สสว. เดินหน้ายกระดับเอสเอ็มอีสู่ระดับความเป็นสากล

14 ก.พ. 2562 | 06:43 น.
สสว.เร่งยกระดับเอสเอ็มอีให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของสากล  เน้นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญของประเทศ ระบุจับมือพันธมิตร 11 หน่วยงาน  เชื่อสร้างรายได้ลดต้นทุนเพิ่มโอกาสได้กว่า 1 พันล้านบาท

นายสุวรรณชัย  โลหะวัฒนกุล  ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนามย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า ปี 62 สสว. ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจระดับเติบโต (SME Regular Level) โดยมีเป้าหมายที่ต้องการให้ผู้ประกอบการได้รับความรู้ในการดำเนินธุรกิจจากการเข้าร่วมโครงการไม่ต่ำกว่า 9,550 ราย และผู้ประกอบการไม่ต่ำกว่า 2,850 กิจการจะได้รับการพัฒนาเชิงลึก  ด้วยการสนับสนุนารเข้าถึงระบบมาตรฐานโดยการต่อยอดเพื่อให้ได้รับมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของสากลมากขึ้น  การสนับสนุนคูปองการจัดทำฉลกโภชนาการ  คูปองกาตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ  และสอบเทียบเครื่องมือวัด  การสนับสนุนกิจกรรมตลาดต่างประเทศเพื่อยกระดับให้ผู้ประกอบการกลุ่มที่มีศักยภาพนี้ก้าวไปสู่สากล

thumbnail__DSC3465

ทั้งนี้  ในการพัฒนาจะมุ่งเน้นผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญของประเทศ อาทิ กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรม  กลุ่มสปาและบริการเพื่อสุขภาพ  กลุ่มแฟชั่นและไลฟ์สไตล์  กลุ่มอาหารและเกษตรแปรรูป  กลุ่มธุรกิจต่อเนื่องจากโลหะ  กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์  และกลุ่มที่ต้องการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ  นอกจากนี้ สสว. ยังให้ความสำคัญในเรื่องบัญชีเดียว  และการพัฒนาผู้ประกอบการที่เป็นผู้ให้บริการทางบัญชี (Service Provider) ที่ต้องการพัฒนาศักยภาพในการให้บริการที่เป็นมาตรฐานอีกด้วย

thumbnail__DSC3490

สำหรับการดำเนินการแนวทางการพัฒนาดังกล่าวนั้น สสว.ได้ร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรอีกจำนวน 11 หน่วยงานเข้ามาช่วยส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบอการในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ได้แก่ สถาบันอาหาร  ,สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ  ,สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม  ,สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย  ,สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์  ,สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ  ,สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  ,สมาคมสำนักงานบัญชีไทย  ,มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)

นายสุวรรณชัย กล่าวอีกว่า จาการดำเนินการดังกล่าวเชื่อว่า จะทำให้เอสเอ็มอีที่เข้าร่วมโครงการมการสร้างรายได้  ลดต้นทุน  หรือสร้างโอกาสทางการค้า  และการลงทุนได้ประมาณ 1 พันล้านบาท  หลังจากที่ผ่านตั้งแต่เริ่มโครงการในปี 59 ได้สร้างมูลค่าไปแล้วกว่า 3 พันล้านบาท  หรือเฉลี่ยปีละประมาณ 1 พันล้านบาท โดยเงื่อนไขของเอสเอ็มอีที่จะเข้าร่วมโครงการจะต้องเป็นเอสเอ็มอีที่ดำเนินธุรกิจมาแล้ว 3 ปี  และเป็นสมาชิกของ สสว. ซึ่งปัจจุบันสามารถสมัครได้ผ่านช่องทางของแอพพลิเคชั่น SME CONNEXT

“ในช่วงเวลาที่ผ่านมา สสว. ได้ดำเนินการสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีโดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการใหม่ (SME Startup) ,กลุ่มผู้ประกอบการระยะพลิกฟื้นกิจการ (Turn around) และกลุ่มผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ (SME Strong/Regular) ซึ่งจากฐานข้อมูลพบว่ากลุ่มผู้ประกอบการ Strong/Regular ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลมีกว่า 6 แสนราย  และในจำนวนนี้มีถึง 4 แสนรายที่มีสถานะทางบัญชีปกติ”

สสว.จึงมุ่งเน้นการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการในกลุ่ม Strong/Regular โดยได้เริ่มดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจระดับเติบโตมาตั้งแต่ปี 59 และจากการเข้าไปดำเนินโครงการทำให้ผู้ประกอบการได้รับความรู้จากการเข้าร่วมอบรมเฉพาะด้าน 3 หมื่นราย  และได้รับการพัฒนาเชิงลึกเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันในด้านต่างๆ 1 หมื่นกิจการ อาทิ ลดต้นทุนจากกระบวนการผลิต  เพิ่มประสิทธิภาพ  เพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ 5.2 พันกิจการ  มีพี่เลี้ยงในการจัดทำบัญชีสำหรับสำหรับเอสเอ็มอี 1.2 พันกิจการ  ได้รับการสนับสนุนการตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการเพื่อประกอบการออกใบรับรองมาตรฐาน 3.5 พันกิจการ  และนอกจากนี้ยังสามารถต่อยอดให้ผู้ประกอบการได้รับใบรับรองมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของสากล เช่น ISO ,GMP ,อย. อีก 200 กิจการ  ซึ่งจากการพัฒนาดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการสามารถสร้างรายได้  และสร้างโอกาสทางการค้าและการลงทุนเป็นมูลค่า 3 พันล้านบาท

thumbnail__DSC3449

ตัวแทนจากสมาคมสำนักงานบัญชีไทย กล่าวว่า ในการดำเนินการมาตั้งแต่ปี 60 ได้ใช้ประสบการณ์ในการอบรมกับผู้ประกอบการมาแล้วมากกว่า 20 จังหวัด  โดยปีนี้จะอบรมทั้งหมด 4 วัน ซึ่งในวันที่ 1-2 จะเป็นการอบรมพื้นฐานให้กับผู้ประกอบการในเรื่องบัญชีภายใต้โครงการ “เอสเอ็มอีไอไทยยั่งยืนด้วยบัญชีเดียว” เพื่อให้เอสเอ็มอีสามารถมองตนเองได้ว่ามีธุรกิจเป็นแบบใด รวมเรื่องะบบภาษีที่ควรรู้  และสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี ขณะที่วันที่ 3-4 จะเป็นการเสริมสร้างสมถรรนะให้กับผู้ให้บริการด้านบัญชีเป็นเชิงลึกแบบตัวต่อตัว  โดยจะมีการจัดทำคู่มือของสำนักงานบัญชีให้  เพื่อรองรับผู้ประกอบการที่จะเป็นบัญชีเดียว  และนิติบุคคลบัญชีเดียว  ซึ่งในปีนี้จะมุ่งเน้นการเข้าไปอบรมและพัฒนาที่ 12 จังหวัดรอง  เพราะมองว่าในกรุงเทพฯมีการปูพื้นฐานกันมากพอสมควรแล้ว

ตัวแทนสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปีนี้เป็นปีแรกที่เข้าร่วมโครงการกับ สสว. โดยจากการมองภพรวมจะมุ่งเน้นความต่อเนื่องของอุตสาหกรรมเหล็กและโลหะในกลุ่มของยานยนต์  และกลุ่มของเครื่องจักรกล  เพราะในอนาคตกลุ่มยายนต์จะต้องปรับเข้าสู่ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ดังนั้นตัวถัง  และอุปกรณ์จะต้องเปลี่ยนเป็นวัสดุที่เบามากขึ้น  ด้านชิ้นส่วนก็จะเปลี่ยนจากโลหะให้เป็นอะลูมิเนียมมากขึ้น  เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลจะต้องเปลี่ยนมาใช้เหล็กที่มีคุณภาพมากขึ้น  โดยให้องค์ความรู้เบื้องต้นกับวิศวะกร  เพื่อให้สามารถแข่งขันได้

090861-1927-9-335x503-8-335x503-13-335x503