EEC กับการพัฒนาเมืองและชุมชน

24 ส.ค. 2561 | 05:19 น.
3+6+6++6+6+ ปัจจุบันนี้ทุกคนก็รู้จัก EEC (Eastern Economic Corridor) ของรัฐบาลชุดนี้ซึ่งจะเป็นหัวหอกนำการพัฒนาเศรษฐกิจยุคดิจิตอลและสังคมของไทยได้ดีมากแล้ว

ต่างชาติเกือบทุกชาติรู้จัก EEC โดยเฉพาะอาเซียน ตั้งแต่จีน ญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ รู้ว่า EEC มีความสำคัญในภาคพื้นอาเซียนของเราแค่ไหน และขยายฐานไปยุโรป อเมริกา มีการโฆษณาในแวดวงเศรษฐกิจของโลก เช่นในสื่อ CNN Bloomberg BL เป็นต้น

EEC ดีจริงๆ เป็นการต่อ ยอดจากสมัยท่านพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) เป็นหัวหอกยุคโชติช่วงชัชวาล พบแก๊สในอ่าวไทยและมีการสร้างหัวหอก ยกระดับเศรษฐกิจอุตสาหกรรมยุคนั้น คือ การสร้างเมกะโปรเจ็กต์ คมนาคม อีสเทิร์นซีบอร์ดซึ่งปัจจุบันท่านรองนายกรัฐมนตรี(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)และคณะต่อยอดจากอีสเทิร์นซีบอร์ดมาเป็น EEC และน่าคิดว่าจะเติมยอดอะไรได้อีกไหมในอนาคต เช่น EEC-Link เชื่อมภาคพื้นดินจากเมียนมา ไทย สปป.ลาว กัมพูชา และเชื่อมจีนตอนเหนือ One Belt One Road จะดีไหม

กลับมาดู EEC ปัจจุบันมีพื้นที่ที่จัดอยู่ในแผน 5 พื้นที่หลัก คือ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา พัทยา(เป็นจังหวัดได้แล้ว) ชุมชนศรีราชา (Nippon-Town) แหลมฉบัง (ท่าเรือนํ้าลึก) ไปสู่สัตหีบ(สนามบินนานาชาติ) เชื่อมไประยอง แต่ยังไปไม่ถึงตราดหรือเมืองชายแดนที่สำคัญก็จะเห็นได้ว่าพื้นที่ที่เรียกว่า Sub-Region ของ EEC นี่ไม่ใช่มี 5 จังหวัด มีชุมชนทั้งเป็นศูนย์กลางเมืองและชุมชนที่มีความสำคัญระดับเมืองอีกหลายชุมชนที่จะเป็น “เมืองใหม่” ที่ยกระดับขึ้นมาจากเมืองเดิม และเปิดพื้นที่ไว้รองรับการเติบโต
IMG_1618 ดังนั้น EEC จะดูแค่การพัฒนาเป็น Corridor ไม่เพียงพอ ต้องดูเมืองและชุมชนที่มีอิทธิพลเชื่อมด้วยกัน จะพัฒนาอะไรก็ตาม “คน” คือ ปัจจัยที่สำคัญที่สุด EEC ขณะนี้ 5 จังหวัดมีประชากรแค่ 5 ล้านคน อีก 10 ปีรับรองได้ว่าจะเพิ่มเป็น 10 ล้านคน น้องๆกรุงเทพฯ และจะมีประชากรในจังหวัดใกล้เคียง เช่น สระบุรี ปราจีนบุรี อีกไม่ตํ่ากว่า 3 ล้านคน รวมทั้งหมดอีก 10 ปีจะมีประชากรเท่ากับกรุงเทพมหานคร(18 ล้านคน) เราเตรียมเมืองไว้รองรับดีไหม

EEC ต้องลงมาดูการสร้างเมืองรองรับคน การผลิต เศรษฐกิจและสังคม เมืองจะมีชีวิตอยู่ได้องค์ประกอบของเมืองต้องนำมาพิจารณาบูรณาการพร้อมกันทั้ง หมด มิใช่มุ่งแต่ระบบคมนาคมเพียงอย่างเดียว

เมืองจะมีชีวิตต้องการ “นํ้า” นํ้าให้ทั้งประโยชน์ บริหารไม่ดีก็จะมีโทษ เช่น นํ้าจะท่วมกรุงเทพฯดีไหม นํ้าดีเพื่อบริโภค นํ้าเกษตร นํ้าอุตสาหกรรม นํ้าเสีย และระเบียบนํ้านี้ก็มีนํ้าทะเลเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ต้องมีการวางแผนเมืองกับนํ้า

ประเด็นที่ 2 มีนํ้าแล้วต้องมีไฟ หรือพลังงาน ที่ EEC ต้องมีพลังงาน มีโรงกลั่นจะเพียงพอในอนาคตไหม พลังงานทด แทนเป็นอย่างไร และประเด็นที่สำคัญอีกอย่างซึ่งปัจจุบันเป็น กระแสมาแรง คือ ขยะ และสิ่งแวดล้อมขณะนี้กำลังเถียงกันว่า ขยะพิษคืออะไร ทั่วโลกเขาเรียกว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์ มีทั้งของดี ถ้ารีไซเคิลจะมีค่า ถ้าไม่ดีก็เป็นของเสีย มีโลหะแพงๆ เช่น ทอง ทองแดง มากน่าดู

ท้ายที่สุดก็คืออยากให้ EEC หันมาดูการวางแผนเมืองและผังเมืองในพื้นที่ที่ขณะนี้ก็มีกฎหมายผังเมืองรวม มีมาตรา 14 ไว้ช่วยอยู่ รีบทำด้วยการกำหนดบทบาทของแต่ละเมือง แต่ละชุมชน เช่น พัทยา ท่องเที่ยวระดับโลกพอไหม จะเอา Health Center Education Center เอา Digital World เป็นเมือง Smart เช่น Silicon Valley หรืออินซอนของเกาหลีดีไหม ขอให้ EEC โชคดีครับ

|บทความ : EEC กับการพัฒนาเมืองและชุมชน
|โดย : รศ.มานพ พงศทัต ผู้เชียวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์
|หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ หน้า 31 ฉบับ 3393 ระหว่างวันที่ 19-22 ส.ค2561