บีบีจีไอรุกอุตฯชีวภาพ จี้รัฐเร่งนโยบายส่งเสริม

13 ส.ค. 2561 | 11:31 น.
"บีบีจีไอ"เร่งสรุปพื้นที่ลงทุนโรงงานผลิตภัณฑ์ชีวภาพภายในไตรมาส 3 ก่อนชงบอร์ดไฟเขียวลงทุนปลายปีนี้ พร้อมจี้รัฐเร่งออกนโยบายส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพอย่างเป็นรูปธรรมในช่วง 5-10 ปีข้างหน้า

บริษัท บีบีจีไอ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกลุ่มบางจาก (60%) และกลุ่มนํ้าตาลขอนแก่น (KSL)(40%) ล่าสุดเตรียมนำแผนลงทุนธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่มีมูลค่าสูง (High Value Products) ด้านธุรกิจเอทานอล และผลิตภัณฑ์ชีวภาพ (Bio Based) เสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท(บอร์ด) ในช่วงปลายปีนี้ โดยในระหว่างนี้ได้เร่งหาพื้นที่ให้เหมาะสมกับโครงการ คาดว่าจะสรุปด้านพื้นที่ลงทุนได้ภายใน 1-2 เดือนนี้ มัน

นายชลัช ชินธรรมมิตร์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บีบีจีไอ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า บริษัท อยู่ระหว่างสรุปโครงการลงทุน ซึ่งขณะนี้พิจารณาอยู่ 4-5 โครงการ แต่จะต้องคัดเลือกโครงการที่มีความเป็นไปได้ในการลงทุนก่อน จากนั้นจะต้องกลับมาดูวัตถุดิบ เช่น อ้อยและมันสำปะหลัง เพื่อนำไปสู่การสรุปด้านพื้นที่ก่อสร้างโรงงานต่อไประหว่างจังหวัดฉะเชิงเทราและสระแก้ว คาดว่าจะมีความชัดเจนภายในไตรมาส 3 ของปีนี้

090861-1927

แต่สิ่งที่ยังเป็นอุปสรรคต่อการต่อยอดไปยังธุรกิจ Bio Based คือ ราคาวัตถุดิบที่สวิงตัวพอสมควรเพราะอาจมการแทรกแซงราคาบ่อยครั้ง ส่งผลให้ราคาวัตถุดิบไม่เป็นไปตามกลไกตลาดโลก นอกจากนี้ตลาดผลิตภัณฑ์ชีวภาพในประเทศยังไม่ชัดเจนมากนัก ดังนั้นภาครัฐควรออกนโยบายเพื่อกระตุ้นหรือส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ โดยกำหนดการใช้อย่างชัดเจนในช่วง 5-10 ปีข้างหน้า

[caption id="attachment_304658" align="aligncenter" width="419"] SAMSUNG SAMSUNG[/caption]

ทั้งนี้ เชื่อว่านโยบายจากภาครัฐที่ชัดเจน จะช่วยให้เกิดการลงทุนธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพตั้งแต่ต้นนํ้า-ปลายนํ้า โดยนักลงทุนต่างชาติที่มีเทคโนโลยีและมองไทยเป็นอุตสาหกรรมชีวภาพ(Bio Industry) ดังนั้นการกำหนดสัดส่วนความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ หรือพลาสติกชีวภาพ เพื่อทดแทนหรือผสมในพลาสติกทั่วไป ต้องมีความชัดเจนก่อน จากนั้นจึงจะสามารถตอบได้ว่าตลาดผลิตภัณฑ์ชีวภาพเติบโตปีละกี่เปอร์เซ็นต์ จากนั้นเชื่อว่าอีกไม่กี่ปีข้างหน้าต้นทุนพลาสติกชีวภาพจะสามารถแข่งขันกับพลาสติกทั่วไปได้ จากปัจจุบันราคาสูงกว่า 2 เท่า

“บริษัทอยู่ระหว่างสรุปโครงการลงทุน จากนั้นต้องมาดูว่าจะใช้วัตถุดิบอะไร พื้นที่ใดที่เหมาะสม คาดว่าจะมีความชัดเจนภายใน 1-2 เดือนนี้ เพราะทางบางจากก็มีพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ขณะที่ KSL ก็มีพื้นที่จังหวัดสระแก้ว ซึ่งมีวัตถุดิบคืออ้อย นํ้าตาล ดังนั้นต้องสรุปโครงการลงทุนก่อน จากนั้นจึงเลือกพื้นที่ลงทุนได้” นายชลัช กล่าว

หน้า 8 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับ 3,391 วันที่ 12-15 สิงหาคม 2561

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว