อย่าปิดโอกาสชาวนา

30 ม.ค. 2562 | 09:53 น.
ชาวนา-02 rice-2177811_960_720 เกิดปรากฏการณ์และข้อถกเถียงในวงจรข้าวอย่างมาก เกี่ยวกับพันธุ์ข้าวที่ปลูกในจ.นครสวรรค์ เป็นข้าวพันธุ์ใหม่ระยะเวลาเพาะปลูก 90-95 วัน ว่ากันว่าเป็นข้าวเจ้าพื้นนุ่มและเชื่อว่าเป็นข้าวที่ผู้ประกอบการลักลอบนำพันธุ์ข้าวเข้ามาจากต่างประเทศให้ชาวนาเพาะปลูกในจังหวัดสุพรรณบุรีประมาณช่วงปี 2558 ก่อนขยายไปในพื้นที่ภาคกลาง จ.นครสวรรค์ จ.พิษณุโลกและใกล้เคียง โดยส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่นครสวรรค์

อ่าน | นานาทัศนะเมื่อ'ข้าวหอมมะลิเวียดนาม'ยึด!!นาไทย 
อ่าน | พาณิชย์ยันไม่พบข้าวหอมพวงเวียดนามปลอมปนหอมมะลิไทยเพื่อการส่งออก 
อ่าน | แฉ! "หอมมะลิเวียดนาม" โผล่ปลูกนครสวรรค์ร่วมหมื่นไร่ 

ชาวนาและคนพื้นที่เรียกว่าข้าวหอมพวง เป็นข้าวนุ่มระดับปานกลาง มีกลิ่นหอมให้ผลผลิตสูงกว่า 1,000 กก.ต่อไร่ โดยบางพื้นที่ปลูกได้ดี ตามคุณภาพลักษณะเม็ดจะยาว แต่ถ้าพื้นที่ไม่ดีขาดแคลนนํ้า คุณสมบัติกายภาพจะมีลักษณะป้อมสั้น โดยรวมแล้วจัดชั้นเป็นลักษณะข้าวขาวในระดับไม่เกิน 5-10% ในแง่กายภาพนุ่ม ลำต้นแข็งแรง ให้ผลผลิตดี ต้านทานโรคได้ดี เป็นพันธุ์ข้าวที่เป็นทางเลือกให้กับเกษตรกรชาวนา

[caption id="attachment_381779" align="aligncenter" width="500"] อย่าปิดโอกาสชาวนา เพิ่มเพื่อน [/caption]

อย่างไรก็ดีมีเสียงคัดค้านอย่างแข็งขันจากผู้ค้าเมล็ดพันธุ์ อันเนื่องมาจากพันธุ์ใหม่นี้เข้าไปแย่งชิงตลาดพันธุ์เดิมที่กรมการข้าวส่งเสริมและพัฒนาขยายพันธุ์มายาวนาน โดยสมาคมผู้รวบรวมและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวขอให้สมาชิกผู้รวบรวมผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน พ.ร.บ.พันธุ์พืช และถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น เพื่อจะได้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดีไว้ให้เกษตรกรได้ลงแปลง และไม่ส่งเสริมหรือสนับสนุนให้สมาชิกผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ไม่มีการขึ้นทะเบียนพันธุ์ กรมวิชาการเกษตรและไม่ได้ผ่านการตรวจสอบหรือจดทะเบียนรับรองพันธุ์ข้าวจากกรมการข้าว
S__19628040 เสียงคัดค้านยังวิตกกังวลว่าจะนำข้าวหอมพวงนี้ไปผสมกับข้าวหอมมะลิ เพื่อขายในราคาข้าวหอมมะลิที่ได้ราคาสูงขึ้น แต่จะทำให้ตลาดข้าวหอมมะลิเสียหาย ซึ่งทั้งผู้ส่งออกและกรมการค้าต่างประเทศผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบมาตรฐานข้าวก่อนส่งออก ได้ให้คำยืนยันว่าไม่สามารถปลอมปนได้ โดยการส่งออกข้าวหอมมะลิไทยไปจำหน่ายในต่างประเทศ มีระบบการตรวจสอบที่เข้มงวดเป็นอย่างมาก หากข้าวหอมมะลิไทยไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดก็ไม่สามารถส่งออกได้
S__19628041 ปมประเด็นสำคัญของเรื่องนี้จึงอยู่ที่กรมการข้าว กรมวิชาการเกษตร ผู้ที่ดูแลรับผิดชอบในการพัฒนาพันธุ์ข้าวมากกว่า ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้ต้องคำนึงถึงทิศทางของตลาดข้าวในภาพรวมให้มากกว่าการยึดกรอบเดิมๆ โดยต้องพัฒนาสายพันธุ์คุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาด แทนการสกัดกั้นพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูงและเป็นที่ต้องการของตลาด เพราะการกระทำเช่นนี้เป็นการปิดกั้นโอกาสของชาวนาในการเพิ่มรายได้ให้กับพวกเขา ทั้งวงจรข้าวต้องคิดและทำงานร่วมกันทั้งระบบเพื่อข้าวและชาวนาไทยที่ 1 ของโลก อย่าปิดโอกาสชาวนาต่อไปอีกเลย

| บทบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3440 หน้า 6 ระหว่างวันที่ 31 ม.ค.-2 ก.พ.2562
595959859