สิ้น‘เจ้าสัววิชัย’ พรรคการเมืองป่วน!

07 พ.ย. 2561 | 11:10 น.
 

สิ้น-1 Vichai-Srivaddhanaprabha (1) การเสียชีวิตของเจ้าสัว “วิชัย ศรีวัฒนประภา” ประธานกรรมการกลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ฯ และประธานสโมสรเลสเตอร์ ซิตี้ จากอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ขัด ข้อง ตกใกล้สนามคิง เพาเวอร์ สเตเดียม ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมา นับเป็นความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ไม่ใช่เฉพาะครอบครัว “ศรีวัฒนประภา” แต่เป็นความสูญเสียคนสำคัญในวงการธุรกิจ และวงการลูกหนัง ทั้งในไทยและอังกฤษ

เส้นทางสู่เจ้าพ่อดิวตี้ฟรี

สำหรับ “เจ้าสัววิชัย” ทะยานขึ้นสู่การเป็นเจ้าพ่อดิวตี้ฟรี เมื่อรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อนุมัติให้คิง เพาเวอร์ ได้สิทธิในการบริหารดิวตี้ฟรี ที่ตึกเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นเวลานานถึง 10 ปี โดยไม่ได้มีการเปิดประมูลให้เอกชนรายอื่นเข้ามาแข่งขัน

ผู้อยู่เบื้องหลังคือ ปิยะณัฐ วัชราภรณ์ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ผู้เป็นเจ้าของวลีเด็ด “เก็บหลักการไว้ในลิ้นชัก”

การเข้าไปบริหารร้านดิวตี้ฟรีของคิง เพาเวอร์ครั้งนั้น ตามมาด้วยคำถามมากมาย ในปี 2541 รัฐบาลชวน หลีกภัย ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง แต่ก็ไม่มีข้อสรุป

คิง เพาเวอร์ เดินมาถึงจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ ในปี 2547 เมื่อรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ขยายสัมปทานดิวตี้ฟรีที่จะย้ายจากสนามบินดอนเมืองไปที่สนามบินสุวรรณภูมิ ต่อไปอีก 10 ปี โดยไม่ต้องเปิดประมูลใหม่

สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีคมนาคมในขณะนั้น คือคนที่มีส่วนสำคัญในการทำให้สิ่งนี้เกิดขึ้น ซึ่งเป็นการพิสูจน์ให้เห็นถึงความเหนียวแน่นของความสัมพันธ์ทางการเมืองของเจ้าสัววิชัย

นอกจากสนามบินสุวรรณภูมิ แล้ว คิง เพาเวอร์ยังได้รับคัดเลือกให้เข้าไปรับสัมปทานดิวตี้ฟรีในสนามบินในภูมิภาคอีก 4 แห่ง เป็นเวลา 10 ปี โดยไม่เปิดประมูลให้เอกชนรายอื่นเข้ามาแข่งขันเช่นกัน

[caption id="attachment_343954" align="aligncenter" width="503"] เนวิน ชิดชอบ / กนกศักดิ์ ปิ่นแสง เนวิน ชิดชอบ / กนกศักดิ์ ปิ่นแสง[/caption]

คอนเนกชันการเมือง

หากจะว่าไปแล้ว “เจ้าสัววิชัย” กับคอนเนกชันทางการเมือง ถือว่าไม่ธรรมดาทีเดียว เพราะด้วยบุคลิกที่เป็นคนมือไม้อ่อน เข้ากับคนง่าย ไม่ถือตัว กล้าได้กล้าเสีย ใจถึงพึ่งได้ ทำให้มีสายสัมพันธ์กับการเมืองทุกขั้ว และลึกซึ้งกับทุกรัฐบาล โดยเฉพาะกับ “เนวิน ชิดชอบ”ด้วยการแนะนำของ “กนกศักดิ์ ปิ่นแสง” เพื่อนสนิทของเนวิน และเป็นคนใกล้ชิดเจ้าสัววิชัย

จึงไม่แปลกที่ “เนวิน” เป็นคนแรกๆ ที่อยู่ในอาการโศกเศร้า ไม่แพ้ครอบครัว “ศรีวัฒนประภา”

หากจำกันได้ช่วงรัฐบาล “ทักษิณ ชินวัตร” ถูกโค่นอำนาจ โดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ในฐานะประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ ของ “เจ้าสัววิชัย” กลายเป็นสถานที่รับเอกสารแถลงการณ์ที่ส่งมาจาก “ทักษิณ” ขณะอยู่สหรัฐฯ
8-26 ภายหลัง เนวิน แตกหักกับ “ทักษิณ” และต่อมาพรรคพลังประชาชนถูกยุบ อดีตส.ส.ที่เคยร่วมชายคากับ “ทักษิณ” ในนามกลุ่ม “เพื่อนเนวิน” หันมาจับมือกับ สุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำพรรคประชาธิปัตย์ จัดตั้งรัฐบาล 6 พรรค โหวต อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกฯ ในปี 2551

ช่วงนั้นชื่อของ “โรงแรมพูลแมนฯ” กลายเป็นที่รู้จักกันอย่างดีในฐานะเป็นสถานที่พบปะของกลุ่ม “เพื่อนเนวิน” ต่อมาปี 2552 กลุ่มเพื่อนเนวิน 23 คน เข้าเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทย ที่มี ชวรัตน์ ชาญวีรกูล เป็นหัวหน้าพรรค

ปัจจุบันพรรคภูมิใจไทย มี “อนุทิน ชาญวีรกูล” เป็นหัวหน้าพรรค ทำให้ภาพของ “ภูมิใจไทย” มีหุ้นส่วนการเมืองร่วมกันอย่างแนบแน่น 3 คน คือ อนุทิน หัวหน้าพรรค เจ้าสัววิชัย และเนวิน ในฐานะผู้อยู่เบื้องหลัง

ในปี 2555 เนวิน ประกาศยุติบทบาททางการเมือง โดยผันตัวเองไปเป็นประธานสโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ก็มีคิง เพาเวอร์ เป็นผู้สนับสนุนหลักในช่วงแรกๆ อีกเช่นกัน

หลังรัฐบาล คสช.เข้าบริหารประเทศ กระแสตั้ง “พรรค ทหาร” โดยมี “เจ้าสัววิชัย” เป็นแบ็กอัพบ้างและจะนั่งเป็นหัวหน้าพรรคบ้าง แต่จะมีเสียงปฏิเสธจาก “เจ้าสัววิชัย” มาตลอด เพราะเขาบอกว่าสิ่งที่เขารักคือฟุตบอล เขาเคยให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อว่า
TP14-3229-B “ชีวิตนี้ผมยุ่งมากพอแล้วที่จะไปทำอะไรในสิ่งที่ตัวเองไม่เคยสนใจหรือชอบ หรือแม้แต่เข้าใจ นั่นคือเรื่องการเมือง จะไปยึดพรรคภูมิใจไทย พรรคอยู่ไหนผมยังไม่รู้จักเลย แล้วตำแหน่งหัวหน้าพรรคผมจะเอาไปทำอะไร เพราะผมไม่ต้องการจะมีตำแหน่งในการเมือง ถ้าอยากได้ผมทำไปนานแล้วไม่ต้องคอยวันนี้ เพราะมีโอกาสวิ่งเข้ามาชนหลายที ผมได้แต่วิ่งหนีทุกครั้ง

มาครั้งนี้หนักกับผมมากนำผมไปพาดพิงกับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯและรมว.กลาโหม ว่าเป็นจิ๊กซอว์สำคัญไปสู่การตั้งพรรคใหม่ ท่านเป็นผู้ใหญ่ที่ดีมาก ทำคุณประโยชน์ให้ประเทศไทยอย่างมาก ผมเคารพ พล.อ.ประวิตร มาตั้งนานแล้ว ก่อนจะมีตำแหน่งทางการเมืองในวันนี้ แถมมีข่าวว่าผมเข้าไปรู้จักท่านเพราะนายเนวิน แนะนำ อันนี้ยิ่งหนักไปกันใหญ่ เพราะไม่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด”

[caption id="attachment_343960" align="aligncenter" width="335"]  เพิ่มเพื่อน [/caption]

สิ้น“วิชัย”กระทบการเมือง

คำกล่าวของ “เจ้าสัววิชัย” ไม่เกินความจริง เพราะย้อนไปเมื่อปี 2552 มีการจัดงานฉลองครบรอบ 20 ปี อาณาจักรคิงเพาเวอร์ นักการเมืองที่คุ้นหน้าคุ้นตาอย่าง เนวิน, อนุทิน, ทนง พิทยะ, โภคิน พลกุล และ สุเทพ ขณะเป็นรองนายกฯ ต่างพาเหรดร่วมแสดงความยินดี

นอกจากนั้นยังมีนักการทหารอย่าง พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน และ “พล.อ.ประวิตร” มาปรากฏ กายร่วมงานอันยิ่งใหญ่นี้ด้วย

กระทั่งในยุครัฐบาล คสช. ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกฯ ความสัมพันธ์ของ “เจ้าสัววิชัย” และ “บิ๊ก คสช.” เรียกว่าแนบแน่นไม่น้อย โดย พล.อ.ประวิตร เป็นผู้สานสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง
354354-1 วันนี้การจากไปของ “เจ้าสัว วิชัย” ย่อมกระทบกับพรรคการเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น โดยเฉพาะกับพรรคภูมิใจไทย รวมทั้งพรรคอื่นๆ อาทิ พรรครวมพลังประชาชาติไทย พรรคพลังประชารัฐ ที่ต้องขาดผู้สนับสนุนรายสำคัญช่วงกำลังเข้าสู่การเลือกตั้งในปีหน้า

รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ นักวิชาการหลักสูตรเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาฯ ชี้ว่า การเสียชีวิตของเจ้าสัววิชัย จะส่งผลกระทบต่อพรรคการเมืองที่นายวิชัย ให้การสนับสนุนอยู่ ถ้าพรรค การเมืองนั้นพึ่งการเป็นเศรษฐีของนายวิชัย พรรคนั้นต้องเดือดร้อนแน่ เพราะนายวิชัย มีอำนาจเด็ดขาดในการพิจารณาว่าเขาจะเป็นมิตรกับนักการเมืองกลุ่มไหน คนอื่นๆ จะอ่านความคิดนี้ไม่ออก

“ขณะเดียวกันในแง่ความสัมพันธ์กับนักการเมืองบางคน ก็อาจจะเปลี่ยนไปเช่นกัน เพราะครอบครัวและญาติพี่น้อง ไม่ใช่นายวิชัย ซึ่งจะมีผลต่อพรรคนั้นอย่างไรต้องติดตามต่อไป”

|เซกชั่น : การเมือง
| โดย : โต๊ะข่าวการเมือง
|หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3414 หน้า 16 ระหว่างวันที่ 1-3 พ.ย.2561
595959859