เผยผลศึกษาธุรกิจรับผลประโยชน์ปฏิรูปสู่ดิจิทัล

13 ก.พ. 2562 | 09:26 น.
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เผยผลประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิรูปสู่ดิจิทัลทั่วโลก ประจำปี 2019 พบบทพิสูจน์ล้วนมาจากประโยชน์ทางธุรกิจในหลายรูปแบบทั้งในเชิงลึก เชิงปริมาณ จาก 230 โครงการของลูกค้าที่ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้ให้บริการเสร็จสิ้นสมบูรณ์ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา จาก 41 ประเทศ ซึ่งล้วนแล้วแต่ใช้ EcoStruxure ซึ่งเป็นทั้งแพลตฟอร์ม และสถาปัตยกรรมของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค

Colleagues using transparent touchscreen display

เป้าหมายของรายงานดังกล่าวคือการนำเสนอการเปรียบเทียบศักยภาพของการปฏิรูปดิจิตอลในการบริหารจัดการพลังงานและระบบออโตเมชั่นบนฐานของความเป็นจริงที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่าน โดยหัวใจสำคัญของรายงานดังกล่าวคือ ประโยชน์หลักที่ธุรกิจจะได้รับจากการปฏิรูปสู่ดิจิตอลใน 12 เรื่อง ซึ่งแยกออกเป็น 3 ประเภท แต่ละประเภทล้วนเป็นปัจจัยสำคัญต่อการแข่งขันในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าใช้จ่ายในการลงทุน (CapEx) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (OpEx) รวมถึงประเด็นความยั่งยืน ความเร็ว และประสิทธิภาพ ทั้งนี้การรายงานมุ่งเน้นที่ 4 กลุ่มหลักที่มีผลต่อเศรษฐกิจ ได้แก่อาคาร ดาต้าเซ็นเตอร์ อุตสาหกรรม และโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งหมดอยู่ระหว่างการปฏิรูป ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับพื้นฐานทั้งเรื่องวิถีการใช้ชีวิตของผู้คน รวมถึงการทำงาน และการพักผ่อน

Schneider Electric Thailand Digitiz3[41511]

บทพิสูจน์ที่ได้จากรายงาน นับเป็นการจบข้อกังขาและความกังวลในตลาดที่ว่าการปฏิรูปสู่ดิจิทัลเป็นการลงทุนที่แพง เพราะต้องใช้ระบบใหม่และการทำงานร่วมกับกระบวนการเดิม ซึ่งจากที่รายงานได้ศึกษาโครงการของลูกค้า ชี้ให้เห็นถึงบทพิสูจน์ที่ได้ผลตรงกันข้าม  โดยการศึกษาดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าการเปลี่ยนกระบวนการต่างๆ ทางวิศวกรรมไปสู่ระบบดิจิทัล สามารถช่วยธุรกิจและองค์กรต่างๆ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการลงทุน และใช้เวลาได้อย่างเหมาะสมได้ถึง 35% โดยเฉลี่ย นอกจากนี้ ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการใช้สินทรัพย์และระบบงานใหม่ เฉลี่ยถึง 29%
การศึกษายังเผยให้เห็นว่าการเปลี่ยนกระบวนการทำงานสู่ระบบดิจิทัล เพื่อควบคุมการใช้ IoT ให้ผลลัพธ์ในการประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้มาก นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดียิ่งขึ้น ทั้งเรื่องประสิทธิภาพ ความน่าเชื่อถือ ความปลอดภัย และความยั่งยืน โดยทั้งองค์กรและภาคธุรกิจต่างรายงานถึงการประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของการใช้พลังงานได้ถึง 24%  ซึ่งเป็นผลลัพธ์จากการปรับปรุงกระบวนการทำงานสู่ระบบดิจิทัล
ในการประยุกต์ใช้งานในภาคอุตสาหกรรม การปฏิรูปสู่ดิจิทัล ช่วยให้องค์กรธุรกิจใช้ทรัพยากรน้อยลง แต่ได้ผลลัพธ์มากขึ้น เช่น เพิ่มผลผลิตมากขึ้นแต่ใช้พลังงานน้อยลง ใช้วัตถุดิบน้อยลง ใช้แรงงานต่อชั่วโมงน้อยลง โดยสามารถเพิ่มผลผลิตได้มากถึง 50% เหล่านี้เป็นผลที่ได้จากประสิทธิภาพในการบริหารจัดการพลังงานและระบบออโตเมชั่น ผ่านห่วงโซ่แห่งคุณค่า (value chain) ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการติดตาม IoT ตลอดจนการช่วยให้สายการผลิตดำเนินงานได้โดยอัตโนมัติ
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้เริ่มเดินทางสู่การปฏิรูปดิจิทัลหลายปีมาแล้ว โดยในปี 2009 ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้เปิดตัว EcoStruxure ซึ่งเป็นทั้งสถาปัตยกรรมและแพลตฟอร์ม ที่ให้ศักยภาพด้าน IoT ติดตั้งง่ายแบบ plug and play อีกทั้งยังเป็นระบบเปิด สามารถทำงานร่วมกันกับระบบอื่นๆ ได้
ปัจจุบันนี้ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้เพิ่มบริการด้านคลาวด์และดิจิทัล เพื่อให้ EcoStruxure สามารถนำเสนอประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้นไปอีก ทั้งความปลอดภัย ความน่าเชื่อถือ ประสิทธิภาพ ความยั่งยืน และความสามารถในการเชื่อมต่อ โดย EcoStruxure ได้นำความล้ำหน้าด้าน IoT โมบิลิตี้ ระบบเซ็นเซอร์ คลาวด์ การวิเคราะห์ และไซเบอร์ซิเคียวริตี้ มาช่วยในการนำเสนอนวัตกรรมในทุกระดับ ตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ที่มีเชื่อมต่อ ระบบควบคุมการใช้อุปกรณ์ปลายทาง (Edge Control) และแอพพลิเคชั่น รวมถึงการวิเคราะห์ และบริการต่างๆ โดยที่ผ่านมา EcoStruxure ได้มีการติดตั้งใช้งานมากกว่า 480,000 ไซต์งาน โดยมีผู้วางระบบและผู้พัฒนากว่า 20,000 รายให้การสนับสนุน และมีการเชื่อมต่อการทำงานร่วมกับอุปกรณ์มากกว่า 1.6 ล้านรายการ โดยมีการบริหารจัดการ ผ่านบริการด้านดิจิทัลมากกว่า 40 บริการ ซึ่งจำนวน 45% ของยอดจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ในปี 2017 ทั้งหมด เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ IoT ที่สร้างบนแพลตฟอร์ม EcoStruxure
เรื่องราวที่น่าสนใจมากขึ้นที่ปรากฏในผลรายงานเกี่ยวกับพลังแห่งดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นในการจัดการพลังงานและระบบออโตเมชั่น ก็คือ เมื่อธุรกิจก้าวเข้าสู่ดิจิทัลทั้งการบริหารจัดการพลังงาน และระบบออโตเมชั่น ทั้งสองส่วนทำงานผสานกันเพื่อขับเคลื่อนสิ่งที่ยิ่งใหญ่ขึ้น ซึ่งเป็นคุณค่าที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
“การปฏิรูปสู่ดิจิทัล เป็นหนทางเดียวที่จะสร้างเสถียรภาพ และประสิทธิภาพให้กับทั้งบริษัท ด้วยเทคโนโลยีเช่น อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ หรือ IoT รวมถึงปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI และการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่หรือ Big Data ทำให้หลายบริษัทสามารถสร้างประสิทธิภาพ และนวัตกรรม เพื่อเพิ่มข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน” มร.ฌอง ปาสคาล ตริคัวร์ ประธานบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ชไนเดอร์ อิเล็คทริค กล่าว “รายงานของเราชี้ให้เห็นว่าธุรกิจและองค์กรมากมาย ล้วนต้องการอำนาจที่เชื่อมั่นได้ ในการบริหารจัดการความซับซ้อน เพื่อปลดล็อคประสิทธิภาพการปฏิรูปสู่ดิจิตอลได้อย่างเต็มพิกัด ซึ่งเทคโนโลยีของเราสร้างบน EcoStruxure ช่วยควบคุมพลังแห่งดิจิทัล ช่วยให้ลูกค้าของเราได้รับประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ปลอดภัยยิ่งขึ้น มีความน่าเชื่อถือ เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ได้ทั้งหมด ให้ความยั่งยืน นับว่าเป็นผู้นำในเศรษฐกิจดิจิทัลใหม่นี้อย่างแท้จริง”