ภาครัฐเร่งตั้งคณะกก.บริหารจัดการแร่ฯหลังอืดมานานจับตารายชื่อไร้เอกชน

15 ส.ค. 2561 | 08:19 น.
ภาครัฐเร่งเครื่องตั้งคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติหลังอืดมานาน ภาคเอกชนจับตารายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิมีแต่นักวิชาการสิ่งแวดล้อมและเอ็นจีโอ หวั่นไร้ปากเสียงในบอร์ดใหญ่สุดท้ายจะซ้ำเติมปัญหาเหมืองแร่ ชี้สภาการเหมืองแร่ ควรต้องรีบเปิดรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากสมาชิกโดยเร็ว

สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรธรณี ในฐานะฝ่ายเลขานุการ คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ (คนร.) เร่งรัดดำเนินการแต่งตั้ง คนร.ชุดใหม่ให้แล้วเสร็จโดยเร็วนั้น เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2561 ที่ผ่านมา กรมทรัพยากรธรณี และกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ในฐานะเลขานุการร่วมของ คนร.ได้ประกาศรายชื่อบุคคลซึ่งได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 6 ด้านในคนร. ซึ่งได้ดำเนินการรับสมัครเมื่อวันที่ 2-31 กรกฎาคม 2561 แล้วคัดเลือกออกมาด้านละ 2 คนเพื่อเสนอให้พิจารณาตัดสินเหลือด้านละ 1 คนดังนี้

ด้านธรณีวิทยา รศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ และ รศ.ดร.ปกรณ์ สุวานิช ด้านสิ่งแวดล้อม รศ.ดร.ตุลวิทย์ สถาปนจารุ และ ผศ.ดร.กฤษชัย ศรีบุญมา ด้านวิศวกรรมเหมืองแร่ ผศ.ดร.ภาณุวัฒน์ ปิ่นทอง และ รศ.ดร.พันธุ์ลพ หัตถโกศล ด้านสังคมศาสตร์ รศ.ดร.โยธิน แสวงดี และ รศ.ดร.เสาวคนธ์ สุดสวาสดิ์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นายประเสริฐ วชิรเขื่อนขันธ์ และ นายกัมพล กลั่นเนียม องค์กรเอกชน รศ.ดร.ประยูร วงศ์จันทรา และ นายเดโช ไชยทัพ
min อย่างไรก็ตามประกาศดังกล่าวก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางจากผู้ประกอบการเหมืองแร่ ในประเด็นที่ว่าผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือกเข้ามานั้นมีแนวโน้มว่ามีความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติต่อกิจการเหมืองแร่ออกจะเป็นไปในทางลบ เพราะรายชื่อส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม โดยไม่มีชื่อผู้แทนภาคเอกชนด้านเหมืองแร่ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านเหมืองแร่เลย

แหล่งข่าวจากผู้ประกอบการเหมืองแร่รายหนึ่งให้ความเห็นว่า รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ประกาศนั้นส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมมากกว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรม หรือผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจด้านอุตสาหกรรมเหมืองแร่อย่างแท้จริง ขาดความหลากหลายของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญ เช่น ตัวแทนจากสภาอุตสาหกรรม หรือสภาการเหมืองแร่ จึงอาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่อง และการส่งเสริมอุตสาหกรรมเหมืองแร่ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติต่อไป ข้อสังเกตุสำคัญคือ รายชื่อบุคคลจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คนหนึ่งมาจากอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ไม่มีอุตสาหกรรมเหมืองแร่เลย จึงมีข้อสงสัยในประสบการณ์เกี่ยวกับเหมืองแร่และความเหมาะสมต่อการเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในคนร.
โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6 ขณะที่รายชื่อบุคคลจากองค์กรเอกชน พบว่าเป็นนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมและ NGO ด้านสิ่งแวดล้อม ที่น่าจะมีทัศนคติด้านลบต่ออุตสาหกรรมเหมืองแร่ ทำให้ขาดผู้แทนภาคเอกชนที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านธุรกิจเหมืองแร่จริงๆที่จะให้ข้อมูลอันถูกต้องในการกำหนดนโยบายระยะยาว

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า บทบาทหน้าที่ของ คนร.ยุคปัจจุบัน ควรมีวัตถุประสงค์หลักในการส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมเหมืองแร่ในประเทศให้เป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจ ผู้ทรงคุณวุฒิในคนร.จึงควรมีความหลากหลาย ประกอบด้วยตัวแทนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญ มิใช่มีเฉพาะเพียงผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมเท่านั้น

“การขับเคลื่อนในเรื่องนี้ควรเป็นหน้าที่ของสภาการเหมืองแร่ ที่จะต้องรีบเปิดรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากสมาชิกในเรื่องการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิก่อนที่จะหมดเวลาเสนอหรือคัดค้านภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2561 เพราะหลังจากนั้นจะทำอะไรได้ยาก และในที่สุดแล้ว คนร.ชุดใหม่ก็อาจจะออกนโยบายซ้ำเติมปัญหาต่ออุตสาหกรรมเหมืองแร่ให้สาหัสยิ่งขึ้น”แหล่งข่าวกล่าวในที่สุด

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว