ไทยพาณิชย์จับมือปตท. เปิดสำนักวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

27 ส.ค. 2561 | 14:15 น.
การผลักดันให้ไทยเดินหน้าเข้าสู่ Thailand 4.0 อย่างสมบูรณ์ สิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดการพัฒนาไปสู่เป้าหมายได้ คือ การลงทุนด้านทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ  ธนาคารไทยพาณิชย์ และ บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) จึงแนวคิดร่วมกันในการสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในสาขาดังกล่าวอย่างเต็มที่ ด้วยการเปิดสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ (School of Information Science and Technology หรือ IST) ที่สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) จ.ระยอง โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดอาคารเรียน พร้อมทอดพระเนตรผลงานที่สำนักวิชาฯ ได้วิจัยและพัฒนาขึ้น ได้แก่ Robotics Studio และ Smart Living Studio

SCB02 นายอาทิตย์ นันทวิทยา กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมถึงธุรกิจธนาคาร ที่ต้องมีการปรับตัวอย่างมาก โดยปัจจัยที่สำคัญในการปรับตัว คือ การมีบุคลากรที่มีความสามารถ ซึ่งประเทศไทยยังขาดบุคลากรทางด้านนี้ ยังไม่มีการสร้างให้เกิดในระดับลึก โดยหนึ่งในสาขาวิชาที่จะมีอิทธิพลและสอดรับกับทิศทางของโลก คือ Information Science

หลังจากที่ได้พูดคุยหารือกับทางปตท. ซึ่งมีเจตนารมณ์ร่วมกัน ในการยกระดับคุณภาพทางการศึกษาของประเทศไทยให้เป็นรูปแบบใหม่และก้าวสู่มาตรฐานชั้นนำระดับโลก ด้วยการสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับเยาวชนระดับหัวกะทิ และสร้างโอกาสให้เกิดสายอาชีพทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่อให้ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันทัดเทียมนานาประเทศได้ สอดคล้องกับนโยบายของธนาคารฯ ทางด้าน SCB08 ในการส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาเยาวชน ซึ่งคณะกรรมการธนาคารได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ จึงได้อนุมัติสนับสนุนการจัดตั้งสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศขึ้น ด้วยงบประมาณ 450 ล้านบาท ในระยะเวลาตั้งแต่สิงหาคม 2559 – ธันวาคม 2565 ซึ่งจะมีการเรียนการสอนอย่างเข้มข้น เน้นการวิจัยที่จะทำให้เป็นผู้รู้จริง และรู้จักแก้ไขปัญหา

รวมถึงสร้างแนวคิด องค์ความรู้และนวัตกรรมต่าง ๆ เป้าหมายหลักของธนาคารฯ คือ การสร้างบุคลากรที่พร้อมต่อการขับเคลื่อนอนาคตอันจะเป็นประโยชน์ระยะยาวแก่ประเทศ ไม่ได้คาดหวังว่าจบการศึกษาแล้วจะต้องมาทำงานกับธนาคารฯ ธนาคารฯ พร้อมที่จะสนับสนุนให้สถาบันวิทยสิริเมธีบรรลุเป้าหมายในการติดอันดับ 1 ใน 50 ของมหาวิทยาลัยวิจัยในระดับโลก และสามารถพัฒนาบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อผลักดันและเพิ่มขีดความสามารถของประเทศให้ก้าวไปสู่การเป็น Thailand 4.0

SCB04 ศ.ดร.โชคชัย เลี้ยงสุขสันต์ คณบดีสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันวิทยสิริเมธี กล่าวว่า คณะ IST เป็นคณะใหม่เน้นทางด้านดิจิทัล 1 ใน 4 ของสถาบันวิทยสิริเมธีที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ก่อตั้งขึ้น มุ่งเน้นในการสร้างบุคลากรให้ เป็นผู้นำด้านวิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ สร้างแนวคิด องค์ความรู้ใหม่ และนวัตกรรมดิจิทัลต่าง ๆ เพื่อช่วยสังคมและประชาชนให้เป็นอยู่อย่างสะดวกสบาย ปลอดภัย และประหยัดทรัพยากร โดยใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีสร้างเทคโนโลยีที่มีคุณภาพในภาคธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาประเทศไปสู่Thailand 4.0 อย่างยั่งยืน คณาจารย์ ประกอบด้วย อาจารย์ และนักวิจัยที่มีชื่อเสียง และมีประสบการณ์งานวิจัย รวมถึงบริษัทที่มีงานวิจัยที่ เข้มแข็งระดับโลก ตัวอย่างเช่น Google Lab, AT&T Bell Labs เป็นต้น

หัวข้อวิจัยหลักจะเน้นทางด้าน Data Science & Big Data, Robotics & AI, Health Analytics, Computer Vision, Internet of Thing (IoT), Machine Learning & High Performance Computing เป็นต้น

IST เปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก โดยผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้ รับทุนเต็มจำนวนและไม่มีข้อผูกมัดใด ๆ เริ่มเปิดการศึกษาปีแรกเมื่อเดือนสิงหาคม 2560 และปี 2561 เป็นการเปิดเรียนปีที่ 2 มีจำนวนนิสิตทั้งหมดรวม 2 ปี 27 คน ทั้งที่เป็นคนไทยและต่างประเทศ แต่เดิมนักวิทยาศาสตร์จบมาจะเป็นอาจารย์ แต่นักศึกษาของเราในอนาคตจะกลายเป็นผู้ประกอบการ เป็น CEO เป็นคนสร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยี และมีผลงานวิจัยที่เข้มข้นระดับนานาชาติหรือระดับโลก

ศ.ดร.ปรเมษฐ์ มนูญพงศ์ อาจารย์ประจำสำนักวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (IST) รับผิดชอบทางด้าน Robotics & AI กล่าวว่า ทุกวันนี้ Robotics ได้เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันมากขึ้นเรื่อย ๆ และการศึกษาทางด้าน Robotics จะไม่ได้จำกัดอยู่แค่ศาสตร์ ของวิศวกรรมเท่านั้น แต่ผู้ศึกษาต้องมีความรู้รอบด้าน ทั้งวิศวกรรมเครื่องกล วงจรไฟฟ้า ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ ชีววิทยา หรือแม้แต่พฤติกรรมมนุษย์ เป็นต้น การที่มีภาคเอกชนอย่างธนาคารไทยพาณิชย์มาร่วมสนับสนุนจะเป็นก้าวกระโดดที่สำคัญของการศึกษา เพราะจะทำให้นักศึกษาได้ ประโยชน์อย่างเต็มที่ทั้งทางด้านทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เป้าหมายของ IST มุ่งเน้น 2 ส่วนคือ การผลิต Hardware และการผลิตบุคลากร ทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อรองรับตลาดแรงงานในอนาคต นักศึกษาที่จบจากที่นี้จะเป็ นคนรุ่นใหม่ที่มีแนวคิด องค์ความรู้หลากหลาย รู้จักการแก้ไขปัญหาและมีความคิ ดนอกกรอบ

ดร.ธีรวิทย์ วิไลประสิทธิ์พร อาจารย์ประจำสำนักวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (IST)  กล่าวว่า สิ่งที่นักศึกษาจะได้ จากการมาเรียนที่นี่คือ กระบวนการคิด กระบวนการทำงานวิจัย ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ได้กับการทำงานในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นงานทางด้านการตลาด การเงิน หรือประกอบธุรกิจส่วนตัว โดยในทุกกระบวนการศึกษาจะแฝงเรื่องความมีคุณธรรมและจริยธรรมด้วย งานวิจัยที่ทำอยู่ คือ Smart Living Studio และ Robotics & AI ที่เน้นเรื่อง Brain Lab เป็นสำคัญ ศึกษาเรื่องมนุษย์กับข้อมูลสุ ขภาพในแต่ละวัน การใช้ชีวิตในบ้าน ศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะก่อให้เกิดโรค เพื่อที่จะลดอัตราการไปพบแพทย์ ในแต่ละปีให้น้อยลง นอกจากนี้มีการศึกษาปฏิสัมพันธ์ ระหว่างสมองกับหุ่นยนต์ เราสามารถใช้สัญญาณสมองในผู้พิ การที่มีกล้ามเนื้ออ่อนแรงมาควบคุมให้หุ่นยนต์ทำสิ่งต่าง ๆ เช่น เคลื่อนไหว สั่งการเครื่องใช้ไฟฟ้า หยิบสิ่งของ หรือแม้แต่ช่วยพยุงตัวได้

นับเป็นความร่วมมือของภาคเอกชนระหว่างธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในการร่วมวางรากฐานประเทศ โดยการส่งเสริมและพัฒนาเยาวชนทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่อผลักดันความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และรองรับการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตอบรับยุทธศาสตร์การเป็น Thailand 4.0