กมธ. ปัดล็อบบี้โหวตผ่าน "ร่างกฎหมายข้าว" เรียกชี้แจง!!

02 ม.ค. 2562 | 05:21 น.
เผือกร้อนข้ามปี! ร่างกฎหมายข้าว "โรงสี-ชาวนา" พิงหลังสู้ เล็งงัดเหตุผลร้อยแปดแจง กมธ. 3 ม.ค. หวังฟังเหตุผล อีกด้าน ผวาเป็นแค่ตรายาง แต่ยังย้ำจุดยืน! หวั่นเป็นอุปสรรคมากกว่าผลดี 'กิตติศักดิ์' ขอบคุณ "บิ๊กตู่" แทนพี่น้องชาวนา 14 ล้านคน

49461810_2009281872480891_4361345062076940288_n
ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ลงมติในวาระที่ 1 (25 ธ.ค. 61) รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติข้าว พ.ศ. .... ไว้พิจารณา ด้วยคะแนนเสียง เห็นด้วย 131 เสียง, ไม่เห็นด้วย 2 เสียง, งดออกเสียง 11 เสียง แล้วมีการตั้งกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา จำนวน 17 คน โดยมี พล.อ.มารุต ปัชโชตะสิงห์ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติข้าว พ.ศ. .... สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งมีกำหนดแปรญัตติภายใน 15 วัน ระยะเวลาการดำเนินงาน 45 วันนั้น ล่าสุด ทางคณะกรรมาธิการฯ มีหนังสือด่วนที่สุด เลขที่ สว (สนช)(กมธ 1) 0009/7381 เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้เสียให้เข้าร่วมประชุมเพื่อให้ข้อมูลและแสดงความคิดเห็นต่อพระราชบัญญัติดังกล่าว


2E3C3E9B-C8E6-461C-A289-202771A718C7

นายสุเทพ คงมาก นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ผมไม่เห็นด้วยเลยทั้งร่าง พ.ร.บ.ฉบับฯ นี้ ผมจะถามตรงเลยในที่ประชุมวันพรุ่งนี้ (3 ม.ค. 61) ว่า มีมาตราไหนที่ทำให้ชาวนาขายข้าวได้ราคาดีขึ้น มีชีวิตที่ดีขึ้น มีไหม ส่วนตัวคิดว่า "ไม่มีเลย" ไม่มีอะไรที่จะทำให้ชาวนามีชีวิตที่ดีขึ้น แม้กระทั่งราคาแนะนำ ใครจะไปตั้งราคาได้ ไม่มีใครซื้อข้าวได้ จะต้องให้รัฐบาลออกมาซื้อหรือไม่ จะไปบังคับให้ซื้อตามได้อย่างไร ปัจจุบัน กระทรวงพาณิชย์ก็มีราคากลางทุกวันในการซื้อขายข้าวเปลือก แต่ก็ทำไม่ได้ ต้องเป็นไปตามราคาตลาด และความต้องการของผู้ซื้อในภูมิภาคต่าง ๆ ของตลาดผู้ซื้อ รวมทั้งค่าขนส่งและปัจจัยอื่น ๆ ในประเด็นของผม จะถามแรง ๆ ว่า เข้าใจเรื่งของ "ข้าว" หรือไม่




Thai rice is loaded into a truck in Suphan Buri province, about 105 km (65.2 miles) north of Bangkok, March 24, 2008. Thai rice farmers are guarding paddy fields and hurrying to bring in their crops after a granary theft last week fuelled rumours of bandits lured by surging rice prices, officials said on Monday. Reports of widespread paddy theft, although unsubstantiated by police, spread quickly after the theft of 100 kg (220 lb) of premium quality fragrant rice from a farmer

"ร่างกฎหมายฉบับ สนช. เป็นแค่ "ร่างกฎหมายข้าวกับชาวนา" เท่านั้น เพราะคำว่า "ข้าว" อย่างเดียวรู้จักหรือไม่ ต้องตีโจทย์ให้แตกว่า ข้าวคืออะไร ตั้งแต่ "ข้าวเปลือก" "ข้าวสาร" "ข้าวบริโภคในประเทศ" เป็นกฎหมายที่ต้องมีหลายมาตรา การจัดการข้าวจะทำอย่างไรให้มีความมั่นคง เพราะแค่ร่างกฎหมายแค่นี้ผมไม่เชื่อว่าจะทำให้เกิดความมั่นคงได้ แล้วจะให้กรมการข้าวเป็นเลขานุการ ผมไม่เชื่อว่าจะทำได้ และที่สำคัญ ผมถาม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตรง ๆ เลย ว่า มีความคิดแค่นี้เองหรือ? แล้วคำว่า "ข้าว" ในกฎหมายนี้ คือ อะไร คิดแค่นี้เองหรือ หากเป็นกฎหมายจริงต้องเชื่อมโยงตลาด เชื่อมในทุกมิติ จะแจงอย่างละเอียดยิบเลย ไม่ใช่แค่นี้!"


TP8-3388-A

นายสุเทพ กล่าวว่า การที่โรงสีซื้อข้าวเปลือกในราคาต่ำ ไม่ใช่ว่าจะไปกดราคาชาวนา จะต้องมีหลายองค์ประกอบ หลายปัจจัย ทั้งความชื้น สิ่งเจือปน และอื่น ๆ เพราะฉะนั้น โรงสีหรือผู้ขาย ถ้าชาวนาไม่ชอบใจโรงสีนี้ ก็สามารถเลือกที่ขายโรงสีอื่นได้ มีทางเลือกมากมาย โดยทางสมาคมพลิกวิกฤติโดยการทำธุรกิจแนวใหม่ ผสานโรงสีและผู้ส่งออก ในเรื่อง "ห่วงโซ่ข้าวคุณธรรม" แม้กระทั่ง "แผนข้าวครบวงจร" หรือ "นาแปลงใหญ่" ของรัฐคงไม่เกิด ถ้าไม่ได้สมาคมขับเคลื่อนนโยบายฯ


609257466-351x503

เช่นเดียวกับ นายเกรียงศักดิ์ ตาปนานนท์ นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย กล่าวว่า ในวันพรุ่งนี้ สิ่งที่จะถามในคณะกรรมาธิการ (กมธ.) เพราะผมไม่เข้าใจสิ่งที่เจ้าของร่างกฎหมายคิด กับสิ่งที่เขียนออกมาเป็นร่างกฎหมาย คิดอย่างไร คืออะไร ความหมายคืออะไร ต้องบันทึกไว้ในที่ประชุมเลย เพราะถ้าคิดว่าชาวนาถูกโรงสีเอาเปรียบ ก็ใช้ประกาศราคาทั้งประเทศ ทั้งราคาข้าวเปลือกและข้าวสาร แล้วถ้ากำหนดการรับซื้อไปแล้ว ขายไม่ได้แล้ว จะมีคนซื้อตามประกาศหรือไม่ อีกด้าน การไปกำหนดการซื้อข้าว ไปบังคับใครไม่ได้เลย ว่า จะซื้อถูกหรือแพง เพราะหากใช้คำว่า "ราคาแนะนำ" เหมือนอย่างกระทรวงพาณิชย์ แต่ไม่บังคับ ไม่ระบุโทษ อาจจะต่างจากราคาแนะนำกฎหมายข้าวหรือไม่ ผมไม่เข้าใจ


rice

"ราคาแนะนำ" ใช้หลักอะไรมาคิดคำนวณ เพราะถ้าแนะนำแล้วทำไม่ได้ ก็อาจจะไม่ทำ เพราะซื้อสูงได้ แต่ซื้อต่ำไม่ได้ สุดท้ายไปแนะนำ หาคนซื้อแพงไม่ได้ ต้องซื้อถูกกว่านี้ แล้วจะทำอย่างไร คนซื้อบอกไม่ดี ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ สุดท้ายผลลัพธ์จะตกอยู่กับชาวนา "ข้าว" ไม่ใช่สินค้าควบคุม แต่คุณจะไปควบคุม เพราะถ้าทำจริงอุตสาหกรรมพัง!


ชาวนา-503x336

นายเกรียงศักดิ์ กล่าวว่า สิ่งที่กังวลและเป็นความยุ่งยากมากในการค้าข้าว โดยเฉพาะหลักฐานใบรับซื้อข้าว หรือ "ใบเสร็จ" ง่ายที่จะเกิดข้อผิดพลาดในทางปฏิบัติของผู้ประกอบการค้าข้าวเปลือก ในมาตรา 20 เพื่อประโยชน์ในการจัดทำฐานข้อมูลและเพื่อประโยชน์ในการขอรับการส่งเสริมจากภาครัฐ ให้ผู้รับซื้อข้าวเปลือกออกใบรับซื้อข้าวเปลือกทุกครั้ง เพื่อเป็นหลักฐานในการรับซื้อข้าวเปลือก ทั้งนี้ ใบรับซื้อข้าวเปลือกต้องมีรายละเอียดตามที่อธิบดี โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี ประกาศกำหนด ผู้รับซื้อข้าวเปลือกต้องเก็บรักษาหลักฐานการออกใบรับซื้อข้าวเปลือกที่ได้ออกไปแล้ว ตามเวลาที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการบัญชี มาตรา 33 ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ออกใบรับซื้อข้าวเปลือกให้ชาวนามาตรา 20 หรือ จัดทำใบรับซื้อข้าวเปลือกด้วยการแสดงข้อความที่เป็นเท็จ หรือ ไม่ตรงกับความเป็นจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


TP7-3397-A-404x503

"ต้องตีโจทย์ให้แตก ปัญหาบ้านเรามีสารพัดพันธุ์ข้าว เพราะบางทีคนปลูกยังไม่รู้เลยว่า "ปลูกข้าวพันธุ์อะไร" เวลาซื้อจะต้องถามว่า "ข้าวพันธุ์อะไร" แล้วถ้าบอกพันธุ์นี้มา แล้วไม่ใช่ ไม่เชื่อชาวนา ก็ทะเลาะกันอีก แล้วถ้าเชื่อพันธุ์ตามที่ชาวนาบอก แล้วถ้าไม่ใช่ขึ้นมา ภายหลังจะเป็นอย่างไร ไม่เข้าใจว่า "เก็บไปทำไม" ยอมรับว่า ในเนื้อหาร่างกฎหมายข้าวล่าสุดมีการปรับแก้ไปบางส่วนจริง ว่า มีการตัดประเด็นข้อท้วงติงไปมาก"


62107-503x377

แต่เสียดายร่างกฎหมายฉบับนี้ ที่ออกมาแล้วไม่ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่การค้าข้าว เน้นแต่โรงสีกับผู้รับซื้อข้าวเปลือกและมีบทกำหนด บทโทษ อ่านแล้วเสมือน พ.ร.บ.ฯ นี้ ต้องการแค่ข้อมูล แล้วหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีหลาย ๆ หน่วยงานอยู่แล้วที่ทำเรื่องข้าว ตรงนี้ขาดการบูรณาการหรือไม่ ไปขอหน่วยงานใดก็ไม่ให้ จึงต้องมีกฎหมายออกมา ไม่สมควร! ที่จะต้องกำหนดลงโทษ จึงทำให้กฎหมายฉบับนี้ไม่ใช่อย่างที่เขียนไว้ในบทนำเลย"


16313-503x335

ด้าน นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในฐานะผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติข้าว พ.ศ. …. กล่าวขอบคุณ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แทนพี่น้องชาวนาทั้งประเทศ 14 ล้านคน พระราชบัญญัติข้าว พ.ศ. .... เข้าสภารับหลักการวาระที่ 1 ตั้งกรรมาธิการ กราบขอบพระคุณท่านมาด้วย ณ โอกาสนี้

อนึ่ง สาระสำคัญร่างพระราชบัญญัติข้าว พ.ศ. .... แบ่งเป็น 6 หมวด 37 มาตรา กำหนดให้ร่างพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 120 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ร่างมาตรา 2) กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รักษาการตามพระราชบัญญัตนี้ และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่กับออกระเบียบและประกาศ เพื่อปฎิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ (ร่างมาตรา 5)


rice3-503x335

กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ที่มีองค์ประกอบจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตข้าว (ร่างมาตรา 6) โดยมีหน้าที่จัดทำแผนนโยบายยุทธศาสตร์ข้าวให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ (ร่างมาตรา 12) ทำให้แผนนโยบายบริหารจัดการการผลิตข้าวของประเทศมีความต่อเนื่องและนำไปสู่การปฏิบัติจริง เกิดประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรม คณะทำงาน เพื่อดำเนินงานตามพระราชบัญญัตินี้


ดาวน์โหลด

ให้กรมการข้าวทำหน้าที่และอำนาจ (ร่างมาตรา 15) ปฏิบัติงานธุรการสนับสนุนเลขานุการคณะกรรมการข้าว (ภาคการผลิต) ซึ่งไม่เป็นการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นใหม่ แต่ได้มีการกำหนดไว้ในบทเฉพาะกาล ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ปรับปรุงโครงสร้างของกรมการข้าวและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัตินี้ให้เกิดประสิทธิภาพ (ร่างมาตรา 36)

คลิกอ่านร่างพระราชบัญญัติข้าว พ.ศ. ... (ฉบับเต็ม) ที่จะพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมาธิการ วันที่ 3 ม.ค. 2562 (2018_12_27_15_14_22)

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว