กสิกรไทยจัดทัพคน-ดาต้า-พันธมิตร เสิร์ฟบริการตรงใจ

28 ม.ค. 2562 | 08:25 น.
กสิกรไทยประกาศพันธกิจสู่ธุรกิจแบงก์ยุคใหม่ จัดทัพคน-ดาต้า-พันธมิตร เสิร์ฟบริการตรงใจ

การต่อสู้ครั้งสำคัญ เมื่อลูกค้าและเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว กสิกรไทยประกาศพันธกิจสู่ธุรกิจแบงก์ยุคใหม่ ต้องแกร่งทั้งในประเทศ พร้อมขยายสู่ต่างประเทศ จัดทัพคน ไอที ดาต้าและพันธมิตร ให้บริการตรงใจ ไปทุกที่ที่ลูกค้าอยู่ หวังใช้ดาต้าช่วยปล่อยกู้ปีนี้ 30,000 ล้าน สินเชื่อรายย่อยโต 9-12% จับตาตลาด CCLMVI คาดรายได้ธุรกิจในต่างประเทศโตกว่า 8 เท่า ใน 3 ปีข้างหน้า

404D630E-EE6C-4A70-A6B5-AF349B673836 แกร่งในไทย ก้าวไกลข้ามเขตแดน เป็นหนึ่งในอาเซียน

นายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ในบริบททางเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมของธุรกิจที่ปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ภาคธนาคารต้องปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะด้านพฤติกรรมผู้บริโภคและเทคโนโลยี เห็นได้จากปริมาณธุรกรรมบนโลกดิจิทัลที่ขยายตัวต่อเนื่อง มีสัดส่วนประชากรที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ 82% ทำธุรกรรมบนโมบายแบงกิ้ง 74% และซื้อสินค้าออนไลน์ 48.5% ของประชากรไทยทั้งหมด

ภาคธนาคารไทยจึงเดินหน้าสู่การเป็นตัวกลางทางการเงินหลักที่มีประสิทธิภาพ ด้วยการร่วมมือสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินที่สำคัญ ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในประเทศไทย อาทิ โครงการพร้อมเพย์ที่มีผู้ลงทะเบียนแล้ว 46.5 ล้านไอดี มีปริมาณธุรกรรม 4.5 ล้านรายการต่อวัน การสร้างมาตรฐานคิวอาร์ โค้ด ระบบชำระเงินสำหรับประเทศไทยขึ้นเป็นครั้งแรก มีร้านค้าใช้งานคิวอาร์ โค้ด แล้ว 3 ล้านราย การขยายศักยภาพ ITMX ระบบกลางที่รองรับธุรกรรมข้ามธนาคารให้เป็น 1,000 รายการต่อวินาที และธนาคารสมาชิกจะเพิ่มความสามารถของระบบแต่ละธนาคารเป็น 2 เท่าภายในปีนี้ โครงการสนับสนุนการชำระเงินด้วยบัตรเดบิตแทนเงินสด ส่งผลให้ปัจจุบันมีผู้ถือบัตรเดบิตทั้งสิ้น 59 ล้านใบ มีเครื่องรูดบัตร (EDC) รวม 700,000 เครื่อง โครงการ TB-CERT เพื่อความมั่นคงและปลอดภัยของระบบไอทีของสถาบันการเงิน ปัจจุบันสมาชิก 23 องค์กรมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและฝึกซ้อมรับสถานการณ์ภัยไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง

ภายใน 2 ปีข้างหน้านี้ คนไทยจะได้รับบริการทางเงินใหม่ ๆ จากธนาคารไทย ที่เกิดจากความร่วมมือด้านโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง อาทิ การต่อยอดโครงการพร้อมเพย์จากการให้บริการคิวอาร์ โค้ด มาตรฐานไทยในประเทศ สู่การให้บริการ คิวอาร์ โค้ด มาตรฐานไทยในประเทศ CLMV+3 ที่จะทำให้ผู้ชำระเงินที่มีแอป โมบาย แบงกิ้ง ของธนาคารไทยทุกธนาคาร สามารถสแกนชำระเงินนอกประเทศได้ และบริการร้านค้าสแกนคิวอาร์ โค้ด ของลูกค้าผู้ชำระเงิน (B Scan C) ที่จะช่วยให้การชำระเงินสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

โครงการ Thailand Blockchain Community Initiative เริ่มให้บริการด้านหนังสือค้ำประกัน (Letter of Guarantee) โดยมีสถาบันการเงินทั้งไทยและต่างประเทศ 22 ธนาคาร กลุ่มภาคธุรกิจและรัฐวิสาหกิจ 7 กลุ่มเข้าร่วม คาดว่าในปีนี้จะมียอดธุรกรรมประมาณ 40,000 รายการ และจะมีหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาร่วมโครงการเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ยอดธุรกรรมในปีต่อไปเติบโตแบบก้าวกระโดด นอกจากนี้ จะมีการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนไปต่อยอดสู่บริการรับรองเอกสารทางการศึกษา (E-Transcript) ที่จะช่วยสร้างความมั่นใจ เพิ่มความสะดวก ให้แก่นิสิต นักศึกษาที่จบใหม่ รวมทั้งบุคคลที่ต้องการหาตำแหน่งงานและองค์กรที่กำลังเปิดรับบุคลากร

โครงการ National Digital ID (NDID) ที่ลูกค้าสามารถยืนยันตัวตนผ่านระบบออนไลน์ ช่วยให้เปิดบัญชีผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ทุกที่ทุกเวลา โดยไม่ต้องไปแสดงตนที่สาขา การขอสินเชื่อและการเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ทางออนไลน์ รวมทั้งโครงการเอทีเอ็มสีขาว (White-Label ATMs) ที่จะช่วยให้ธนาคารบริหารจัดการต้นทุนได้ดีขึ้น ตอกย้ำความก้าวหน้าของระบบธนาคารไทยที่อยู่ในระดับแนวหน้าของอาเซียน

นายปรีดี กล่าวเพิ่มเติมว่า ธนาคารของไทยได้ร่วมมือกันพัฒนาระบบและบริการเพื่อยกระดับการให้บริการของสถาบันการเงินในประเทศไทยให้อยู่ระดับแนวหน้าในอาเซียน หลายบริการได้พัฒนาเทียบเท่าประเทศชั้นนำของโลก นำไปสู่ประโยชน์สูงสุดของลูกค้า ซึ่งก็มีการปรับตัวเข้าสู่บริการในยุคดิจิทัลได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง และเอื้อให้เศรษฐกิจไทยก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างมั่นคงและยั่งยืนเช่นกัน

บาร์ไลน์ฐาน มหัศจรรย์บิ๊กดาต้า เจาะลึกแบบรู้ใจรายคน ดันปล่อยกู้ 3 หมื่นล้านบาท

นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า การที่เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าผนวกกับไลฟ์สไตล์ของลูกค้าที่ใช้ช่องทางดิจิทัลมากขึ้น ทำให้ปริมาณข้อมูลต่าง ๆ เพิ่มขึ้นมหาศาล การใช้ชีวิตของลูกค้าที่มีความหลากหลายมิติ และมีความต้องการที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น ธนาคารจึงเดินหน้าเพิ่มศักยภาพด้าน Analytics ในการแปลงข้อมูลมาเป็น insight เพื่อให้รู้ใจลูกค้ามากยิ่งขึ้น เพื่อเสนอบริการที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะบุคคล ดังนี้

สร้างประสบการณ์ที่สะดวกไร้รอยต่อ ทุกที่ ทุกเวลา (Frictionless, Anywhere, Anytime) ปัจจุบัน ลูกค้าใช้ชีวิตอยู่ในโลกดิจิทัลมากขึ้นบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ธนาคารกสิกรไทยจะตามเข้าไปดูแลลูกค้า เพื่อพร้อมตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ลูกค้าเรื่องการชำระเงินทุกที่ ทุกเวลา แบบไร้รอยต่อ การนำเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ผสานกับศักยภาพด้าน Data Analytics ช่วยปรับเปลี่ยนรูปแบบบริการให้ชีวิตลูกค้าง่ายกว่าเดิม เช่น เพียงแค่ใบหน้าก็สามารถเปิดบัญชีได้โดยไม่ต้องไปสาขา แค่ใช้เสียงก็สามารถจ่ายเงินได้โดยไม่ต้องพกกระเป๋าเงิน หรือการถอนเงินโดยไม่ต้องใช้บัตรหรือโทรศัพท์มือถือ

ตอบสนองลูกค้าได้เฉพาะเจาะจง และเข้าถึงทุกคน จากการที่รู้จักและเข้าใจลูกค้ามากขึ้น ทำให้ธนาคารเสนอบริการที่ตรงใจมากขึ้น และสามารถขยายการให้บริการไปสู่ฐานลูกค้าที่ใหญ่ขึ้นได้ โดยช่วยสร้างโอกาสในการเข้าถึงสินเชื่อให้กับลูกค้ากลุ่ม Unbanked และ Underbanked ที่มีการเดินบัญชีผ่านธนาคารน้อย หรือไม่มีหลักฐานแสดงรายได้ที่สม่ำเสมอ

บริการที่กระชับ อัตโนมัติ และใช้เอกสารน้อย การก้าวเข้าสู่การเป็น Data-Driven Bank อย่างเต็มตัว ทำให้ธนาคารสามารถลดต้นทุนการดำเนินงาน สามารถขยายบริการเพื่อรองรับลูกค้าได้รวดเร็ว และวงกว้างมากยิ่งขึ้น และช่วยลดภาระให้แก่ลูกค้าในการยื่นเอกสาร ลูกค้าจะได้รับความสะดวก ปลอดภัย

ธนาคารให้ความสำคัญสูงสุดต่อการรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูลลูกค้า โดยพนักงานทุกคนจะต้องถือปฏิบัติตามกฎระเบียบเรื่องนี้อย่างเคร่งครัด ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์จะไม่สามารถระบุตัวตนของลูกค้าได้ และธนาคารจะไม่มีการแชร์ข้อมูลลูกค้าโดยเด็ดขาด หากปราศจากการให้ความยินยอมของลูกค้า
เพื่อผลักดันให้ใช้ข้อมูลมาเป็นส่วนขับเคลื่อนการสร้างบริการที่เหนือความคาดหมายให้แก่ลูกค้า ธนาคารกสิกรไทยได้สร้างความพร้อมใน 4 ด้าน ได้แก่

ด้านข้อมูล ธนาคารมีข้อมูลพร้อมให้ทุกฝ่ายงานในองค์กรสามารถนำไปวิเคราะห์ประกอบการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น

ด้านเทคโนโลยี ได้เตรียมพร้อมเพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจอย่างก้าวกระโดด

ด้านบุคลากร ที่เป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนให้เกิดการสร้างคุณค่าทางธุรกิจจากข้อมูล (Data) ธนาคารได้พัฒนาศักยภาพด้าน Data Analytics ให้กระจายอยู่ในทุกส่วนของธนาคาร ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนาบุคลากรด้าน Business Analytics ไปแล้วกว่า 500 คน และ Machine Learning Analytics จำนวน 284 คน

ด้านวัฒนธรรมองค์กรแห่งการขับเคลื่อนด้วยข้อมูล เป็นการผสานความฉลาดของคนเข้ากับเทคโนโลยี (Augmented Intelligence) เพื่อไปสู่การเป็นธนาคารอัจฉริยะ (Cognitive Banking) และในด้านกระบวนการทำงาน ธนาคารได้มีการปรับโครงสร้างการทำงานภายใน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลและบริการลูกค้าให้ดียิ่งกว่าเดิม จึงปรับโครงสร้างเพื่อมุ่งเน้น 3 ด้าน ได้แก่ กลุ่มงานด้านการขายและบริการ ที่มุ่งตอบโจทย์ลูกค้าแบบรายบุคคล (Segment of One) กลุ่มงานยุทธศาสตร์ ที่มุ่งเน้นด้านการนำข้อมูลมาสร้างประโยชน์ให้แก่ธนาคาร และกลุ่มงานด้านผลิตภัณฑ์ ที่มุ่งนำเสนอนวัตกรรมบริการที่ตอบโจทย์ตรงใจ

ทั้งนี้ ธนาคารกสิกรไทยตั้งเป้าหมายปี 2562 ของ Data-Driven Lending เป็นวงเงิน 30,000 ล้านบาท พร้อมตั้งเป้าหมายการนำข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจจนสร้างรายได้มีสัดส่วนไม่ต่ำกว่า 50% ของรายได้ทั้งหมด

โปรโมทแทรกอีบุ๊ก
ตั้งเป้ารายได้ธุรกิจในต่างประเทศ โตกว่า 8 เท่าใน 3 ปีภายใต้เศรษฐกิจผสานมิติ

นายพิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า มีความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นในโลกตลอดเวลาและยากจะคาดเดา เช่น การเกิดสงครามการค้า ดิจิทัลเทคโนโลยีที่มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค เป็นต้น เกิดเป็นความท้าทายที่สั่นสะเทือนธุรกิจให้ต้องปรับมุมมองความคิดและกล้าที่จะเปลี่ยนเพื่อความอยู่รอดในยุคที่เรียกว่า “เศรษฐกิจผสานมิติ (Augmented Economy)” คือ เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยดิจิทัลเทคโนโลยีมีการเชื่อมต่อโลกออนไลน์และออฟไลน์อย่างผสมผสานกลมกลืน ทุกธุรกิจจะอยู่รอดได้ต้องใช้ทักษะความชำนาญที่มีบวกกับการนำดิจิทัลเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเข้าถึงลูกค้าให้ได้มากที่สุด

“ภายใต้เศรษฐกิจผสานมิติ” ธนาคารกสิกรไทยจึงปรับกระบวนทัศน์ในการทำธุรกิจเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและเติบโตอย่างก้าวกระโดด พร้อมผลักดันธุรกิจไทยสู่ต่างประเทศและเชื่อมโยงการค้าตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงผู้บริโภครายย่อย ด้วยแนวคิด 3 ด้าน ได้แก่ Beyond Frontier คือ มองถึงโอกาสในตลาดภูมิภาค โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ CCLMVI (จีน กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม และอินโดนีเซีย) ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพสูง ด้วยขนาดเศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง คาดว่าภายในปี 2573 กลุ่มประเทศ CCLMVI จะมีจีดีพีรวมอยู่ที่ 28.64 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ใหญ่กว่าเศรษฐกิจไทยถึง 41 เท่า และมีประชากรรวมมากกว่าไทยถึง 28 เท่า Beyond Banking มองโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นและวางเป้าหมายที่จะอยู่ในทุก ๆ ช่องทางที่ลูกค้าใช้ชีวิต Beyond Competition คือ มองหาโอกาสร่วมมือกับพันธมิตรใหม่ ๆ ทั้งฟินเทค สตาร์ทอัพ ข้ามประเทศ ข้ามอุตสาหกรรม เพื่อยกระดับการให้บริการของธนาคารและเสริมศักยภาพให้ธุรกิจไทยสามารถเข้าสู่ตลาด CCLMVI ได้

KVision คือ บริษัทของธนาคารกสิกรไทยที่ตั้งขึ้นมาเพื่อแสวงหาเทคโนโลยีและลงทุนในฟินเทค หรือ สตาร์ทอัพ ด้วยเงินลงทุนกว่า 8 พันล้านบาท โดย KVision ได้จัดตั้ง Innovation Lab ขึ้น ใน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อิสราเอล จีน อินโดนีเซีย และเวียดนาม เพื่อเฟ้นหา Innovation, Tech Partner, และ Tech Talent ใหม่ ๆ เพื่อนำมาสนับสนุนการพัฒนาบริการของธนาคารใน CCLMVI ควบคู่กับแสวงหาเทคโนโลยีที่ช่วยต่อยอดธุรกิจให้ลูกค้าไทยเข้าสู่ตลาดใหม่ที่ไร้พรมแดน

ในปีนี้ธนาคารกสิกรไทยจะเชื่อมโยงลูกค้าให้เข้าถึงผู้บริโภคใน CCLMVI ได้ด้วยการนำเสนอ 3 กลยุทธ์สำคัญ ได้แก่ 1)ให้คำแนะนำและเชื่อมโยงพันธมิตรในท้องถิ่น (Local Partnership & Insight) ให้กับลูกค้าจากช่องทางและพันธมิตรที่มีอยู่ครบทุกประเทศ ทำให้เข้าใจบริบทของการทำธุรกิจในแต่ละประเทศ 2)ให้บริการทางการเงินเพื่อเชื่อมโยงการค้าระหว่างลูกค้ากับคู่ค้า (Cross-Border Value Chain Solution) ในต้นปีนี้ธนาคารจะเริ่มให้บริการ Solution ดังกล่าวในลาวและกัมพูชาก่อน โดยการนำระบบดิจิทัลเข้ามาช่วยให้การชำระค่าสินค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเกิดความคล่องตัวยิ่งขึ้น สามารถเก็บข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3) สร้างแพลตฟอร์มการชำระเงินแห่งภูมิภาค (Single Regional Payment Platform) เพื่อสร้างความสะดวกสบายและเข้าถึงผู้บริโภครายย่อยในภูมิภาคผ่านแพลตฟอร์มของธนาคาร โดยปัจจุบันธนาคารได้เริ่มแผนการดังกล่าวจากโครงการ “QR KBank” แอปฯ กระเป๋าเงินออนไลน์สำหรับชาวเวียงจันทน์ใน สปป.ลาว ให้สามารถเข้าถึงบริการ 090861-1927-9-335x503-8-335x503-9-2-335x503