ภูมิแพ้อาหาร ภัยเงียบที่ห้ามมองข้าม พร้อมเติบโตและขยายตัวสู่เด็กไทย

16 พ.ย. 2561 | 09:33 น.
“ปัจจุบันคนไทยเสี่ยงเป็นโรคภูมิแพ้อาหาร(Food Allergy) สูงขึ้น 300-400% จากอดีตที่มีผู้ป่วยเฉลี่ยอยู่ที่ปีละ 1 คน แต่ในปัจจุบันพบผู้ป่วยแพ้อาหารสูงถึงสัปดาห์ละ 2 คน ปัจจัยการเกิดโรคมาจากวิถีการใช้ชีวิตที่ดีขึ้นของคนไทยจะสังเกตได้ว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้อาหารส่วนใหญ่จะมีฐานะอยู่ในระดับกลางถึงดี เวลาทานอาหารก็เลือกทานในร้านที่มีความสะอาดอยู่ตลอด หรือทานอาหารจากร้านสะดวกซื้อที่มีกรรมวิธีการผลิตที่สะอาด ทำให้ร่างกายได้รับเชื้อโรคน้อยลงส่งผลให้ภูมิคุ้มกันที่เคยต่อสู้กับเชื้อโรคหันไปต่อสู้กับสารอาหารเหล่านั้นแทนจนเกิดเป็นอาการแพ้เกิดขึ้น” ศ.เกียรติคุณ น.พ.ปกิต วิชยานนท์ ผู้เชี่ยวชาญโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันวิทยา ผู้อำนวยการสถาบันโรคภูมิแพ้สมิติเวช

โรงพยาบาลสมิติเวช ธนบุรี ฉายภาพรวมถึงภูมิแพ้อาหารในประเทศไทยได้อย่างน่าสนใจ พร้อมกับกล่าวต่อไปว่า ในประเทศไทยโรคแพ้อาหารพบได้บ่อยมากตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้ใหญ่ โดยปกติอาหารที่ทำให้เกิดอาการแพ้มีได้ 6 ชนิด ได้แก่ นม ไข่ แป้งสาลี ถั่วทั้งหลาย อาทิ ถั่วลิสง ถั่วเหลือง อัลมอนด์ มะม่วงหิมพานต์ และสุดท้ายอาหารทะเลซึ่งแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ กุ้งและปลา แม้ในไทยผู้คนส่วนใหญ่โดยเฉพาะผู้ใหญ่จะแพ้อาหารทะเลมากที่สุด แต่สำหรับเด็กตั้งแต่วัยแรกเกิดการเป็นภูมิแพ้อาหารที่รุนแรงนั้นส่วนใหญ่มาจากแป้งสาลี

8827326073281

ศ.น.พ.แกรี่ หว่อง ประธานสมาคมโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก กล่าวเสริมว่า การแพ้แป้งสาลีในกลุ่มเด็กนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และออสเตรเลียเช่นกัน รวมทั้งแพ้ถั่วลิสงด้วย โดยภัยร้ายของโรคดังกล่าวหากปล่อยไว้นาน รักษาไม่ถูก วิธีหรือถึงมือหมอช้าอาจทำให้เสียชีวิตได้ ขณะที่ ศ.น.พ.แกรี่ หว่อง ประธานสมาคมโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก เล่าว่า โรคภูมิแพ้อาหารไม่ได้มีสาเหตุหลัก มาจากพันธุกรรมแต่เป็นสภาพแวดล้อมของสังคมเป็นหลักทำให้การรักษาและวิวัฒนาการด้านการแพทย์ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการรักษาในปัจจุบันมีหลากหลายวิธีการ เช่น รักษาโรคแพ้อาหารด้วย Oral Immunotherapy (OIT)โดยให้รับประทานอาหารที่แพ้ทีละน้อยในระดับที่ปลอดภัย เพื่อสังเกตอาหารของผู้ป่วย เป็นต้น

สำหรับอาการแพ้ที่เกิดขึ้นกับร่างกายนั้นแบ่งออกเป็น 5 ระบบ ได้แก่ ระบบผิวหนัง มีอาการเป็นลมพิษเฉียบพลันหรือเรื้อรัง ผิวหนังอักเสบบวมรอบๆ ปากและตา ระบบหายใจ มีอาการจมูกอักเสบ หลอดลมอักเสบบวมบริเวณกล่องเสียงและหลอดลม เป็นหืด ระบบทางเดินอาหาร มีอาการคันปาก คันคอ คันลิ้น ปวดท้อง อาเจียน และลำไส้อักเสบเวลาถ่ายอาจมีเลือดปะปนออกมาด้วย ระบบประสาท มีอาการทำให้ผู้ป่วยมึนงง ระบบหัวใจ มีอาการความดันโลหิตตํ่า และอาจถึงขั้นเกิดอาการช็อก

ด้านแนวทางการรักษาอาการของโรคภูมิแพ้อาหารที่ถูกวิธี คือ ควรเริ่มจากการตรวจหาภูมิแพ้อาหารนั้นว่าเกิดจากสาเหตุอะไร โดยสถาบันโรคภูมิแพ้สมิติเวช โรงพยาบาลสมิติเวช ธนบุรี ได้พัฒนานวัตกรรมการตรวจเช็กที่แม่นยำ 2 วิธี คือ “การใช้สารสกัดจากอาหาร” ที่ผู้ป่วยมีอาการแพ้มาสัมผัสร่างกายและ “การเจาะเลือด” เมื่อทราบถึงสาเหตุของอาการแพ้ที่ชัดเจนแล้ว ลำดับต่อมาคือขั้นตอนการรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยหายจากอาการภูมิแพ้ที่เป็นอยู่ โดยมีแนวทางในการรักษา แบ่งออกเป็น การสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย (Oral immunotherapy) ด้วยการให้
ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่แพ้ทีละน้อยเพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทาน ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีการรักษาที่ต้องมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอยู่ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด และ “การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม” ผู้ป่วยควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหารให้ระมัดระวังการเลือกทานอาหารมากขึ้น หลีกเลี่ยงและตรวจสอบส่วนผสมอย่างละเอียดทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร

8827326071243

ขณะนี้สถาบันโรคภูมิแพ้สมิติเวช โรงพยาบาลสมิติเวช ธนบุรี ได้เชิญองค์กรด้านภูมิแพ้  ชั้นนำระดับโลกและคณะแพทย์ชื่อดังมาร่วมวิเคราะห์พร้อมแลกเปลี่ยนมุมมองด้านการรักษาโรคภูมิแพ้อยู่ตลอดเวลา เพื่อพัฒนา การรักษาภายในประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น โดยล่าสุดได้เชิญ ดร.ฮิวจ์ เอ แซมพ์สัน (Dr. Hugh A Sampson) ประธานบริหาร Icahn Medical School at Mount Sinai Hospital ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้ระดับโลกมาร่วมประชุมวิชาการ 1St International Samitivej Allergy Institute Symposium, Food Allergy “The State of the Art” เพื่อเจาะลึกวิกฤตการณ์แนวโน้มความรุนแรงเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้อาหาร ความเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อชีวิตของผู้ป่วยและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับโรคภูมิแพ้อาหาร พร้อมร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้อาหารของสถาบันโรคภูมิแพ้สมิติเวช โรงพยาบาลสมิติเวช ธนบุรี เพื่อร่วมกันสร้างแนวทางการรักษาโรคภูมิแพ้อาหารในไทยได้อย่างครอบคลุมและครบวงจร

หน้า 26-27 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,417 วันที่ 11 - 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

e-book-1-503x62