สูงวัย ขุมทรัพย์ใหญ่ เฮลธ์แคร์-ที่อยู่อาศัย

13 ก.พ. 2562 | 23:56 น.
แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรซึ่งสัดส่วนประชากรวัยเด็กและวัยแรงงานที่จะปรับลดลง ขณะที่สัดส่วนประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นและก้าวสู่สังคมสูงวัยในอนาคต โดยจะส่งผลต่อโอกาสทางเศรษฐกิจของประเทศทั้งในด้านบวกและด้านลบ ส่งผลให้ทุกภาคส่วนไม่ว่ากระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง และหน่วยงานเกี่ยวข้องร่วมสร้างความมั่นคงกับเศรษฐกิจของประเทศภายใต้การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว เพื่อดำเนินนโยบายเท่าทันกับสถานการณ์ดังกล่าว

ด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์และระบบสาธารณสุขทำให้คนไทยมีอายุยืนยาวเฉลี่ย 77 ปีทำให้โครงสร้างของประชากรไทยเปลี่ยนแปลงอย่างมากคาดว่าในปี 2579 จะมีสัดส่วนผู้สูงอายุเกือบ 1 ใน 3 ของประเทศและผู้ที่จะได้รับผลกระทบจะอยู่ในช่วงอายุ 40-50 ปีในปัจจุบันที่จะเป็นผู้สูงอายุในอนาคต ดังนั้นโอกาสทางเศรษฐกิจจากการมีส่วนร่วมของประชากรวัยสูงอายุที่กำลังจะเพิ่มขึ้นจะกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศทั้งโครงสร้างการผลิตจะต้องเปลี่ยนไปสู่เศรษฐกิจการสร้างมูลค่าที่เน้นนวัตกรรม จากการใช้แรงงานจำนวนมาก หรือการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและภาคบริการ รวมถึงการพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีผลิตภาพสูงขึ้นและเชื่อมโยงประชากรในวัยแรงงาน (GEN Y) เพื่อบริหารจัดการพลังของประเทศให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมไทยในระยะยาว MP25-3444-A

นพ. บุญ วนาสิน ประธานกรรมการ บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวในหัวข้อ “ส่องโอกาสและธุรกิจ Silver Age” ภายในงานสัมมนา: Road to Silver Age เจาะขุมทรัพย์หมื่นล้าน ที่จัดโดยหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังกันอย่างคับคั่ง ว่า ปัจจุบันการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการใช้ชีวิตของกลุ่มคนผู้สูงอายุเป็นสิ่งสำคัญหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากขณะนี้ ไทยกำลังขึ้นแท่นเป็นอันดับ 2 ของเอเชียที่มีประชากรสูงวัยมากที่สุด โดยพบว่า ประชากรไทยมีสัดส่วนประมาณ 20%เป็นคนที่มีอายุเกิน 60 ปี ขณะที่ธุรกิจทางการแพทย์และการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อดีเลย์ความชราและความตาย

อย่างไรก็ดี สำหรับโครงการจิณณ์ เวลบีอิ้ง เมืองสำหรับคนวัยเกษียณ บนพื้นที่ 140 ไร่ ย่านรังสิต คอนโดมิเนียมรูปแบบโลว์ไรส์ของบริษัท ปัจจุบันค่อนข้างประสบความสำเร็จมีกลุ่มผู้สูงวัยให้ความสนใจ จองโครงการเฟสแรก และเตรียมโอนกรรมสิทธิ์กว่า 100 หน่วย ซึ่ง ภายในเน้นพื้นที่สีเขียว และจัดโซนรองรับ 3 เจนเนอเรชัน อีกทั้งยังมีสถานพยาบาลรองรับ แบบครบวงจร

แม้ปัจจุบันเริ่มมีบริษัทพัฒนาที่ดินให้ความสนใจตลาดสูงวัยมากขึ้น เช่น บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์เปอเรชั่น (MQDC) โดย โครงการ จิณณ์ เวลบีอิ้ง ของกลุ่มโรงพยาบาล ธนบุรี เฮลท์แคร์ แต่เชื่อว่ายังมีช่องว่างในอีก มหาศาล

โดยเฉพาะด้านที่อยู่อาศัย เทคโนโลยี สถานพยาบาล ธุรกิจดูแลสุขภาพ ซึ่งปัจจุบันมี 3 แสนคน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อมีเงินออม 7 แสนบาทขึ้นไป

นอกจากการทำธุรกิจรองรับผู้สูงวัย ที่มีรายได้สูงมีการออมแล้ว บริษัทยังเข้าไปช่วยกลุ่มสูงวัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย ด้วยการทำโครงการบ้านประชารัฐ หรือบ้านล้านหลัง ตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งปัจจุบันรับโครงการมาพัฒนาหลายหมื่นหน่วย บนที่ดิน ตนเองที่สะสมไว้ ในราคา ไม่เกิน 7 แสนบาทต่อหน่วย ขณะเดียวกัน ได้เสนอรัฐให้สนับสนุนวงเงินให้กับคนจน 1 ล้านบาทต่อราย ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัย 6-7 แสนบาท ส่วนอีก 3-4 แสนบาท เป็นการซื้อประกันการออม ในยามเข้าสู่วัยชรา ทั้งนี้ ผู้สูงอายุเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องเตรียมความพร้อมดังนั้นจึงเป็นช่องทางธุรกิจ เช่น บริษัทได้มีบุคลากรแพทย์และพยาบาลออกไปดูแลผู้ป่วยติดเตียงถึงที่พักอาศัย โดยเสียค่าใช้จ่ายเพียงหัวละ 200 บาท หาก ให้เขาเดินทางมายังโรงพยาบาลจะเสียค่าใช้จ่ายไม่ตํ่ากว่า 1,500 บาท ทั้งค่าเดินทางและค่ารักษาพยาบาล อีกทั้งลูกหลานต้องเสียเวลาเดินทาง ซึ่งเป็นอีกช่องทางธุรกิจที่เอกชนจะนำไปช่วยแบ่งเบาภาครัฐ
AI โอกาสธุรกิจ สูงวัย
นพ.บุญ วนาสิน ประธานกรรมการ บริษัทธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าปัจจุบันนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาททางการแพทย์ การอยู่อาศัย ตลอดจน สุขภัณฑ์-วัสดุ-อุปกรณ์ รองรับกลุ่มคนสูงวัย
มากขึ้น จึงเป็นเรื่องที่ น่าสนใจ เพราะช่วยลดค่าใช้จ่าย ลดทอนเวลา และเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ผู้รับบริการ ทั้งนี้ผู้ประกอบการใดสามารถปรับตัวได้ทัน และเลือกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ จะถือเป็นโอกาสอย่างยิ่งในการทำธุรกิจ เช่น บริการถามตอบอาการเจ็บป่วยผ่านโทรศัพท์ ใช้ AI เสริมบริการทางการแพทย์ เป็นต้น ซึ่งในประเทศทั่วโลก ได้ดำเนินการ โดยเฉพาะ จีน เนื่องจากมีปริมาณพลเมืองค่อนข้างมาก สวนทางกับแพทย์ที่มีจำกัด

[caption id="attachment_387773" align="aligncenter" width="335"] น.พ. บุญ วนาสิน น.พ. บุญ วนาสิน[/caption]

ขณะเมืองไทยมองเป็นโอกาส แต่มีข้อจำกัดด้านกฎหมายที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข อย่างไรก็ดี อนาคตเชื่อว่าต้องเกิดการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับสังคมกลุ่มนี้

“คนสูงวัยที่มีกำลังซื้อในไทย ถือเป็นโอกาส เพราะปัจจุบันมีธุรกิจการแพทย์ หรือซัพพลายที่อยู่อาศัยเฉพาะกลุ่ม แทบรองรับไม่เพียงพอ ฉะนั้น ยังมีดีมานด์มหาศาลที่เป็นโอกาส และเป็นช่องว่างในการทำธุรกิจ”

ซึ่ง นพ.บุญมองว่า การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการใช้ชีวิตของกลุ่มคนผู้สูงวัยเป็นสิ่งสำคัญ หลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากขณะนี้ไทยกำลังขึ้นแท่นเป็นอันดับ 2 ของเอเชียที่มีประชากรสูงวัยมากที่สุด พบประชากรไทยสัดส่วนประมาณ 20% เป็นคนที่มีอายุเกิน 60 ปี แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มคนดังกล่าวยังมีบทบาทในเชิงการเติบโตของเศรษฐกิจ เนื่องจากมีกำลังซื้อมหาศาล ยกตัวอย่าง เช่นในประเทศญี่ปุ่น เกาหลี มีเงินสะพัดหมุนเวียน 30% จากกำลังซื้อของคนเหล่านี้ แตกต่างจากคนช่วงวัย 25-50 ปี ที่มักจะก่อหนี้มากกว่า ฉะนั้นถือเป็นโอกาสในการทำธุรกิจเพื่อตอบสนองกลุ่มคนดังกล่าว โดยเฉพาะธุรกิจการแพทย์และกลุ่มที่อยู่อาศัยที่จะตอบโจทย์การใช้ชีวิต หลังจากคาดว่าด้วยจำนวนประชากรสูงวัยที่จะเพิ่มมากขึ้นทั่วโลกในช่วง 5 ปีข้างหน้า ทำให้การแพทย์จะมีบทบาทมากในการสนับสนุนการใช้ชีวิต และรักษาอาการเจ็บป่วย

หน้า 25-26 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 39 ฉบับ 3,444 วันที่ 14-16 กุมภาพันธ์ 2562

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว