เปิดใช้ที่ดิน 'อีอีซี' 1.3 แสนไร่! ทางคู่เวนคืน 40 เมตร ระยะ 300 กม. - ไฮสปีดแจ๊กพ็อต 857 ไร่

14 ก.ย. 2561 | 08:17 น.
140961-1502

สกพอ. เปิดแผนการใช้ประโยชน์ในที่ดินอีอีซี 1.36 แสนไร่ มอบให้กรมโยธาฯ ไปเร่งจัดทำผังเมืองรวมให้เสร็จภายใน 6 เดือน รับการลงทุนในช่วงต้นปีหน้า เผย มีที่ดินแนวรถไฟความเร็วสูงต้องเวนคืนที่ดิน 857 ไร่ และก่อสร้างรถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง ต้องเวนคืนที่ดิน 40 เมตร ตลอดระยะทาง 300 กิโลเมตร

แผนการใช้ประโยชน์ในที่ดินในภาพรวมได้ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) แล้ว เมื่อวันที่ 10 ส.ค. ที่ผ่านมา และได้มอบหมายให้กรมโยธาธิการและผังเมืองฯ ร่วมกับ สกพอ. เร่งจัดทำผังเมืองให้เสร็จภายใน 1 ปี

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ กพอ. ยืนยันว่า การจัดทำผังเมืองรวมน่าจะเสร็จต้นปี 2562

 

[caption id="attachment_317296" align="aligncenter" width="503"] คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ กพอ. คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ กพอ.[/caption]

แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ภาพรวมของการใช้ประโยชน์ในที่ดิน สำหรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ที่นำไปสู่การจัดทำผังเมืองรวม 3 จังหวัด และก่อให้เกิดกิจกรรมต่าง ๆ จะมีการใช้พื้นที่รวมอยู่ราว 1.36 แสนไร่ ซึ่งยังไม่รวมพื้นที่การเวนคืนที่ดินในโครงการต่าง ๆ โดยการใช้ประโยชน์ที่ดินในช่วง 5 ปีแรก (ปี 2560-2564) จะประกอบด้วย เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการพิเศษ 4 เขต ได้แก่ 1.เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ อีอีซีไอ พื้นที่ 3,302 ไร่ อ.วังจันทร์ จ.ระยอง , 2.เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล หรือ อีอีซีดี พื้นที่ 829 ไร่ บริเวณ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี , 3.เขตส่งเสริมเมืองการบินภาคตะวันออก พื้นที่ 6,500 ไร่ บริเวณสนามบินอู่ตะเภา จ.ระยอง

4.เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน พื้นที่ 7,853 ไร่ ตลอดแนวเส้นทางระยะทาง 220 กิโลเมตร และอาจจะต้องเวนคืนที่ดินบางส่วนบริเวณสถานีพญาไท ฉะเชิงเทรา ลาดกระบัง ศรีราชา และอู่ตะเภา ประมาณ 857 ไร่


GP-3400_180914_0022


นอกจากนี้ ยังมีเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ 21 เขต เพื่อรองรับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ครอบคลุมพื้นที่ 86,775 ไร่ ซึ่งเป็นที่ดินนิคมอุตสาหกรรมเอกชนทั้งหมด อย่างไรก็ตาม จากการประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจ พบว่า ตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป จะมีความต้องการใช้พื้นที่รองรับการลงทุนอีกราว 2 หมื่นไร่ ซึ่งจะต้องพิจารณาประกาศเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมายเพิ่มขึ้นอีก

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ขณะที่ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 จะดำเนินการถมทะเลราว 1,600 ไร่ และในอนาคตจะมีการขยายเขตท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 4 เพิ่มอีก เพื่อรองรับสินค้าจากภูมิภาค CLMV ส่วนท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 จะใช้พื้นที่ถมทะเล 1 พันไร่

 

[caption id="attachment_317303" align="aligncenter" width="503"] ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือแหลมฉบัง[/caption]

นอกจากนี้ ยังมีในส่วนของการพัฒนารถไฟทางคู่เชื่อม 3 ท่าเรือ โดยในส่วนการก่อสร้างทางรถไฟสายใหม่ ช่วงศรีราชา-ระยอง และระยอง-มาบตาพุด , ช่วงระยอง-จันทบุรี-ตราด , ช่วงคลองสิบเก้า-อรัญประเทศ , ช่วงท่าแฉลบ-พานทอง ระยะทาง 300 กิโลเมตร จะใช้ที่ดินเวนคืนใหม่ในเขตทางประมาณ 40 เมตร

ขณะที่ กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทในพื้นที่อีอีซี ที่จะมีการก่อสร้างทางหลวงใหม่ เช่น โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายแหลมฉบัง-ปราจีนบุรี-นครราชสีมา ต้องอาศัยเขตทางใหม่ โดยจะมีการเวนคืนที่ดินใช้เขตทางกว่า 100 เมตร

รวมทั้งการพัฒนาเมืองใหม่อัจฉริยะน่าอยู่ โดยจะใช้พื้นที่ราว 1.55 หมื่นไร่

อีกทั้งในส่วนของการพัฒนารองรับศูนย์กลางโลจิสติกส์แนวทางรถไฟสายแก่งคอย-คลองสิบเก้า-ฉะเชิงเทรา และฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง อีกราว 1,500 ไร่


……………….
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,400 วันที่ 13-15 ก.ย. 2561 หน้า 11

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
เจ้าถิ่นผนึก 5 ชาติ สู้ 'ซีพี' !! อสังหาฯชลบุรีโต้โผดึงทุนนอก ผุดเมืองใหม่ 'อีอีซี' แสนล้าน
ทางออกนอกตำรา | ปรากฏการณ์ "อนุทิน-ซิโน-ไทย" ไฉนโหมโรง ... โจมตีอีอีซี

เพิ่มเพื่อน
e-book-1-503x62-7