ส่องโอกาสกระจายสินค้าไทยใน‘ซีอาน’ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ www.iesroad.com (จบ)

05 ก.พ. 2562 | 06:47 น.
ตอนที่ผ่านมา เราได้ทำความรู้จักกับแพลตฟอร์มสำหรับการค้าอี-คอมเมิร์ซข้ามแดน (CBEC) ภายใต้ชื่อ U Life (www.iesroad.com) กันมา แล้ว ปัจจุบัน U Life ใช้ประโยชน์จากการจดทะเบียนก่อตั้งวิสาหกิจภายใน เขตโลจิสติกส์นานาชาตินครซีอาน (Xi’an International Trade and Logistics Park) หรือ ITL ที่เป็นหนึ่งในโซนพื้นที่ทดลองเขตการค้าเสรีมณฑลส่านซี ทำ ให้สามารถใช้สิทธิประโยชน์ในด้านภาษีนำเข้าและเข้าถึงระบบกระจายสินค้าได้อย่างเต็มที่

สินค้าที่จำหน่ายใน U Life จะเป็นสินค้าที่ขนส่งมาทีละมากๆ แล้วนำมาเก็บไว้ที่คลังสินค้าทัณฑ์บน ซึ่งการนำเข้าสินค้าครั้งละมากๆ นี้จะช่วยลดต้นทุนของสินค้า อย่างไรก็ดี มีข้อสังเกตว่าแพลตฟอร์มนี้มีสิน ค้าไม่หลากหลายเท่าที่ควร โดยเน้นจำหน่ายสินค้าที่มีกระแสตอบรับดี และมียอดจำหน่ายสูง เหตุผลส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะการสต๊อกสินค้าจำนวนมากมีปัจจัยในเรื่องของวันหมดอายุของสินค้าเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

xian1

ข้อจำกัดของแพลตฟอร์ม  www.iesroad.com

(1) สินค้าที่ทำการสั่งซื้อไปแล้วไม่ว่าด้วยรูปแบบ Ship to Order หรือ Stock to Order ต้องมีวัตถุประสงค์ เพื่ออุปโภคบริโภค ส่วนบุคคล เท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปจำหน่ายซํ้า ซึ่งหากเจ้าหน้าที่สุ่มตรวจพบอาจมีความผิดตามกฎหมายได้ ข้อกำหนดดังกล่าวส่งผลให้ไม่สามารถสมัครลงทะเบียนในนามวิสาหกิจหรือบริษัทได้ (ซึ่งระบบได้บังคับไว้ตั้งแต่ต้นของการสมัคร สมาชิกอยู่แล้ว) ทำให้ผู้ประกอบการเสียโอกาสในการซื้อขายในรูปแบบ B2B2C (Business to Business to Customer) ซึ่งในปัจจุบันมีช่องทางการค้าของจีน เช่น “Guangdong Pilot Free Trade Zone” ในเขตใหม่หนานซา (Nansha New Area) สามารถทำได้และมีสัดส่วนการค้าแบบ B2B2C มากถึง 95% ของรูปแบบการค้าทั้งหมด

(2) สินค้าบางรายการไม่มีฉลากภาษาจีนกำกับ เนื่องจากเป็นสินค้านำเข้าประเภท Imported with original package ซึ่ง www.iesroad.com แก้ปัญหาดังกล่าวด้วยการให้ผู้ซื้อติดต่อขอรับฉลากกำกับสินค้าหรือคู่มือภาษาจีนได้ที่ระบบบริการลูกค้า

(3) ประเภทของสินค้าไม่หลากหลาย โดยเฉพาะสินค้าจากประเทศในทวีปยุโรปซึ่งขนส่งผ่านรถไฟฉางอันห้าว จะไม่มีสินค้าสดหรือสินค้าที่มีอายุการจัดเก็บสั้น เนื่องจากการขนส่งสินค้าทางรางใช้ระยะเวลาราว 15 วัน

(4) www.iesroad.com ยังมีข้อจำกัดในด้านภาษา โดยให้บริการภาษาจีนเพียงภาษาเดียว อนึ่ง ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถใช้โปรแกรมการแปลอัตโนมัติได้ นอกจากนี้ www.iesroad.com ยังมีแอพพลิเคชันในมือถืออีกด้วย

ผู้ประกอบการไทยที่ประสงค์จะส่งสินค้ามาจำหน่ายบนแพลตฟอร์ม U Life สามารถติดต่อ Investment Promotion Department โทรศัพท์ (+86) 29-8334-2989 (ภาษาอังกฤษ)

ประเทศจีนเป็นตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยเข้าสู่สนามการแข่งขันดังกล่าวแต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะการทำธุรกิจรูปแบบเดิมๆ ได้เปลี่ยนแปลงไปตามทิศทางตลาด และพฤติกรรมของผู้บริโภค ผู้ประกอบการไทยนอกจากจะต้อง สร้างสรรค์สินค้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวแล้ว ยังต้องศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในแต่ละมณฑลและควรใช้ช่องทางการกระจายสินค้าที่เหมาะสม เพื่อตอบโจทย์การค้ายุค E-Commerce ซึ่งจะเพิ่มโอกาสผู้ประกอบการไทยในการทำตลาดในพื้นที่ตอน ในของประเทศจีนได้มากยิ่งขึ้น ใน อนาคตแพลตฟอร์มที่คล้ายคลึงกันนี้จะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั่วประเทศ เนื่องจากรัฐบาลจีนให้ความสำคัญกับ CBEC

นอกจากนี้ การพัฒนาของเทคโนโลยีทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่ายและรวดเร็ว ดังนั้น ผู้บริโภคจึงเกิดพฤติกรรม “ช่างเลือก” เนื่องจากต้องการเลือกสรรสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตนเองในระดับที่สามารถซื้อหาได้ การใช้สื่อสังคมออนไลน์ของจีนเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคได้เข้าถึงและรับรู้ข้อมูลข่าวสาร โปรโมชันพิเศษ และช่องทางการชำระเงินที่รองรับวิถีการใช้จ่ายของชาวจีนที่โดยมากเป็นกระเป๋า เงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Wechat Pay หรือ Alipay) ก็จะสามารถทำให้ผู้ประกอบการเข้าถึงตลาดจีนตอนในได้มากยิ่งขึ้นเช่นกัน

คอลัมน์ | หน้า 12 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ | ฉบับ 3441 ระหว่างวันที่ 3-6 กุมภาพันธ์ 2562

ติดตามฐาน