มารยาตลาดหุ้น : เจาะลึก "หุ้นทีเด็ด" กับ "เลขาฯฐากร ตัณฑสิทธิ์" พระเอกตัวจริงทีวีดิจิตอล(2)

01 ก.พ. 2562 | 15:00 น.
ฐากร เกริ่นไปพอสังเขปจากฉบับก่อนที่ “พระเอกตัวจริง” “ฐากร ตัณฑสิทธิ์” เลขาฯกสทช. ได้ช่วยคิดช่วยผลักดันร่วมกับคณะทำงานและกรรมการ กสทช. จนได้แผนแม่บทเป็นแนวทางแก้ไขปัญหา “อุตสาหกรรมทีวีดิจิตอล” และ พัฒนา“โครงข่ายโทรคมนาคม” ของประเทศ

อ่าน | มารยาตลาดหุ้น : หมวดหุ้นที่ห้ามพลาด กับ "เลขาฯฐากร ตัณฑสิทธิ์" พระเอกตัวจริงทีวีดิจิตอล 

องค์รวมของแผนแม่บทนี้มีเนื้อหาดังนี้คือ

จะนำคลื่น 2600 Mhz คืนจาก อสมท เพื่อมาประมูลรองรับระบบ 5G

นำเงินประมูลบางส่วนในข้อแรก มาเยียวยาผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล โดยแลกกับคลื่น 700 Mhz และให้กลุ่มทีวีดิจิตอล ขยับไปใช้คลื่น 500-600 Mhz แทน

นำคลื่น 700 Mhz ไปเสริมศักยภาพโครงข่ายระบบ 4G ที่ยังไม่สมบูรณ์แบบ

ข่าว2-w ด้านกรอบเวลานั้น ปัจจุบัน กสทช. ได้เริ่มทำ Public Hearing ผ่านเว็บไซต์แล้ว และจะสิ้นสุดลงในปลายเดือนกุมภาพันธ์

หลังจากนั้นจะมีขั้นตอนทางกฏหมายเล็กน้อย เพื่อทำการประกาศลงราชกิจจานุเบกษา และเริ่มการประมูล 5G ภายในเดือนเมษายนไม่เกินพฤษภาคม 2562 นี้

ในทางคู่ขนาน “คสช.” จะพิจารณาขยายเวลาการชำระเงินการประมูล 4G งวดที่ ___ มูลค่ากว่า 1.5 แสนล้านบาท ให้กลุ่มบริษัทโทรคมนาคม 3 เจ้า คือ AIS, DTAC และ True

[caption id="attachment_382719" align="aligncenter" width="500"] มารยาตลาดหุ้น : เจาะลึก "หุ้นทีเด็ด" กับ  "เลขาฯฐากร ตัณฑสิทธิ์" พระเอกตัวจริงทีวีดิจิตอล(2) เพิ่มเพื่อน [/caption]

โดยจุดประสงค์คือเพื่อให้ผู้ประกอบการมีทุน

วงเงินเพียงพอไปประมูลคลื่น 5G โดยดิฉันคาดการณ์ว่า คสช. น่าจะเลื่อนชำระให้ไปอีกประมาณ 7-8 ปี

แผนนี้ถือว่าเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย ถือเป็น วิน-วิน จริงๆ ประเทศไม่เสียประโยชน์และได้เงินจากการประมูล 5G ส่วนประชาชนและเศรษฐกิจประเทศก็ได้ก้าวล้ำไปกับโครงข่ายระบบ 5G อย่างทันโลก ด้านอุตสาหกรรมทีวีดิจิตอลก็ได้รับการแก้ไขและเยียวยาอย่างเหมาะสม

ในด้านการลงทุนและตลาดหุ้น หากแผนเยียวยานี้สำเร็จ ซึ่งคาดว่าภายในเดือนพฤษภาคมปีนี้ บริษัทที่จะได้ประโยชน์กลุ่มโทรคมนาคม 3 เจ้าและกลุ่มผู้ประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิตอล

ในกลุ่มทีวีดิจิตอล หากวิเคราะห์เจาะลึกเป็นรายบริษัท ผู้ได้ประโยชน์สูงสุดคือ บมจ. บี อีซี เวิลด์ หรือ “กลุ่มช่อง 3” เพราะมีใบอนุญาต 3 ใบ

รองลงมาคือกลุ่มบริษัทที่มีใบอนุญาต 2 ช่อง ซึ่งประกอบด้วย บมจ.เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป หรือ “NMG”, บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น หรือ “กลุ่ม TRUE”, บมจ. จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ หรือ“GRAMMY” และ  บมจ. อสมท หรือ “MCOT”

กลุ่มสุดท้ายคือ บริษัทที่มีใบอนุญาตเพียง 1 ใบ บมจ.โมโน เทคโนโลยี หรือ MONE บมจ.เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ หรือWORK บมจ. อาร์เอส หรือ RS บมจ. อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง หรือ AMARIN และ บมจ. นิวส์ เน็ตเวิร์ค คอร์ปอเรชั่น หรือ NEWS

MP18-3441-B

โดยสรุปของการเยียวยาคือ 1.ทุกช่องไม่ต้องจ่ายค่าโครงข่าย (Mux) อีก ซึ่งแปลได้ว่า Operation Cost หรือต้นทุนต่อปีจะลดลงไปกว่า 60 ล้านบาท เป็นระยะเวลาจนสิ้นสัญญา หรือประมาณ 9 ปีเศษ

2. ผู้ประมูลจะได้รับเงินคืน (ในกรณีที่จ่ายค่างวดตามกำหนด) หรือไม่ต้องจ่ายเพิ่ม (ในกรณีที่ขอพักหนี้) สำหรับค่าใบอนุญาตงวดที่ 5 และ 6

สำหรับผู้ถือใบอนุญาต HD จะได้ประโยชน์ ประมาณ 1,000ล้านบาท ผู้ถือใบอนุญาต SD ได้ประโยชน์ประมาณ 750 ล้านบาท ผู้ถือใบอนุญาตข่าวได้ประโยชน์ราว 450 ล้านบาท และช่องเด็กได้ประโยชน์ราว 200 ล้านบาท

นักลงทุนจะรักใคร เชียร์หุ้นตัวไหนก็แล้วแต่เลือกนะเจ้าคะ... ดิฉันทำตารางคำนวณแบบคร่าวๆ ไว้ให้แล้ว

ยาทิพย์โอสถจากรัฐในครั้งนี้ ถือเป็นความลงตัวที่สมบูรณ์แบบสำหรับประเทศชาติ เหลือเพียงแต่ทำให้สำเร็จตามกำหนดเวลาที่ตั้งไว้ และหวังว่ามารคงไม่มาผจญหรือทำเรื่องให้เป็นประเด็นการเมืองอีก!!

| คอลัมน์ : มารยาตลาดหุ้น
| โดย : คุณนายเผือก 
| หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3441 หน้า 17 ระหว่างวันที่ 3-6 ก.พ.2562
595959859