กนอ. เลื่อนยื่นซอง "ท่าเรือฯ มาบตาพุด ระยะ 3" เป็น 15 ก.พ. นี้

04 ก.พ. 2562 | 08:27 น.
กนอ. แจ้งเปลี่ยนแปลงเวลายื่นซองประมูลโครงการท่าเรือฯ มาบตาพุด ระยะที่ 3 (ช่วงที่ 1) จากเดิม 6 ก.พ. เป็นวันที่ 15 ก.พ. 2562 หลังคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนฯ มีมติเห็นชอบเพื่อให้การพัฒนาโครงการเกิดประโยชน์สูงสุด

นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่ประชุมคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 (ช่วงที่ 1) ครั้งที่ 4/2562 เมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2562 มีมติให้ออกเอกสารเพิ่มเติม (Addendum) ชุดที่ 3 และเปิดให้มีการรับซองข้อเสนอจากวันที่ 6 ก.พ. 2562 เป็นวันที่ 15 ก.พ. 2562 เวลา 08.30 น. และจะปิดรับซองข้อเสนอภายในเวลา 16.30 น. ในวันเดียวกัน ที่สำนักงานการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) สำนักงานใหญ่ เพื่อให้เอกชนผู้ซื้อซองมีเวลาเตรียมการเพิ่มเติมนับจากวันที่ออกเอกสารเพิ่มเติม (Addendum) ชุดที่ 3 ไม่น้อยกว่า 14 วัน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงกำหนดการรับซองโครงการดังกล่าว ต้องการให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและบรรลุตามเป้าหมายของการพัฒนาโครงการ เพื่อให้สอดคล้องกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

"ที่ผ่านมา กนอ. ได้มีการตอบข้อซักถามและทำความเข้าใจในรายละเอียดต่าง ๆ ของทีโออาร์ให้กับภาคเอกชนที่สนใจเข้าร่วมประมูลโครงการฯ เป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงเวลาฯ ในการเปิดให้ภาคเอกชนเข้ายื่นซองในครั้งนี้ คาดว่าจะสามารถลงนามในสัญญาร่วมลงทุนกับเอกชนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าพัฒนาโครงการท่าเรือฯ มาบตาพุด ระยะ 3 ได้ประมาณเดือน พ.ค. 2562 และจะสามารถเปิดดำเนินการได้ประมาณปี 2568" ดร.สมจิณณ์ กล่าว

 

[caption id="attachment_384181" align="aligncenter" width="335"] สมจิณณ์ พิลึก สมจิณณ์ พิลึก[/caption]

ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวมีมูลค่าการลงทุนรวมทั้งสิ้น 55,400 ล้านบาท แบ่งออกเป็น ภาครัฐ 12,900  ล้านบาท และเอกชน 42,500 ล้านบาท โดยการพัฒนาแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ซึ่งการพัฒนาช่วงที่ 1 จะเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) มีมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้น 47,900 ล้านบาท โดย กนอ. จะเข้าร่วมลงทุนในมูลค่าไม่เกิน 12,900 ล้านบาท และเป็นส่วนการลงทุนของภาคเอกชน 35,000 ล้านบาท โดยจะพัฒนาในส่วนขุดลอกและถมทะเล พื้นที่ 1,000 ไร่ และในช่วงที่ 2 จะเป็นการก่อสร้างท่าเรือ (Superstructure) จะใช้เงินลงทุนประมาณ 4,300 ล้านบาท โดยเอกชนจะเป็นผู้ดำเนินการลงทุนและพัฒนาท่าเทียบเรือสินค้าเหลว รองรับปริมาณขนถ่ายสินค้าเหลวได้ 4 ล้านตันต่อปี คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี 2566 และเปิดให้บริการได้ภายในปี 2568 และงานก่อสร้างพื้นที่หลังท่า จำนวน 150 ไร่ เงินลงทุน 3,200 ล้านบาท เพื่อรองรับธุรกิจเกี่ยวเนื่อง

สำหรับ 18 บริษัท ที่เข้าซื้อซองประกวดราคาโครงการฯดังกล่าว ประกอบด้วย 1.บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) 2.บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) 3.บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) 4.บริษัท ซีเอชอีซี (ไทย) จำกัด 5.บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) 6.บริษัท China Harbour Engineering Co.,Ltd. 7.บริษัท Tokyo Gas Co.,Ltd. 8.บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด 9.บริษัท ชิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด 10.บริษัท ไทยแท้งค์เทอร์มินัล จำกัด 11.บริษัท Mitsui & Co., Ltd. 12.บริษัท ไชน่า คอมมูนิเคชั่น คอนสตรัคชั่น จำกัด 13.บริษัท China Railway Construction Corporation Limite 14.บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) 15.บริษัท Boskalis International B.V. 16.บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) 17.บริษัท Vopak LNG Holding B.V. 18.บริษัท สหการวิศวกร จำกัด

595959859