‘ดีแทค’ เปิดศึก 'กสทช.' ฟ้องศาล ป้องลูกค้าซิมดับ

09 ก.ย. 2561 | 05:18 น.
     ดีแทค ยื่นฟ้องศาลปกครองกลาง เหตุ กสทช. ยังไม่ตัดสินมาตรการเยียวยาลูกค้าที่ใช้งานบนคลื่น 850 MHz หลังร่วมกับแคทยื่นแผนคุ้มครองผู้ใช้บริการแล้วหลายครั้ง ชี้หากสัญญาสัมปทานสิ้นสุดลงจะส่งผลกระทบต่อการใช้งาน 3G 

นายราจีฟ บาวา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มกิจการองค์กรและพัฒนาธุรกิจ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค เปิดเผยว่า จากที่ดีแทค และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ได้ร่วมยื่นแผนคุ้มครองลูกค้ากรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน ต่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2561 เพื่อปฏิบัติตามประกาศ กสทช. เรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน ดีแทครู้สึกผิดหวังที่มติของคณะกรรมการ กสทช. ยังไม่ได้ตัดสินให้มีการเยียวยา ทั้งที่สัญญาสัมปทานจะสิ้นสุดลงในวันที่ 15 กันยายน 2561 ที่จะถึงนี้ ซึ่งคาดว่าจะมีลูกค้าจำนวนมาก ได้รับผลกระทบจากการใช้งาน 3G บนคลื่นความถี่ย่าน 850 MHz ที่ต้องยุติการให้บริการทันที

[caption id="attachment_313700" align="alignright" width="487"] ราจีฟ บาวา ราจีฟ บาวา[/caption]

“เนื่องจาก คลื่นความถี่ 850 MHz เป็นคลื่นที่มีความสำคัญต่อผู้ใช้งานพื้นที่ชนบทหรือผู้ที่อาศัยในพื้นที่ห่างไกล ดังนั้นคลื่นนี้จึงมีความสำคัญต่อการคุ้มครองให้ใช้บริการต่อเนื่องเป็นการชั่วคราว เพื่อไม่ให้ผู้ใช้งานได้รับผลกระทบจนกว่าคลื่นความถี่จะถูกนำไปใช้งานด้วยการจัดสรรให้ผู้ประกอบการรายใหม่ ซึ่งเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของ กสทช. ที่จะคุ้มครองลูกค้าร่วมกับดีแทคและที่ผ่านมาผู้ประกอบการรายอื่นล้วนได้รับความคุ้มครองจาก กสทช.  ทั้งสิ้น” นายราจีฟ กล่าว

อย่างไรก็ตามดีแทคได้ยื่นหนังสือถึง กสทช. เรียกร้องให้ทบทวนมติเรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทานหลายครั้ง แต่กสทช. ยังไม่ได้มีมติใดๆ และใกล้ถึงวันสิ้นสุดสัมปทาน ล่าสุดวันที่ 6 กันยายน 2561 ดีแทค จึงได้ยื่นฟ้องเพิกถอนคำสั่งของ กสทช. ต่อศาลปกครองกลางเพื่อขอให้ลูกค้าดีแทคได้รับสิทธิเข้าสู่มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการตามประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ บนคลื่น 850 MHz จนกว่า กสทช. จะนำไปจัดสรรประมูล 090861-1927-9-335x503

ขณะที่ปัจจุบัน ดีแทค มีลูกค้าในระบบสัมปทานกับ CAT จำนวน 9 หมื่นราย โดยมีลูกค้าดีแทคไตรเน็ต หรือ DTN อีกเป็นจำนวนมากที่ใช้บริการข้ามโครงข่ายภายในประเทศ (Domestic Roaming) บนคลื่น 850 MHz หากศาลมีคำสั่งคุ้มครองสิทธิการใช้งานของลูกค้าดีแทคบนคลื่น 850 MHz รายได้จากการให้บริการที่เกิดขึ้นในช่วงการคุ้มครองจะถูกนำส่งให้รัฐหลังหักค่าใช้จ่าย ซึ่งไม่ได้ทำให้
รัฐเสียผลประโยชน์ใดๆ แต่ถ้าคลื่นไม่ได้มีการใช้งานจะนำความเสียหายมาสู่ทั้งรัฐและผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่

หน้า 20 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ | ฉบับ 3,399 ระหว่างวันที่ 9-12 กันยายน 2561

23626556