เปิดแผลลึก "นกแอร์" ปีกหักซ้ำซาก

22 ส.ค. 2561 | 13:28 น.
526599659 นกแอร์-นิวฯ

วิกฤติสายการบินนกแอร์ ยังมีอยู่ต่อเนื่อง แม้กลุ่มนักธุรกิจใหญ่ตระกูล “จุฬางกูร” จะเข้ามากุมบังเหียนถือหุ้นใหญ่ ตั้งแต่ปีที่แล้ว และระดมใช้สรรพกำลังที่มีอยู่ ในการพยายามพลิกฟื้นธุรกิจให้นกแอร์ กลับมาผงาดเหนือน่านฟ้าไทยอีกครั้ง   โดยมีการบินไทยผู้ถือหุ้นอันดับ 2 ช่วยสนับสนุนอีกแรง แต่ก็ไม่ง่ายอย่างที่คิด เมื่อผลการดำเนินการไตรมาส 2 ของปี 2561 ตัวเลขขาดทุนสะสมบานทะโล่ถึง  6.19 พันล้านบาท

กระทั่งตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทย (กตท.) ขึ้นเครื่องหมาย C  บมจ. NOK  หลังพบว่าบริษัทมีส่วนของผู้ถือหุ้นต่ำกว่า 50 % ของทุนที่ชำระแล้ว โดยมีส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบ 406 .10 ล้านบาท จากหนี้สินทั้งหมด 6.62 พันล้านบาท สูงกว่าสินทรัพย์ที่มีอยู่ 6.21 พันล้านบาท ส่วนของทุนจดทะเบียนอยู่ที่ 2.27 พันล้านบาท  จนเป็นเหตุให้บอร์ดนกแอร์ต้องหาทางออกเร่งด่วนและอนุมัติการกู้เงินจาก “หทัยรัตน์ จุฬางกูร” ภายใต้กรอบวงเงิน  1 พันล้านบาท เป็นทุนหมุนเวียน เสริมสภาพคล่อง ในอัตราดอกเบี้ย 6 % ระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี
1 นับว่าเป็นอัตราการดอกเบี้ยที่สูง แต่บอร์ดนกแอร์ มองว่า “สมเหตุสมผล” ทั้งยังเชื่อมั่นว่า จะเป็นปัญหาเพียงระยะสั้น 3-4 เดือนเท่านั้น  โดยหวังว่าเมื่อเข้าช่วงไฮต์ซีซัน ปัญหาจะคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น ส่วนเงินกู้ดังกล่าวงวดแรกจะกู้มาเพียง  500 ล้านบาท  โดยส่วนหนึ่งจะนำไปใช้เป็นทุนหมุนเวียนนกแอร์ 245 ล้านบาท ส่วนอีกจำนวน  245 ล้านบาท จะนำไปลงทุนในสายการบินนกสกู๊ต  เพื่อขยายจุดบินใหม่ในญี่ปุ่นและเปิดเส้นทางบินไปอินเดีย ที่เหลือจึงเป็นกรอบวงเงินที่กันสำรองไว้เผื่อขาดเหลือ
2 เบื้องหลัง นกแอร์ ขาดทุน

จากปัญหาที่เกิดขึ้น “ปิยะ ยอดมณี” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบิน นกแอร์  ออกมาระบุถึงสาเหตุว่าเกิดจาก 3 เรื่องหลักคือ ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ปัญหาเรือล่มภูเก็ตทำตลาดทัวร์จีนชลอตัว และแผนการ เปิดบินเส้นทางใหม่ ๆ เข้าอินเดีย  และจีน ล่าช้ากว่าแผนที่วางไว้   จึงเป็นเหตุทำให้นกแอร์ช็อตเงินระยะสั้น ถึงกับต้องกู้เงินผู้ถือหุ้นใหญ่

แต่เมื่อตรวจสอบไส้ในผลการดำเนินการไตรมาสที่ 2 ปี 2561  พบว่าปัญหานกแอร์ ยังมาจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนค่าใช้จ่ายโดยตรง ไม่ว่าค่าน้ำมัน ค่าซ่อมบำรุง ประกันภัยเครื่องบินที่ไปอิงกับเงินสกุลดอลล่าร์สหรัฐฯ ซึ่งคิดเป็น 65 % ของต้นทุนรวม โดยราคาน้ำมันฉลี่ยอยู่ที่ 86.77 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นจาก 60.47 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในช่วงเวลาเดียวกัน  การเริ่มเก็บภาษีสรรพสามิต น้ำมันเส้นทางบินในประเทศส่งผลให้บริษัทมีต้นทุนเชื้อเพลิงอยู่ที่ 1,228.19 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 34.01  % เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวปีก่อนหน้า

[caption id="attachment_308266" align="aligncenter" width="503"] ปิยะ ยอดมณี ปิยะ ยอดมณี[/caption]

อีกทั้งถ้าย้อนไปปี 2559  นกแอร์ได้เริ่มมีปัญหาหนัก ตั้งแต่ “พาที สารสิน” ซีอีโอคนดัง เปิดศึกทะเลาะกับนักบิน เมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2559  บานปลายไปถึงขั้นนักบินประท้วงหยุดบินแห่ลาออก  ยิ่งตอกย้ำปัญหานักบินขาดแคลนหนัก ส่งผลให้เที่ยวบินล่าช้า และยกเลิกเที่ยวบินเป็นไปจำนวนมาก จากที่มีปัญหาดีเลย์เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อรายได้  ต้องยืมตัวนักบินต่างชาติจากโบอิ้ง และการบินไทยเข้ามาเสริมทัพ แลกกับค่าจ้างที่แพงขึ้น ส่วนทางกับรายได้ที่ลดลง

ทั้งยังซ้ำเติมจากต้นทุนในการบริหารที่สูงกว่า สายการบินโลว์คอร์ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมบำรุง ที่มีการเซ็นสัญญาระยะยาวไว้กับศูนย์ซ่อม  Lufthansa Technik  สิงคโปร์   ปัญหาสงครามราคาที่แข่งขันกันดุเดือด  การเปิดตัวของสายการบินโลว์คอร์สใหม่ ๆ ทั่วน่านฟ้า  และการที่ประเทศไทยถูกปักธงแดง จากองค์การการบินระหว่างประเทศ ICAO  รวมถึงการปราบปรามทัวร์ศูนย์เหรียญตลาดจีน ล้วนส่งผลกระทบต่อรายได้ของนกแอร์โดยตรงทั้งสิ้น

[caption id="attachment_308267" align="aligncenter" width="503"] พาที สารสิน พาที สารสิน[/caption]

บินไทยไม่เพิ่มทุนรอบแรก

แต่ที่ซ้ำเติมหนักก็คือ แผนการเพิ่มทุนของนกแอร์เมื่อเดือนพฤษภาคม 2560 การบินไทยปฏิเสธการเพิ่มทุน โดยให้เหตุผลในขณะนั้นว่า แผนการพลิกฟื้นธุรกิจหรือ เทอร์นอะราวแพลน ของนกแอร์ยังไม่มีความชัดเจน  และการบินไทยขณะนี้ก็มีปัญหาขาดทุนด้วยเช่นกัน การใส่เงินเข้าไปในนกแอร์โดยไม่รู้ว่าจะมีโอกาสกลับทำกำไรหรือไม่ และเมื่อไร ก็คงไม่ต่างจาก “เตี้ยอุ้มค่อม”

หลังจากถูกกดดันในที่สุดในการเพิ่มทุนรอบ 2 การบินไทยต้องกล่ำกลืนใส่เงินลงไปอีก เพื่อรักษาสัดส่วนการถือหุ้นในนกแอร์  ให้เหลืออยู่ 21.80  % หลังคิดรอบด้านแล้วว่า “เสียมากกว่าได้”  หากขายหุ้นนกแอร์ทิ้ง  การบินไทยก็จะไม่มีเครือข่ายจุดเชื่อมโยงเส้นทางที่สนามบินดอนเมือง ซึ่งจะเป็นจุดอ่อนของสายการบินแห่งชาติ ท่ามกลางกระแสข่าวที่ว่าแลกกับการเปลี่ยนตัวซีอีโอ พาที สารสิน
090861-1927-9-335x503 เพิ่มเพื่อน

ขณะที่แผน “เทอร์นอะราว” นำเงิน 1.7พันล้านบาท ที่ได้จากการระดมทุน  นำไปใช้ในการขยายฝูงบินเพื่อหารายได้เพิ่ม  แผนการลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ  หารายได้เพิ่มจากธุรกิจเสริมนอกเหนือจากการขายตั๋ว การเปิดเส้นทางบินใหม่ ๆ  การปรับค่าเฉลี่ยนการใช้เครื่องบินต่อลำ Aircraft Utilization Hours ให้สูงขึ้นเป็น 11 ชั่วโมงต่อวัน  เพิ่มเส้นทางบินเข้าจีน แบบเช่าเหมาลำเข้าจีนอีก23จุดบิน ทั้งยังมีความร่วมมือกับการบินไทยอย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น ทั้งการเฮดจิ้งน้ำมัน ลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในนาม “ไทยกรุ๊ป” ซึ่งประกอบด้วย  การบินไทย นกแอร์ และไทยสมายล์  นอกเหนือจากที่การบินไทยส่งฝ่ายบริหารมาร่วมเป็นบอร์ดบริหาร

ร่วม 10 เดือน นกแอร์ภายใต้การนำของ “ปิยะ ยอดมณี” ที่เข้ามารับไม้ต่อจาก “พาที สารสิน” เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2560  รวมถึงการปรับเปลี่ยนประธานบอร์ด มาเป็น “ประเสริฐ  บุญสัมพันธ์”  แต่ผลการดำเนินงาน ยังติดลบมโหฬาร  แม้ช่วง ธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ปี 2561 ฝ่ายบริหารจะปราบปลื้มตัวเลข ผลประกอบการออกมาเริ่มเห็นสัณญานที่ดี มีรายได้เพิ่มขึ้น 12.3 %   แต่เมื่อต้องมาเจอปัญหาหนักช่วงไตรมาส 2  จากต้นทุนหลักที่เพิ่มขึ้นรอบด้านอย่างมีนัยสำคัญ

จับตาเดิมพันเงินกู้ 1 พันล้านบาท ครั้งนี้นกแอร์จะฝ่ามรสุมสำเร็จหรือไม่ !
ผู้ถือหุ้นนกแอร์


| รายงานพิเศษ : เปิดแผลลึก นกแอร์ ปีกหัก ซ้ำซาก
| โดย : พริกกะเหรี่ยง
| ฐานเศรษฐกิจออนไลน์
e-book-1-503x62-7