รวมพลังประชารัฐ! ยกเครื่อง "ข้าวไทย" ชิงคืนส่วนแบ่งตลาดโลก 30%

19 ต.ค. 2561 | 09:29 น.
รัฐ-เอกชน-เกษตรกร ผนึกกำลังเร่งยกระดับคุณภาพข้าวไทยแข่งขันในตลาดโลก หลังเพลี่ยงพล้ำถูกเพื่อนบ้านรุมเฉือนส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งอินเดีย กัมพูชา เวียดนาม ขณะเมียนมา มาแรงส่งออกปีละ 3 ล้านตัน กรมการข้าวตีปี๊บชิงส่วนแบ่ง 30% ตลาดโลกคืน

น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวในงานเสวนาโต๊ะกลม "เสียงสะท้อนชาวนาไทยทั้งแผ่นดิน" ภายใต้โครงการพลังประชารัฐ พัฒนาข้าวไทย ว่า กระทรวงพาณิชย์ได้รับเปิดรับฟังความเห็นจากกลุ่มชาวนา โรงสี และผู้ส่งออกข้าวไทย รวมถึงผู้รวบรวมข้าว เพื่อจัดทำแผนข้าวครบวงจรในการนำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงอุตสาหกรรมข้าวไทยให้สอดรับกับตลาดค้าข้าวที่เปลี่ยนไป ซึ่งจะนำเสนอแผนบริหารจัดการข้าวปี 2562 เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ในเดือน ธ.ค. นี้

 

[caption id="attachment_335311" align="aligncenter" width="503"] ชุติมา บุณยประภัศร ชุติมา บุณยประภัศร[/caption]

"สถานการณ์ราคาข้าว ณ ปัจจุบัน ข้าวเปลือกหอมมะลิของไทยอยู่ที่ 1.7 หมื่นบาทต่อตัน ข้าวเปลือกเจ้าเฉลี่ยที่ 7,800 บาทต่อตัน ซึ่งจากการลงพื้นที่สำรวจรอบแรก พบว่า ผลผลิตข้าวไทยปีนี้ไม่น้อยกว่าปีก่อนแน่นอน"

ด้าน นายเจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า ในอดีตที่ผ่านมา คู่แข่งส่งออกข้าวของไทยในตลาดข้าวมีไม่มากนัก แต่ปัจจุบัน มีคู่แข่งมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น อินเดีย กัมพูชา เวียดนาม ทำให้ความสามารถในการแข่งขันข้าวไทยลดลงเรื่อย ๆ รวมถึงผลจากคุณภาพข้าวไทยที่ลดลง ทั้งนี้ หลายประเทศเพื่อนบ้านของไทยเริ่มน่ากลัวมากขึ้น โดยเฉพาะเมียนมาที่เริ่มมีการส่งออก โดยล่าสุด สามารถส่งออกได้ถึง 3 ล้านตันต่อปี ขณะที่ เวียดนามส่งออกได้ 7 ล้านตันต่อปี โดยเฉพาะข้าวนิ่ม ซึ่งเป็นข้าวที่ต้องการของโลก โดยเฉพาะจีนที่เป็นผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ของโลก ที่มีการนำเข้าข้าวทุกชนิดปีละกว่า 8 ล้านตัน ดังนั้น ไทยต้องมีการเตรียมรับมือจากสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป เพื่อรักษาตลาดข้าวไทยให้ยั่งยืน


รวมพลัง2

นายขจร เราประเสริฐ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ข้าว กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า วันนี้สถานการณ์ไม่เหมือนเดิม โลกเปลี่ยนไปเร็วมาก ดังนั้น เกษตรกรไทยต้องเปลี่ยนแบบพลิกโฉม ไม่เช่นนั้นจะก้าวไม่ทันโลก ซึ่งเกษตรกรคงจะทำการเพาะปลูกแบบเดิม ๆ ไม่ได้ ต้องทำแบบชาญฉลาดขึ้น ในอนาคตเทคโนโลยี เครื่องจักรกลการเกษตรสมัยใหม่จะเข้ามาแทนที่มากขึ้น จึงจำเป็นต้องสร้างสมาร์ท ฟาร์เมอร์ให้มากขึ้น


รวมพลัง

ทั้งนี้ กรมการข้าวมีการวิจัยและปรับปรุงพันธุ์ ทำพันธุ์ใหม่ ๆ ออกมาทุก 2 ปี เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด และอยากเห็นระบบการค้า การตลาดที่ฉลาดขึ้น เพราะซัพพลายเชนไม่ได้เป็นเส้นตรงเหมือนในอดีตอีกต่อไป และต้องพยายามดึงส่วนแบ่งตลาดข้าวไทยในตลาดโลกให้กลับคืนมา จากปัจจุบัน ส่วนแบ่งตลาดข้าวไทยในตลาดโลกอยู่ที่ 25% หรือ 1 ใน 4 ของโลก จากอดีตเคยมีส่วนแบ่งตลาดถึง 30% หรือ 1 ใน 3 ของโลก


e-book-1-503x62