ห่วงไม่มีตลาด ... 3 ปีกว่าจะเก็บเกี่ยวได้

27 ม.ค. 2562 | 05:57 น.
S__22642693
นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"
ว่า เกษตรกรที่จะ "ปลูกโกโก้" นั้น ควรจะพิจารณา 'ตลาด' เป็นลำดับแรก ว่า มีตลาดรับซื้อหรือไม่ เพราะโกโก้เป็นพืชที่มีตลาดเฉพาะ เช่น อุตสาหกรรมและเครื่องดื่มเท่านั้น ซึ่งสายพันธ์ที่นิยมในไทยจะมี 2 สายพันธุ์ ได้แก่ 1.พันธุ์ชุมพร 1 ให้ผลผลิตและคุณภาพของเมล็ดดี เหมาะสมกับพื้นที่ปลูกทางภาคใต้ และ 2.พันธุ์ I.M.1 เป็นพันธุ์เจริญเติบโตเร็ว ให้ผลผลิตสูง ทนแล้ง ให้กลิ่นหอมเมื่อแปรรูป


cocoa-1529746_1920

ทั้งนี้ ปลูกได้ในเขตร้อนชื้น มีปริมาณฝนตกชุก เหมาะกับการปลูกเป็นพืชแซม หรือ พืชเสริมรายได้ เพราะชอบร่มเงาและต้องการความชื้นสูง เมื่ออายุ 3 ปี เริ่มให้ผลผลิตและเก็บเกี่ยวได้อย่างต่อเนื่อง ทุก ๆ 15 วัน จนถึงอายุต้น 30 ปี ผลแก่จัดจะกลายเป็นสีเหลืองหรือเหลืองอมแดงเข้ม แล้วแต่พันธุ์ สามารถจำหน่ายผลสด หรือ นำเมล็ดมาหมักทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ แล้วตากแห้ง ลดความชื้น จะได้เมล็ดโกโก้เพื่อนำไปคั่วต่อไป


cocoa-beans-499970_1920

นายสำราญ กล่าวว่า ไทยปลูกโกโก้ได้ดีเกือบทุกภาค พื้นที่ปลูกรวม 5464.10 ไร่ พื้นที่เก็บเกี่ยว 4090.36 ไร่ เกษตรกร 979 ครัวเรือน ปลูกมากที่สุดในภาคเหนือ 3955.30 ไร่ รองมาภาคตะวันออก 486.48 ไร่ ภาคตะวันตก 375.88 ไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 255.96 ไร่ ภาคใต้ 250.65 ไร่ ภาคกลาง 39.84 ไร่ ตามลำดับ จังหวัดที่ปลูกมากที่สุด คือ จ.น่าน 2215.44 ไร่ รองลงมาเชียงราย 648.44 ไร่ จันทบุรี 471.73 ไร่ ลำปาง 365.17 ไร่ ประจวบคีรีขันธ์ 341.51 ไร่ ตาก 293.33 ไร่ นครศรีธรรมราช 145.13 ไร่ เชียงใหม่ 122.18 ไร่ ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ยืนยันว่า "ไม่ไห้ห้าม" แต่อยากให้เกษตรกรพิจารณาข้อมูลตลาด วิเคราะห์ให้รอบคอบก่อนการตัดสินใจปลูก


กฤษฎา33-503x278 (1)

อนึ่ง ก่อนหน้านั้น ปลายเดือน พ.ย. 2561 ที่ผ่านมา นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า จากการได้ติดตามสถานการณ์พืชผลทางการเกษตร ทราบว่า ขณะนี้ตลาดภายในประเทศและตลาดโลกมีความต้องการ (Demand) ผลผลิตโกโก้มากขึ้น ประกอบกับในประเทศไทยมีเกษตรกรเริ่มให้ความสนใจปลูกโกโก้กันมากขึ้นด้วย เพราะราคาซื้อขายค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับพืชอื่น ๆ ขณะเดียวกัน กระทรวงได้กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำไว้ประการหนึ่ง ด้วยการลดการผลิตยางพาราให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ทั้งภายในและตลาดต่างประเทศ ด้วยการปลูกพืชอื่นทดแทน


fruit-3892219_1920

ดังนั้น เพื่อเป็นการวางแผนการผลิตตามความต้องการของตลาด ซึ่งเป็นแนวทางการปฎิรูปภาคการเกษตรที่ กษ. ได้เริ่มดำเนินการไปบ้างแล้ว เช่น โครงการข้าวครบวรจร โครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์หลังฤดูการทำนา เป็นต้น จึงขอให้ปลัดเกษตรแต่งตั้งคณะทำงานศึกษาเพื่อสนับสนุนการปลูกโกโก้ทดแทนสวนยางที่มีอายุเกิน 25 ปี หรือ สวนยางที่ให้น้ำยางน้อย ไม่คุ้มทุนการผลิต โดยให้พิจารณาแต่งตั้งคณะทำงาน ซึ่งอาจประกอบด้วย ข้าราชการจากกรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการกรมพัฒนาที่ดิน สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) และสถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง ฯลฯ


cocoa-728207_1920

ตามความเหมาะสม เพื่อทำหน้าที่ศึกษาข้อมูลด้านการตลาด ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ของพืชโกโก้ ว่า มีแนวโน้มความต้องการมากน้อยเพียงใด และศึกษาสภาพพื้นที่ ๆ จะใช้ทำการเพาะปลูกโกโก้ตามคุณภาพดิน (Zoning by Agri-Map) ว่า พื้นที่ภูมิภาคใดของประเทศไทยที่มีความเหมาะสมกับการปลูกพืชดังกล่าว และจะสามารถสนับสนุนให้ปลูกในพื้นที่สวนยางทดแทนยางเก่า หรือ ปลูกแซมในสวนยางได้หรือไม่ อย่างไร หากผลการศึกษาปรากฎว่า พื้นที่ประเทศไทยมีความเหมาะสมในการปลูกและผลิตโกโก้ รวมทั้งให้ผลตอบแทนคุ้มทุนในเชิงเศรษฐศาสตร์ด้วยแล้ว ให้เร่งรัดจัดทำแผนการผลิต (Agriculture Production Plan) โกโก้ ทั้งนี้ อาจใช้โครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังนามาใช้เป็นต้นแบบ (Model) ในการวางแผนการผลิตโกโก้ในครั้งนี้ก็ได้

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว