‘รถไฟฟ้า’เปิดพื้นที่-โอกาส ดีเวลอปเปอร์ พัฒนาอสังหาฯ

09 พ.ย. 2561 | 04:07 น.
สัมภาษณ์

จากเวทีสัมมนา “ผังเมืองใหม่ เมกะโปรเจ็กต์: พลิกโฉม กทม.” ที่หนังสือ พิมพ์ฐานเศรษฐกิจจัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 ตุลาคมที่ผ่านมา โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน มีบทบาทอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนโฉมเมือง ซึ่งนายสุรยุทธ ทวีกุลวัฒน์ ผู้อำนวยการใหญ่สายการเงิน บริษัท บีทีเอส กรุ๊ปโฮล ดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (BTS) กล่าวถึงโอกาสการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าว่า

ตามแผนแม่บทรถไฟฟ้าของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มี 515 กิโลเมตรภายในปี 2029 เครือข่ายโยงใย ปัจจุบันสถานีเชื่อมหรือจุดตัดที่มีปริมาณคนค่อนข้างมากมีที่ อโศก,  ศาลาแดง และพญาไท ที่กำลังจะมาแรงในอนาคตจะเป็นสถานีลาดพร้าว ซึ่งรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต-คูคต ถือเป็นระเบียงเศรษฐกิจย่านสำคัญตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้ามีห้าแยกลาดพร้าว, รัชโยธิน

[caption id="attachment_341177" align="aligncenter" width="261"] สุรยุทธ ทวีกุลวัฒน์ สุรยุทธ ทวีกุลวัฒน์[/caption]

เมื่อพูดถึงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส กรุ๊ป มีที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าหลายพื้นที่ เพราะนโยบายการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทจะเน้นเกาะแนวรถไฟฟ้าเป็นหลัก แต่จะเลือกพื้นที่ที่มีศักยภาพและสามารถพัฒนาได้ ไม่ใช่กว้านซื้อทุกพื้นที่ ทั้งนี้ ต้องการให้เติบโตอย่างสมดุลทั้งธุรกิจรถไฟฟ้า และอสังหาริมทรัพย์

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บีทีเอส กรุ๊ป ได้ร่วมพันธมิตรคือ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีความโดดเด่นด้านการดีไซน์คอนโดมิเนียม ตอบโจทย์ลูกค้าได้ดี ตามแผนจะพัฒนาคอนโด มิเนียมตามแนวรถไฟฟ้าเส้นทางปัจจุบันและในอนาคต มีทั้งสิ้น 24 โครงการ มูลค่าโครงการ 102,000 ล้านบาท นับตั้งแต่ปี 2558 ถึงปี 2560 เปิดตัวไปแล้วมากกว่า 10 โครงการ รวมมูลค่ากว่า 4.7 หมื่นล้านบาท

ทำเลศักยภาพในมุมมองส่วนตัวของผม มีย่านพญาไท ปัจจุบันเป็นจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียว แอร์พอร์ตลิงค์ และอนาคตจะมีรถไฟความเร็วสูง อีอีซี (ไฮสปีดเทรน) ซึ่งรัฐจะมีการเปิดให้ประมูลก่อสร้างรถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน โดยผู้ชนะการประมูลจะได้สิทธิ์พัฒนาแอร์พอร์ตลลิงค์ด้วย ถ้ามีรถไฟความเร็วสูง อีอีซี มาเชื่อม สำหรับผู้อยู่อาศัยย่านพญาไทสามารถเดินทางไปสนามบิน หรือเข้าเมือง เช่น สีลม สาทร รวมทั้งช็อปปิ้งในเมือง ก็สะดวกเดินทางด้วยรถไฟฟ้า ซึ่งไม่มีทำเลไหนเหมือนย่านนี้

090861-1927-9-335x503-3

อีกทำเลคือ ที่คูคต วันนี้ราคาที่ดินยังไม่แพงมากนัก เมื่อเปิดเดินรถไฟฟ้าในอีก 2 ปีข้างหน้า ค่อนข้างมั่นใจว่าคนที่อยู่อาศัยเลยจากคูคตไป มีอาคารจุดจอดแล้วจรรองรับ คอนโดมิเนียมในย่านนี้ยังมีไม่มาก และเป็นโครงการแบบโลว์ไรส์ สูงแค่ 8 ชั้น นอกจากนี้ยังมีแหล่งช็อปปิ้ง อีกจุด กรุงเทพฯ ทางด้านใต้ที่ สำโรง ที่เป็นจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียวและสีเหลือง จะช่วยให้ผู้ที่อาศัยในย่านเทพารักษ์และศรีนครินทร์ สามารถเดินทางเข้าเมืองได้สะดวกขึ้น เป็นบริเวณที่ไม่มีรถไฟฟ้าให้บริการมาก่อน ถือเป็นการเปิดพื้นที่ของโซนกรุงเทพฯด้านใต้ ให้มีการเข้าถึงรถไฟฟ้า

ในตอนท้ายนายสุรยุทธกล่าวถึงค่าเดินทางรถไฟฟ้าที่มองว่าค่อนข้างแพง จนผู้โดยสารบางกลุ่มไม่สามารถเข้าถึง ว่า เรื่องนี้ทางกทม.และรัฐบาลให้โจทย์นี้กับ บีทีเอส กรุ๊ป เดิมโครงสร้างค่าโดยสารรถไฟฟ้าคิดตามระยะทาง เพราะที่ผ่านมามีระยะทางให้บริการไม่มากนัก แต่อนาคตอาจจะมี 200-300 กิโลเมตร ก็มีความเป็นไปได้ว่าอาจจะปรับค่าโดยสารเป็นโซน ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษา หากจะใช้ระบบนี้ผู้ให้บริการต้องมาหารือร่วมกันพร้อมกับภาครัฐ ข้อสำคัญก็คือว่าถ้าค่าโดยสารแพงเกินไป ผู้โดยสารก็อาจจะเลือกเดินทางด้วยวิธีอื่น

หน้า 29-30 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับ 3,415 วันที่ 4-7 พฤศจิกายน 2561 ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว