'พลังงาน' เร่งเคลียร์ ส.อ.ท. แจงร่างแผน 'พีดีพี' มีปัญหา

17 ม.ค. 2562 | 11:05 น.
นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานสั่งการให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เร่งทำความเข้าใจสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ถึงข้อกังวลของกลุ่ม ส.อ.ท. ต่อนโยบายการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนของภาครัฐตามแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ (พีดีพี) ฉบับใหม่ เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น ก่อนที่จะนำเรื่องดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในวันที่ 24 ม.ค. นี้

 

[caption id="attachment_376027" align="aligncenter" width="503"] นายกุลิศ สมบัติศิริ นายกุลิศ สมบัติศิริ[/caption]

โดยที่ผ่านมา ทาง ส.อ.ท. ได้ขอให้กระทรวงพลังงานทบทวนร่างแผนพีดีพีฉบับใหม่ โดยเห็นว่า การคาดการณ์ความต้องการกำลังการผลิตไฟฟ้าเกิดความผิดพลาด ไม่ว่าจะเป็น ความต้องการไฟฟ้าสูงสุดในระบบของการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง (กฟผ. - กฟน. - กฟภ.) ที่ไม่ได้รวม Captive Power ของ IPS หรือ กำลังการผลิตของโรงไฟฟ้ารายย่อยที่ผลิตไฟฟ้าเอง ทำให้แผนการจัดสรรไฟฟ้าไม่ครอบคลุมถึงความต้องการใช้ไฟฟ้าจริงทั้งหมดของประเทศ ทั้งที่ผู้ผลิตไฟฟ้ารายย่อย IPS ที่สามารถผลิตไฟฟ้าด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่ากำลังมีการขยายตัวตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในอนาคตอันใกล้ ซึ่งจะมีผลต่อการคาดการณ์ความต้องการกำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ

รวมถึงวิธีการคำนวณกำลังผลิตไฟฟ้าที่เชื่อถือได้ (Reliable Capacity) โดยใช้สูตร Reliable Capacity = Available Capacity - ความเสี่ยงของโอกาสที่โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ในแต่ละภาคหยุดเดินเครื่อง ซึ่งในร่างแผนพีดีพี ฉบับใหม่ใช้สูตร Reliable Capacity = Available Capacity X 85% หากคิดเป็นค่าความเสี่ยงของโอกาสที่โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ในแต่ละภาคหยุดเดินเครื่องพร้อมกันหมดเท่ากับ 15% หรือคิดเป็นจำนวนสูงถึง 6,094.95 เมกะวัตต์ (รวมกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน 769.35 เมกะวัตต์)


bpk[1]

ดังนั้น การคำนวณกำลังการผลิตสำรองในแผนพีดีพี ที่เหมาะสมควรใช้ตัวเลขกำลังการผลิตไฟฟ้าที่พึ่งพาได้ทั้งหมดของระบบ (Total Aependable Capacity) มาใช้ จะสามารถสะท้อนกำลังผลิตสำรองที่แท้จริงของระบบไฟฟ้าได้โดยไม่จำเป็นต้องจัดสรรกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่ม และหากนำตัวเลขของกำลังการผลิตที่เชื่อถือได้ (Reliable Capacity) มาใช้ในการคำนวณข้างต้น ระบบไฟฟ้าของประเทศที่มีกำลังการผลิตไฟฟ้าที่พึ่งพิงได้ทั้งหมดสามารถรองรับการหลุดออกจากระบบหรือการหยุดเดินเครื่องของโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ (ในแต่ละภาค) ได้พร้อม ๆ กันถึง 6,094.95 เมกะวัตต์)

อีกทั้ง กำลังผลิตไฟฟ้าที่เชื่อถือได้ (Reliable Capacity) ของพลังงานหมุนเวียน ปัจจุบัน กระทรวงพลังงานมีการดำเนินโครงการ SPP Hybrid Firm, การรับซื้อไฟฟ้า VSPP แบบ Semifirm ในอนาคต ส่งผลให้โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน สามารถจ่ายไฟฟ้าเทียบเท่ากับโรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล หากมีการปรับสมมุติฐานของอัตราส่วนร้อยละของ Dependable Capacity ใหม่จะส่งผลให้กำลังผลิตไฟฟ้าที่เชื่อถือได้เพิ่มขึ้นเป็น 17,640 เมกะวัตต์ จากแผน 10,000 เมกะวัตต์ ซึ่งจะทำให้ตัวเลขกำลังผลิตไฟฟ้าที่เชื่อถือได้ของประเทศจะเพิ่มขึ้นถึง 7,640 เมกะวัตต์ สามารถลดสัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิลลงได้

 

[caption id="attachment_376030" align="aligncenter" width="503"] DCIM/PANORAMA/100_0232/DJI DCIM/PANORAMA/100_0232/DJI[/caption]

นายกุลิศ กล่าวอีกว่า ส่วนการพิจารณาต่อสัญญาอายุโรงไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP) กลุ่ม Cogeneration ที่จะสิ้นสุดสัญญาในช่วงปี 2560-2568 นั้น ในการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 16 ม.ค. ที่ผ่านมา หารือกันแต่ยังไม่ได้ข้อสรุป

โดยโรงไฟฟ้า SPP ระบบ Cogeneration ซึ่งจะสิ้นสุดอายุสัญญาซื้อขายไฟฟ้า มีทั้งสิ้น 25 ราย คิดเป็นปริมาณสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากว่า 1,700 เมกะวัตต์ ซึ่งที่ผ่านมาคณะกรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้มีมติไปเมื่อปี 2559 เห็นชอบแนวทางสนับสนุน SPP-Cogeneration โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 : SPP-Cogeneration ที่จะสิ้นสุดอายุสัญญาภายในปี 2560–2561 (ต่ออายุสัญญา) ให้มีระยะเวลาสัญญา 3 ปี ปริมาณรับซื้อไม่เกิน 60 เมกะวัตต์ และไม่เกินกว่าปริมาณขายไฟฟ้าตามสัญญาเดิม ราคารับซื้อไฟฟ้า และกลุ่มที่ 2 : SPP-Cogeneration ที่จะสิ้นสุดอายุสัญญาภายในปี 2562–2568 (ก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่) ให้มีระยะเวลาสัญญา 25 ปี ปริมาณรับซื้อไม่เกิน 30 เมกะวัตต์ และไม่เกิน 30%

595959859