำรงอยู่เหนือการเมืองต่อมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ซึ่งประกาศราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 มีบัญญัติในมาตรา 11 ว่า “พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป โดยกำเนิดหรือโดยแต่งตั้ง ย่อมดำรงอยู่ในฐานะเหนือการเมือง”
ไทยรักษาชาติ_๑๙๐๒๑๖_0028 นี่แหละ “ว.เชิงดอย” ถึงได้กล้าฟันธงว่า “รอดยาก” และเชื่อว่า “ศาลรัฐธรรมนูญ” ก็น่าจะมีคำวินิจฉัยออกมาเร็ว ก่อนการ “หย่อนบัตร” เลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคมนี้ ซึ่ง “ไทยรักษาชาติ” ก็จะไม่อยู่ใน “สารบบ” การเลือกตั้งปี 2562 ขณะที่ 14 กรรมการบริหารพรรค อันประกอบด้วย 1.ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช หัวหน้าพรรค 2. ฤภพ ชินวัตร 3.สุณีย์ เหลืองวิจิตร 4. พฤฒิชัย วิริยะโรจน์ 5.นพ.พงษ์ศักดิ์ ภูสิทธิ์สกุล 6. รุ่งเรือง พิทยศิริ (อ้างว่าลาออกแล้ว) 7. จุลพงศ์ โนนศรีชัย 8.มิตติ ติยะไพรัช เลขาธิการพรรค 9.ต้น ณ ระนอง 10.วิม รุ่งวัฒนจินดา 11.คณาพจน์ โจมฤทธิ์ 12.พงศ์เกษม สัตยาประเสริฐ 13.ชยิกา วงศ์นภาจันทร์ และ 14.วรรษมล เพ็งดิษฐ์ ก็ต้องรอลุ้นว่า จะถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลากี่ปี

แต่ดูเหมือนว่าเรื่องการเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง หรือที่เรียกว่า “ใบดำ” นั้น กฎหมายไม่ได้เขียนระยะเวลาเอาไว้ว่านานเพียงใด แต่ได้กำหนดเป็นลักษณะต้องห้ามในการดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่างๆ และกรรมการองค์กรอิสระ ดังนั้น ถ้าหากถูกเพิกถอนสิทธิ ย่อมหมายความว่า “ไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้ง หรือดำรงตำแหน่งใดๆ ในทางการเมือง หรือ กรรมการองค์กรอิสระ ได้ตลอดไป” หรือเรียกว่า ต้อง “เว้นวรรคชั่วชีวิต” นั่นเอง...

ปิดท้ายกันที่ ธานินทร์ พานิชชีวะ บอสใหญ่ใจดีแห่งดอนเมืองโทลล์เวย์ มีความห่วงใยปัญหาด้านยาเสพติดมายาวนาน เตรียมสานต่อโครงการเพื่อสังคม Tollway Happy Way ด้วยการยกระดับสังคมปลอดยาเสพติด พร้อมแจกชุดตรวจสารเสพติดให้แก่หน่วยงานที่ต้องการฟรี สนใจสอบถามได้ที่ Tollway Call Center 1233

| คอลัมน์ : ฐานโซไซตี
| โดย : ว.เชิงดอย 
| หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3445 หน้า 4 ระหว่างวันที่ 17-20 ก.พ.2562
595959859 090861-1927-9-335x503-3