'อดิศร' ตอกกลับ! เรือ 2 สัญชาติ ปัญหาหลักของ IUU

20 ธ.ค. 2561 | 04:36 น.
จากกระแสข่าว "การบังคับให้เลือกสัญชาติว่าจะเป็นเรือประมงหาปลาเมืองไทย หรือ เรือต่างประเทศ" นั้น ไม่น่าจะเกิดขึ้น เพราะถ้าประเทศไทยหรือประเทศใดก็ตามรู้ว่าเรือลำใดมีการดำเนินการเป็น "เรือ 2 สัญชาติ" เรือลำนั้นต้องเป็น "เรือไร้สัญชาติ" และเป็น "เรือ IUU" ในกรณีเรือประมง ซึ่งต้องมีการดำเนินการตามกฎหมาย ไม่ว่าจะมีพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 หรือไม่ก็ตาม

48376137_1892334574217461_2915091868272295936_n
นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ "เรือ 2 สัญชาติ" ว่า มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะเป็นตัวชี้วัดว่า "ประเทศเป็น IUU หรือไม่" เนื่องจากเป็นการบ่งบอกถึงความรับผิดชอบรัฐในการที่จะควบคุมเรือประมงที่ถือสัญชาติของตน โดยการเรียกร้องให้มีความรับผิดชอบทั้งทางตรงและทางอ้อม อาทิ ในกรณีที่เรือประมงเวียดนามลุกล้ำเข้ามาทำการประมงในน่านน้ำไทย กรมประมงได้ทำหนังสือแจ้งเวียดนามให้ดำเนินการควบคุมไม่ให้เรือประมงสัญชาติเวียดนามเข้ามาทำการประมงในน่านน้ำไทย หรือ กรณีที่ประเทศมาเลเชียลงข่าวใน INFOFISH Trade News เมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2561 จากการที่เรือประมงต่างชาติที่ลักลอบเข้าไปทำการประมงในน่านน้ำมาเลเชีย ซึ่งทำให้มีการสูญเสียเงินถึง 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และสำหรับ "เรือประมงสัญชาติไทย"

กรมประมงพยายามที่จะกำหนดมาตรการในการควบคุมเรือประมงให้น้อยที่สุด โดยควบคุมเฉพาะเรือประมงที่มีขนาดมากกว่า 30 ตันกรอส (ประมาณร้อยละ 14 ของเรือประมงสัญชาติไทยทั้งหมด) ที่ถูกควบคุมอย่างเข้มงวด เนื่องจากเป็นเรือที่มีขีดความสามารถออกไปทำการประมงได้ไกลฝั่ง และภายใต้ "มาตรการรัฐเจ้าของท่าเรือ" (The Agreement on Port State Measures : PSMA) ที่ประเทศไทยได้มีการให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2559 กำหนดให้ "รัฐเจ้าของท่า" ต้องมีการตรวจสอบเรือประมงต่างประเทศที่เข้ามาดำเนินการขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือ ดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ ใดในเขตน่านน้ำของตน เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า เรือประมง หรือ เรือขนถ่ายสัตว์น้ำดังกล่าว มีความถูกต้องและไม่นำสัตว์น้ำที่ทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเข้ามาในราชอาณาจักร


Appboat

ในปัจจุบัน ประเทศไทยมี "เรือประมง หรือ เรือขนถ่ายสัตว์น้ำต่างประเทศ" เข้ามาเทียบท่าประมาณ 10,000 ลำ/ปี โดยเป็นเรือสัญชาติพม่า กัมพูชา เกาหลี ไต้หวัน ญี่ปุ่น ปานามา รวมทั้งมาเลเชียด้วย ซึ่งในการเข้าเทียบท่าจะมีการตรวจสอบความถูกต้องกับ "รัฐเจ้าของธง" โดยเฉพาะกรณีมาเลเชีย ทางการมาเลเชียขอให้ประเทศไทยช่วยตรวจสอบกรณี "เรือประมงสัญชาติมาเลเชีย" จะเทียบท่า ณ รัฐต่างประเทศ ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมประมงของมาเลยเชียก่อน โดยแจ้งว่าเป็นกฎหมายภายในของมาเลเชีย การที่เรือประมง หรือ เรือใด ๆ ก็ตาม จะเดินทางไปไหนได้หรือไม่ได้เป็นความรับผิดชอบของ "รัฐเจ้าของธง" เป็นหลัก และการเดินทางในพื้นที่นอกทะเลอาณาเขตและการเข้าเทียบท่าเป็นสิทธิเสรีภาพที่ดำเนินการได้ตามกฎหมายสากลอยู่แล้ว


40159429_1743164872467766_7228348934609960960_n 40242579_1743165162467737_6198958630830604288_n

นายอดิศร กล่าวว่า การดำเนินการในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลพยายามอย่างยิ่งในการกอบกู้ "ภาพลักษณ์ของประเทศไทย" ในฐานะ "รัฐที่มีความรับผิดชอบ" และให้ความร่วมมือระหว่าง "รัฐ" โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ แต่จากการที่กฎกติกาสากลหรือกฎระเบียบภายในของแต่ละประเทศที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา อาจจะก่อให้เกิดความไม่เข้าใจ ความสับสน จึงอยากขอความกรุณาจากทุกท่านหากมีประเด็นใดที่สงสัย ไม่แน่ใจ กรุณาสอบถามจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือกรมประมงได้ตลอดเวลา เพื่อให้เกิดการดำเนินการที่ถูกต้องตามกฎหมาย และสำหรับข่าวสารใด ๆ ก่อนที่จะมีการนำไปสื่อสารหรือเผยแพร่ รบกวนพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะหากมีผู้ไม่หวังดีนำประเด็นที่มี "ผลต่อภาพลักษณ์" ออกไปขยายผล อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อการประมงไทยโดยรวมเช่นเดียวกับที่ผ่านมา


40103491_1742396645877922_1310482281076359168_n

อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 เป็นกฎหมายสากลที่เกี่ยวข้องกับทะเลไว้หมด มีบทบัญญัติทั้งสิ้น 320 ข้อ กับอีก 9 ผนวก โดยครอบคลุมเรื่องทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง เรือ การเดินเรือ และช่องแคบ รัฐหมู่เกาะ เขตเศรษฐกิจจำเพาะ ไหล่ทวีป ทะเลหลวง การบริหาร และอนุรักษ์สิ่งที่มีชีวิตในทะเลหลวง การแสวงประโยชน์ในพื้นที่ก้นทะเลระหว่างประเทศ การสำรวจทางวิทยาศาสตร์ในทะเล และการระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศเกี่ยวกับทะเล เป็นต้น และการเข้าเป็นภาคีของรัฐจะต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติทั้งหมด โดยไม่มีข้อสงวน ซึ่งประเทศไทยได้มีการดำเนินการก่อนหน้าที่จะมีการให้สัตยาบันในหลายส่วน


lighthouse-1150061_960_720

เช่น การประกาศทะเลอาณาเขตออกเป็น 12 ไมล์ทะเล การประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะ (ปี 2524) และประเทศไทยได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาดังกล่าว เมื่อวันที่  15 พ.ค. 2554 โดยรัฐบาลต้องปรับกฎหมายภายในให้สอดคล้องกับบทบัญญัติตามอนุสัญญาดังกล่าวภายใต้อนุสัญญาฯ ได้มีการกำหนดเกี่ยวกับสัญชาติของเรือที่รัฐต้องดำเนินการ ดังนี้  "รัฐจะกำหนดเงื่อนไขในการให้สัญชาติของตนแก่เรือ ในการจดทะเบียนเรือในอาณาเขตของตน และในการใช้สิทธิชักธงของตน เรือย่อมมีสัญชาติของรัฐเจ้าของธง ซึ่งเรือนั้นมีสิทธิชักธงจะต้องมีความเกี่ยวโยงอย่างแท้จริงระหว่างรัฐกับเรือนั้น"


40183380_1742396385877948_840054079353782272_n

โดยภายใต้ UNCLOS 1982 ยังได้กำหนดสถานะของเรือ "เดินเรือโดยชักธงของรัฐเดียวเท่านั้นและให้เรืออยู่ภายใต้บังคับในสนธิสัญญาระหว่างประเทศหรือในอนุสัญญานี้ เรือมิอาจเปลี่ยนธงของตนในระหว่างการเดินทางหรือในขณะที่แวะยังเมืองท่า" และที่สำคัญ คือ "เรือซึ่งออกทะเลโดยชักธงของรัฐ 2 รัฐ หรือกว่านั้นตามสะดวก มิอาจอ้างสัญชาติหนึ่งสัญชาติใดต่อรัฐอื่นใดได้ และอาจถูกเสมือนเป็นเรือไร้สัญชาติ" ซึ่งการบทบัญญัติดังกล่าวจะครอบคลุมเรือทุกประเภท โดยการดำเนินการดังกล่าวเป็นความรับผิดชอบของ "รัฐเจ้าของธง"


ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว