เปิดพิมพ์เขียว "บ้านสูงวัย" มุ่งสู่ความสุขยั่งยืน

18 ก.พ. 2562 | 04:30 น.
| คอลัมน์ : ผ่ามุมคิด

| เรื่อง : เปิดพิมพ์เขียว "บ้านสูงวัย" มุ่งสู่ความสุขยั่งยืน

……………….


วันนี้แนวโน้มโครงสร้างประชากรของโลกและประเทศไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ สัดส่วนประชากรวัยเด็กและวัยแรงงานปรับลดลง สวนทางกับสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น เป็นสัญญาณก้าวสู่สังคมสูงวัยในอนาคต ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม เพื่อตอบโจทย์คนกลุ่มสูงวัยและครอบครัวอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและยั่งยืน

"นรี ภิญญาวัฒน์" ที่ปรึกษา บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่นฯ (MQDC) ผู้เชี่ยวชาญการออกแบบเพื่อความยั่งยืนได้รับ WELL AP คนแรกของประเทศไทย และ "สฤกกา พงษ์สุวรรณ" ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Research & Innovation for Sustainability Center RISC) ร่วมกันเปิด "Roadmap to Smart Life 4.0" ในงานสัมมนา : Road to Silver Age เจาะขุมทรัพย์หมื่นล้าน ซึ่งจัดโดย หนังสือพิมพ์ "ฐานเศรษฐกิจ"

 

[caption id="attachment_389631" align="aligncenter" width="503"] นรี ภิญญาวัฒน์ นรี ภิญญาวัฒน์[/caption]

"นรี ภิญญาวัฒน์" ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของครอบครัว เป็นสมบัติลํ้าค่าในชีวิตคนเรา ยิ่งครอบครัวที่มีผู้สูงวัยด้วยแล้ว

ดังนั้น การออกแบบที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมถือเป็นเรื่องสำคัญ โดยได้ให้เหตุผลว่า วันหนึ่ง ๆ คนเราใช้ชีวิตอยู่ภายในอาคารมากกว่า 90% นอกจากนี้ ยังมีประเภทของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ติดบ้านหรือติดเตียงเป็นจำนวนมาก

การออกแบบอาคารควรคำนึงถึงการป้องกันสุขภาวะของผู้อาศัยในอาคาร อยู่อย่างมีความสุข สุขภาพแข็งแรง และการป้องกันอันตรายด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานในการนำมาตรฐาน WELL Building Standard ที่มุ่งเน้นไปที่สุขภาพ เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยได้อยู่ในสังคมที่ดี อยู่อย่างมีความสุข ซึ่งจะส่งผลให้สุขภาพยั่งยืนไปด้วย


บรรยากาศ

ยกตัวอย่าง โครงการ Aspen Tree ที่มีการออกแบบโดยเน้นไปที่การสร้างสังคมที่น่าอยู่สำหรับผู้สูงอายุ เริ่มจากการออกแบบสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกอาคาร ระบบ IAQ หรือ คุณภาพอากาศภายในอาคาร การลดเสียงรบกวน การเลือกใช้สีของแสงไฟ และการลด VOC หรือ สารอินทรีย์ระเหยง่าย ที่มาจากเฟอร์นิเจอร์และวัสดุที่ใช้ภายในบ้าน รวมถึงการออกแบบ Community ที่ส่งเสริม Active Lifestyle ให้กับผู้สูงอายุ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่สำหรับผู้สูงวัย

 

[caption id="attachment_389632" align="aligncenter" width="335"] สฤกกา พงษ์สุวรรณ สฤกกา พงษ์สุวรรณ[/caption]

ด้าน "สฤกกา พงษ์สุวรรณ" นักวิจัย RISC กล่าวว่า จำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนแซงกลุ่มเด็กอายุ 18 ปี และมีอัตราเพิ่มขึ้นต่อเนื่องไปจนถึงปี 2593 รวมถึงสถิติการฆ่าตัวตายของผู้สูงอายุที่สูงรองจากสถิติของคนวัยทำงาน เนื่องจากผู้สูงอายุไม่สามารถปรับตัวได้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายและอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการใช้ชีวิต โดยที่การเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ฮอร์โมน สายตา ร่างกาย (การเคลื่อนไหว หรือ สภาพร่างกาย) การได้ยิน

จากการศึกษาการออกแบบที่อยู่อาศัยเพื่อผู้สูงอายุ ได้ยึด 11 ตัวแปรในการสร้างที่อยู่อาศัยที่น่าอยู่ มีความสุข Well-Being ได้แก่ ระยะการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ, การมองเห็นสี โดยออกแบบรูปแบบของพื้นที่มองเห็นได้ง่าย, ความสว่างของแสงไฟที่มีผลต่อการรับรู้ของผู้สูงอายุ, การได้ยินและการลดเสียงรบกวนจากสภาพแวดล้อม โดยการสร้างแนวต้นไม้กันเสียง และการออกแบบผนังกั้นเสียง การออกแบบระยะกระตุ้นการสนทนา, การออกแบบที่รองรับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนของผู้สูงวัย เช่น การออกแบบให้สามารถนอนหลับได้ง่ายขึ้น, การสร้างสภาพแวดล้อมให้มีความใกล้ชิดกับเพื่อน อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี

หน้า 25-26 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 39 ฉบับ 3,445 วันที่ 17-20 กุมภาพันธ์ 2562

ติดตามฐาน