คึก! วันพรุ่งนี้ นัดถกด่วนแก้ยางตก เตรียมบุกกรุงเสนอ “เยี่ยม” 17 ก.ย.

13 ก.ย. 2561 | 15:34 น.
ด่วน! แกนนำยางใต้  นัดประชุมย่อยถกข้อเรียกร้อง วันที่ 14 ก.ย. หลัง “เยี่ยม” เทียบหนังสือเชิญเชิญ 30 อรหันต์เข้ากรุงแก้ปัญหาราคายาง  17 ก.ย.นี้  ด้านโรงรม เตรียมเสนอสินเชื่อดอกเบี้ยเพื่อชะลอเก็บยาง หวังเป็นแก้มลิงดึงราคา  พร้อมรัฐชดเชยส่วนต่างราคายางไม่ต่ำกว่าราคาต้นทุน

manus  นายมนัส บุญพัฒน์  นายกสมาคมคนกรีดยางและชาวสวนยางรายย่อยแห่งประเทศไทย หรือ (ส.ค.ย.)  เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า นายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ รักษาการผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ได้มีหนังสือจัดประชุมหารือและรับฟังความคิดเห็นจากผู้นำเกษตรกรชาวสวนยาง สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เรื่อง “การแก้ไขปัญหาราคายาง” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันระดมความคิดเห็นและหาแนวทางในการดำเนินการแก้ไขปัญหาราคายาง นำไปสู่การรักษาเสถียรภาพราคายางและการพัฒนายางพาราทั้งระบบ อีกทั้งเป็นการเปิดโอกาสมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ตามพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย ในวันจันทร์ที่ 17 กันยายน 2561 นี้ ณ ห้องประชุมสถกสถานพิทักษ์ อาคาร 1 ชั้น 6 การยางแห่งประเทศไทย บางขุนนนท์

“วิกฤติราคายางจะจัดการอย่างไรก็ได้!! รักษาได้ตรงโรค! เกาถูกทีคันหรือไม่!  แต่ที่แน่ๆ ทุกวิธีต้องใช้เงินงบประมาณไม่น้อย และเงินส่วนหนึ่งต้องถูกนำไปใช้เป็นค่าบริหารจัดการตามทฤษฏีวิธีออกแบบของนักราชการไทยพวกผมได้รับโอกาสเข้าหารือเพื่อแก้ไขปัญหาครั้งนี้ด้วยแต่ก่อนจะไปเวทีส่วนกลาง จะขอถามคนอีกกลุ่มหนึ่งที่เขาก็เดือดร้อนสุดๆอยู่ตอนนี้...ว่าเขาคิดกันอย่างไร?  วันพรุ่งนี้ 14 กันยายน 2561 เวลา 13.30-16.00 จึงขอรับฟังเสียงของ 'คนทำยาง' สหกรณ์โรงรม วิสาหกิจชุมชนแปรรูปยาง และผู้ทำยางรายย่อย ว่าเดือดร้อนและคิดกันอย่างไร โดยขออาศัยสถานที่ ห้องประชุมของตลาดกลางยางพารานครศรีธรรมราช(จันดี) "คนทำยาง" ใครเดือดร้อน เชิญออกมา”

S__9166852

นายมนัส  กล่าวอีกว่า ผู้ที่ได้รับเชิญมีทั้งหมด 30 คน อาทิ นายทศพล ขวัญรอด นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ นายบุญส่ง นับทอง  นายธีระชัย แสนแก้ว  นายเพิก เลิศวังพง  นายสาฝีอี โต๊ะบู  . นายทวีศิลป์ ประทีป  นายอภิรณ บัวสาย  นายเกษม อินทะคง  และนายชำนาญ เมฆตรง  (ดูตารางประกอบรายชื่อ)

S__8380427

ด้านนายเรืองยศ เพ็งสกุล ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนคนกรีดยางถ้ำพรรณรา เปิดเผย แนวทางการแก้ปัญหาราคายางรมควันและวิธีการจัดการบางพารารมควัน ประเด่นปัญหา คือ 1.ต้นทุนการแปรรูป 5-8 บาท/กก.เฉลี่ย 6.5 บาท ราคาประมูลยางรมควันต่างกับราคาน้ำยางเฉลี่ย 4 บาท ขาดทุนเฉลี่ย กก.ละ 2.5 บาท 2.ระยะเวลาในการเก็บยางแผ่นรมควันไม่ให้เปลี่ยนสภาพ 15-30 วัน ในกระบวนการแปรรูปใช้เวลา 4-7 วัน 3.ตลาดมีจำกัด และขายในลักษณะการประมูลวันต่อวันเสียมากกว่า 4.โรงรมยางไม่ได้มาขึ้นทะเบียนกับ กยท.ทั้งหมด ทำให้ยากต่อการบริหารจัดการ ปริมาณยางรมควัน

DSCN2123-1-503x377

5.ทุนหมุนเวียน และทุนชะลอยางออกสู้ตลาด   ดังนั้นข้อเสนอเร่งด่วน 1.รัฐต้องช่วยชดเชยส่วนต่างต้นทุนการผลิตเพื่อให้โรงรมอยู่ได้ ประกอบกับหาผู้เข้าประมูลยางในแต่ละวันต้องไม่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต เพื่อให้โรงรมอยู่ได้ 2.ปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เพื่อทำสต็อกแกมลิงที่โรงรม โดยใช้ยางรมที่มีค้ำประกัน 3.สนับสนุนการแปรรูปยางรมควันคุณภาพ GMP แยกประมูลต่างหากกัน  4.เมื่อถึงเวลาประมูล แต่ผู้ประมูลมีต่ำกว่าสามรายให้เลื่อนการประมูล แต่ยังคงปริมาณยางเดิม และ 5.โรงรมต้องมาขึ้นทะเบียนกับ กยท.ทั้งหมด

อย่างไรก็ตามผลสรุปแต่ละกลุ่มจะเป็นอย่างไร นั้น ทาง “ฐานเศรษฐกิจ” จะติดตามมารายงานนำเสนอความคืบหน้าต่อไปให้ติดตามกันได้ที่นี่

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว