นายกฯ ชี้ "วิทย์สร้างคน" นำชาติเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0

25 ส.ค. 2561 | 03:30 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกล่าวในรายการ "ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน" ว่า "เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม ที่ผ่านมา เป็น "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ" ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงพิสูจน์การคำนวณสถานที่และเวลาการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ณ หมู่บ้านหว้า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งพระองค์ทรงคำนวณล่วงหน้าไว้ถึง 2 ปี ว่าจะเกิดเหตุการณ์สำคัญทางดาราศาสตร์ โดยปีนี้ถือว่าเป็นการครบรอบ 150 ปี ของการเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง ที่นับเป็นจุดเริ่มต้นและสัญลักษณ์ของวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ของประเทศไทย

ในปีนี้ รัฐบาลโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2561 ภายใต้แนวคิด "จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม" เพื่อเทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย และเผยแพร่ผลงานการวิจัย ความก้าวหน้ากระตุ้นความสนใจ ส่งเสริมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้กับเด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป ตั้งแต่วันที่ 16 ถึง 26 สิงหาคม 2561 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค ฮอล์ล 2 ถึง 8 เมืองทองธานี


ประยุทธ์

ในงานจะมีหน่วยงานต่าง ๆ กว่า 100 หน่วยงานจาก 10 ประเทศ มาร่วมจัดแสดง โดยมี 9 เรื่องโดดเด่น อาทิ นิทรรศการวิทยาศาสตร์ติดถ้ำ โดยมีการนำเรือดำน้ำจิ๋ว หรือเรือดำน้ำหมูป่า ที่มีหน้าตาเหมือนแคปซูล พัฒนาโดย "อีลอน มัสก์" เจ้าของกิจการขนส่งอวกาศสเปซเอ็กซ์ มาจัดแสดง พร้อมกับให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ติดถ้ำ เพื่อให้ผู้ชมได้เรียนรู้ด้านภูมิศาสตร์ธรณีวิทยา เทคโนโลยีกู้ภัย สภาพร่างกายเมื่ออยู่ในถ้ำ และการเตรียมตัวไปเที่ยวถ้ำ

นิทรรศการยุคข้อมูลครองโลกหรือ "BIG DATA" นิทรรศการวิกฤตขยะเทคโนโลยีเปลี่ยนชีวิต และซูเปอร์ฟู้ด หรืออาหารแห่งศตวรรษเป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีนิทรรศการเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมต่าง ๆที่กำลังอยู่ในความสนใจของประชาชนมาจัดแสดงด้วย

 

[caption id="attachment_308946" align="aligncenter" width="503"] ขอบคุณภาพ www.nectec.or.th ขอบคุณภาพ www.nectec.or.th[/caption]

งานมหกรรมวิทยาศาสตร์ฯ จัดขึ้นตามนโยบาย "วิทย์สร้างคน สร้างแรงบันดาลใจ" ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21สู่อาชีพใหม่ๆ หรืออาชีพที่เกี่ยวกับสะเต็ม (STEM) ที่เป็นการบูรณาการศาสตร์หลายแขนง ในการทำงาน ก็ถือว่าเป็นความท้าทาย ที่จะทำอย่างไรให้เด็กสามารถเข้าถึงสะเต็ม (STEM) ได้ง่าย มองว่าเป็นเรื่องสนุก และเกิดแรงบันดาลใจเพื่อก้าวสู่เส้นทางอาชีพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2018

ซึ่งผมเห็นว่าปัจจุบัน "STEM" อาจจะไม่เพียงพอนะครับ สำหรับการสร้างนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ แต่เราต้องการ "ความคิดสร้างสรรค์" ไปด้วย ก็อยากจะให้เพิ่มเติม "ศิลปะ (A-Art)" เป็น "สะตีม –STEAM" ลงไปด้วยจะได้สมบูรณ์ ทั้งศาสตร์และศิลป์ เพื่อการประยุกต์ การริเริ่ม และการกล้าสร้างสรรค์ในสิ่งใหม่ ไม่ใช่เป็นเพียงการลอกเลียนแบบ โดยปราศจากการประยุกต์ ดัดแปลง มิฉะนั้น ประเทศของเราก็จะไม่มีโอกาสที่จะเป็น "เจ้าของ และ ผู้ส่งออก" เทคโนโลยีของโลกได้เลย


090861-1927-9-335x503

ที่ผ่านมา นโยบาย "วิทย์สร้างคน" ได้มีการผลักดันผ่านโครงการต่าง ๆ เพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ในสายอาชีพที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เช่น การจัดงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติใน 4 ภูมิภาค รวมถึงมีคาราวานวิทยาศาสตร์เพื่อให้เยาวชนในพื้นที่ห่างไกลสามารถเข้าถึงกิจกรรมการเรียนรู้โดย ได้เพิ่มเส้นทางคาราวานสายใหม่ในพื้นที่ต่าง ๆ

ตลอดจนโครงการจัตุรัสวิทยาศาสตร์ ที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่ให้รู้ว่าในอนาคตอันใกล้ ควรจะเรียนอะไร ไปทำอาชีพอะไรจึงจะสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยที่กำลังจะก้าวไปสู่สังคม 4.0 นะครับ
นอกจากนี้ ก็ยังมีอีกหลายโครงการที่ได้ดำเนินการไปแล้ว อาทิ โครงการขยายห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนโดยมหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.) โครงการพัฒนาทักษะการคิดเชิงตรรกะให้แก่เด็กและเยาวชนด้วยกิจกรรม Coding และคิดไบร์ท (KidBright) ซึ่งจะถ่ายทอดความรู้การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้กับเยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในภูมิภาคและโรงเรียนด้อยโอกาส

 

[caption id="attachment_308947" align="aligncenter" width="503"] ขอบคุณภาพ www.nectec.or.th ขอบคุณภาพ www.nectec.or.th[/caption]

โดยได้แจกจ่ายให้กับโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศ จำนวน 200,000 ชุด ใน 500 โรงเรียน โครงการจัดการแข่งขันด้านวิทยาศาสตร์สิ่งประดิษฐ์ เพื่อสร้างสนามแข่งขันให้เยาวชนได้พัฒนาผลงาน และเรียนรู้จากคนอื่น ๆ ซึ่งจะทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการก้าวสู่เวทีระดับนานาชาติ เข้าสู่เส้นทางอาชีพนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และนวัตกร  สุดท้าย โครงการโรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม (Fabrication Lab)นะครับ ที่จะไปสร้างในโรงเรียน วิทยาลัยอาชีวศึกษา และวิทยาลัยเทคนิคทั่วประเทศอีก150 แห่ง เพื่อจะสร้างพื้นที่ให้นักเรียนสามารถเข้าไปใช้สถานที่ อุปกรณ์หรือเครื่องมือต่างๆ ทางวิศวกรรม ให้สามารถสร้างสิ่งประดิษฐ์เป็นชิ้นงานต่างๆ เป็นการยกระดับฝีมือ ความชำนาญ และความรู้ความเข้าใจให้มากขึ้น

นโยบายวิทย์สร้างคนของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นั้น กำลังจะเปลี่ยนแปลงประเทศไทย และนำประเทศเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0ได้อย่างมั่นคง ถ้าเราเปลี่ยนความคิดคนไทยให้มีความคิดแบบวิทยาศาสตร์ได้ เราจะมีเหตุมีผล และส่งผลให้ประเทศไทยกลายเป็นสังคมที่มีศักยภาพและสามารถพัฒนา ให้ก้าวหน้าด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในอนาคตอันใกล้ และสามารถจะไปสานต่อในเรื่องของ เกษตรกรรม เรื่องของอาชีพต่างๆ ที่มีรายได้น้อยด้วยนะครับ เราต้องเอาวิทยาศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เพราะเกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ อีกสาขาหนึ่งที่เกี่ยวข้องกันก็คือสาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์นะครับ ทั้งสองอย่างเอามาด้วยกัน ก็จะขับเคลื่อนประเทศ ขับเคลื่อนตัวเอง ครอบครัวไปด้วย ในอนาคต"


e-book-1-503x62-7