ปตท.สผ. ใส่เงินลงทุนปีละ 3.3 หมื่นล้าน รักษาระดับผลิตก๊าซเอราวัณ-บงกช

13 ธ.ค. 2561 | 10:54 น.
นายพงศธร ทวีสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยว่า จากการที่กระทรวงพลังงานได้ประกาศผลผู้ชนะการประมูลแหล่งก๊าซธรรมชาติบงกชและเอราวัณ โดย ปตท.สผ. ชนะการประมูลและได้รับสิทธิในการสำรวจและผลิตก๊าซธรรมชาติทั้งแปลงเอราวัณและบงกช ที่จะหมดอายุในอีก 4 ปีข้างหน้า ซึ่ง ปตท.สผ. ยืนยันว่า จะสามารถสร้างผลประโยชน์ให้กับประเทศได้ตามที่ยื่นข้อเสนอในการประมูล

 

[caption id="attachment_360837" align="aligncenter" width="467"] นายพงศธร ทวีสิน นายพงศธร ทวีสิน[/caption]

โดยมั่นใจว่า แผนการพัฒนาและการลงทุนที่ ปตท.สผ. เสนอไป จะสามารถสร้างความต่อเนื่องในการผลิตก๊าซธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดช่วงการเปลี่ยนผ่านจากสัมปทานปิโตรเลียมปัจจุบัน ไปยังสัญญาแบ่งปันผลผลิต รวมถึงรักษาระดับการผลิตตามที่กำหนดไว้ในเอกสารเชิญชวนให้ยื่นข้อเสนอของแหล่งบงกชและแหล่งเอราวัณ ที่ไม่ต่ำกว่า 700 และ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ตามลำดับ

สำหรับแหล่งบงกชซึ่ง ปตท.สผ. เป็นผู้ดำเนินการอยู่แล้ว เราสามารถที่จะลงทุนเพื่อรักษาระดับการผลิตได้ทันที ส่วนแหล่งเอราวัณนั้น เรามีแผนการดำเนินงานและการลงทุนที่ชัดเจนในช่วงเปลี่ยนผ่าน มั่นใจว่าจะได้รับความร่วมมือจากผู้ดำเนินการปัจจุบัน ประกอบกับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากภาครัฐและกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ โดยจะเริ่มดำเนินงานทันทีเมื่อมีการลงนามในสัญญาแบ่งปันผลผลิต (PSC) ในเดือน ก.พ. 2562


Image

สำหรับแผนการดำเนินงานและมูลค่าลงทุนในแหล่งเอราวัณและบงกช จะมีการลงทุนแทนขุดเจาะเพิ่ม การวางแท่นผลิต (แฟลตฟอร์ม) เพิ่ม ในช่วง 5 ปีแรก (ปี 2566-2570) ในส่วนของบงกช เงินลงทุนอยู่ที่ 400-450 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี และเอราวัณ อยู่ที่ 600-650 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี หรือคิดเป็นในส่วนที่ ปตท.สผ. จะต้องลงทุนปีละ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 3.3 หมื่นล้านบาทต่อปี

ขณะที่ ราคาขายก๊าซที่เสนอขายอยู่ที่ 116 บาทต่อล้านบีทียู เทียบราคาขายก๊าซตามสัญญาเดิมในแหล่งเอราวัณอยู่ที่ 165 บาทต่อล้านบีทียู และบงกช 214 บาทต่อล้านบีทียู แม้ว่ารายได้จากการขายก๊าซจะลดลง แต่เมื่อแหล่ง 2 แหล่งผนึกรวมกัน ทำให้บริหารต้นุทนได้ดียิ่งขึ้น เกิดการลดต้นทุน 20-25% เพราะการลงทุนในแหล่ง 2 แหล่ง การลงทุนแท่นใหญ่ ๆ ได้ลงทุนไว้หมดแล้ว โดยยืนยันว่า การได้รับสิทธิให้เป็นผู้ดำเนินการทั้งในแหล่งบงกชและเอราวัณ จะยิ่งช่วยให้ ปตท.สผ. สามารถบริหารจัดการต้นทุนการผลิตให้ลดต่ำลงได้มากขึ้นอีก จากการเพิ่มอำนาจต่อรองจากปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นจาก 2 แหล่งรวมกัน เช่น ในเรื่องของการจัดซื้อจัดจ้าง การขนส่ง เป็นต้น


50702

ด้วยหลายปัจจัยที่ได้กล่าวมา ทำให้เราสามารถยื่นข้อเสนอและผลตอบแทนที่เป็นประโยชน์สูงสุดให้กับประเทศได้ในการประมูลครั้งนี้ โดยข้อเสนอดังกล่าวยังคงสามารถสร้างผลตอบแทนให้กับบริษัทได้ในระดับที่คุ้มค่ากับการลงทุนเช่นกัน ปตท.สผ. มุ่งมั่นที่จะเป็นผู้ดำเนินงานหลักสำหรับการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทย รวมถึงการสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศเพื่อนำไปสู่การที่ประชาชนจะได้รับประโยชน์สูงสุด

สำหรับกรณีภาครัฐที่จะเข้ามาถือหุ้นแหล่งเอราวัณและบงกช สัดส่วน 25% นั้น ตามมติ ครม. ระบุว่า ปตท.สผ. ถือว่าเป็นหน่วยงานรัฐเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ปตท.สผ. จะหารือกับทางกระทรวงพลังงานอีกครั้ง

595959859