หวั่นวิกฤติการเงินลาม! 'วิรไท' ยันทุนสำรองแกร่งมากกว่าหนี้ระยะสั้น 35 เท่า

25 มิ.ย. 2561 | 12:12 น.
250661-1822

นักค้าเงินห่วงแรงเทขายสินทรัพย์เสี่ยงในตลาดเกิดใหม่! ประเทศที่อ่อนแอจะเป็นเป้านิ่งถูกโจมตีเหมือน 'ฟิลิปปินส์-อาร์เจนตินา' จนนำไปสู่ EM Contagion 'วิกฤติการเงิน' ซ้ำรอยปี 2540 จี้! แบงก์ชาติส่งสัญญาณนโยบายการเงินฟื้นฟูความเชื่อมั่นนักลงทุน

ความกังวลต่อสงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ และรวมทั้งแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ยังคงมีโอกาสที่สินทรัพย์เสี่ยงของไทย เช่น หุ้น พันธบัตร จะเผชิญแรงเทขายได้ต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลกดดันให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มที่จะอ่อนค่า อาจจะทะลุระดับ 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ


12994465 - 1000 baht banknotes isolated on white background

นายพูน พานิชพิบูลย์ ผู้เชี่ยวชาญศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทีเอ็มบี เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ในระยะสั้นนี้ ค่าเงินในโซนเอเชีย โดยเฉพาะค่าเงินบาท จะยังคงได้รับแรงกดดันจากความกังวลสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ หากทั้งตลาดหุ้นและบอนด์ไทยยังคงเผชิญแรงเทขายต่อเนื่อง


หวั่นวิกฤติการเงินรอบใหม่
ความน่ากลัวของการเทขายสินทรัพย์ในตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets) ตอนนี้ก็คือ หากธนาคารกลางของประเทศตลาดเกิดใหม่ไม่สามารถดำเนินนโยบายการเงิน เพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นของนักลงทุนและดึงเงินทุนให้ไหลกลับเข้ามาได้ แรงเทขายสินทรัพย์อาจจะบานปลายและขยายตัวเป็นวงกว้างกระทบตลาดเกิดใหม่อื่น ๆ เกิดเป็นการลุกลามของวิกฤติการเงินในตลาดเกิดใหม่ (EM Contagion) ซึ่งอาจจะนำไปสู่วิกฤติการเงินและวิกฤติเศรษฐกิจได้ ดังเช่น วิกฤติหนี้ในกลุ่มลาตินอเมริกา ในยุค 90 หรือ Asian Financial Crisis ปี 2540


45534269_s-7

"ตลาดเกิดใหม่ที่ดูอ่อนแอก็เป็นเป้านิ่ง ที่เจอแรงเทขายสินทรัพย์ ตลาดก็จะไล่เก็บไปทีละประเทศ ตุรกี ต่อ อาร์เจนตินา บราซิล อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ ฟิลิปปินส์ ไทย แต่ไทยเรานี่ซอฟต์ ๆ แล้ว แต่ประเทศอื่น ๆ ที่โดน คือ ค่าเงินอ่อน เงินเฟ้อแรง ตลาดคิดว่า แบงก์ชาติต้องสู้ ต้องขึ้นดอก ถ้าไม่ขึ้นดอก เงินก็ไหลออกรัว ๆ ขึ้นแล้ว ยังไม่ช่วย อันนี้ก็ทำอะไรไม่ได้จริง ๆ แบบอาร์เจนตินา ส่วนสถานการณ์แบบนี้ มองว่าคือ การขายทำกำไรส่วนหนึ่ง แล้วก็โยกเงินไปลงทุนที่อื่นที่ดีกว่า เช่น ไปลงสหรัฐฯ ส่วนโจมตีค่าเงินไหม อันนี้ ไม่แน่ใจว่า บ้านเขามีหลักแบบบ้านเราไหม ที่ต้องถือสินทรัพย์ด้วย มันน่าจะไม่เหมือนตอนปี 40 ตอนนั้นหลาย ๆ ที่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ มันเลยโจมตีง่าย"


จับตาต่างชาติเก็งกำไรค่าบาท
หากดูตัวเลขกระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายของไทย จะเห็นว่า นับตั้งแต่ ม.ค.-มิ.ย. นักลงทุนขายหุ้นจำนวน 171,897 ล้านบาท ซื้อพันธบัตรสุทธิ 116,858 ล้านบาท ยอดไหลออกสุทธิ 55,139 ล้านบาท ขณะที่ ตัวเลขไตรมาส 2 ต่างชาติขายหุ้น 113,780 ล้านบาท ขายพันธบัตร 4,020 ล้านบาท ทิศทางยังคงขายออกสุทธิ 117,801 ล้านบาท และหากดูเฉพาะเดือน มิ.ย. จะเห็นต่างชาติขายหุ้นจำนวน 40,471 ล้านบาท และซื้อพันธบัตรอยู่ที่ 13,752 ล้านบาท ยังคงมีแรงเทขายสุทธิ 26,719 ล้านบาท


app-02

"ช่วงนี้ค่าเงินยังคงมีทิศทางอ่อนค่าและผันผวน อย่างไรก็ดี ในช่วงที่บาทอ่อนค่าเยอะ นอกจากผู้ส่งออกและนำเข้าควรป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว ประเด็นที่ต้องติดตาม คือ สัญญาณการเก็งกำไรค่าเงินของต่างชาติ ซึ่งจะเห็นชัดหากต่างชาติเข้ามาซื้อบอนด์ระยะสั้นเกิน 1,000 ล้านบาท ติดต่อกันเกิน 4-5 วัน"


คาดปลายปีบาทแข็ง
อย่างไรก็ตาม ในระยะยาว มองว่า ค่าเงินบาทยังมีโอกาสที่จะกลับไปแข็งค่าได้ต่อ จากปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจไทยที่ยังคงดีขึ้น การท่องเที่ยวยังคงสดใสและแนวโน้มเงินทุนต่างชาติไหลเข้าในช่วงก่อนการเลือกตั้ง คาดว่า ในช่วงไตรมาสที่ 3 จะเห็นแนวโน้มเงินบาทกลับมาแข็งค่าอยู่ที่ระดับ 31.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และในช่วงปลายปีจะอยู่ที่ 31.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ในช่วงที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าหนัก อาจจะเป็นจังหวะที่ดีในการป้องกันความเสี่ยงค่าเงินของฝั่งผู้ส่งออก และในจังหวะที่ค่าเงินยังมีทิศทางไม่แน่ชัด การเลือกใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยง เช่น FX Option ก็อาจจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของทั้งฝั่งผู้ส่งออกและนำเข้า เพราะผู้ประกอบการสามารถเลือกที่จะไม่ใช้สิทธิตามสัญญา Option ได้ หากค่าเงินบาทเคลื่อนไหวตรงข้ามกับสิ่งที่มองไว้

 

[caption id="attachment_292859" align="aligncenter" width="380"] วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) วิรไท สันติประภพ
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)[/caption]

นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ไทยเราระมัดระวังต่อเนื่องและมีกันชนที่ดี เช่น ทุนสำรองฯ เรามากกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้น ประมาณ 35 เท่า และมากกว่าหนี้ต่างประเทศ โดยไม่พึ่งเงินตราต่างประเทศ รวมทั้งเกินดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่อง โดยปีนี้คาดว่า จะเกินดุลประมาณ 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 8-9% ของจีดีพี จึงทำให้เราทำนโยบายการเงินเพื่อตอบโจทย์เศรษฐกิจในประเทศได้ ต่างจากบางประเทศที่มีฐานะประเทศไม่มั่นคง


คู่ค้าเบี้ยวจ่ายค่าสินค้าเพิ่ม
นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ ธสน. กล่าวว่า แนวโน้มเงินทุนเคลื่อนย้ายนั้น เนื่องจากประเทศอุตสาหกรรมหลักและสหรัฐฯ ปรับขึ้นดอกเบี้ย จูงใจเงินทุนไหลออก กดดันเงินบาทอ่อนค่า แม้จะมีผลเชิงบวก ผู้ส่งออกต้องระวังความผันผวน โดยป้องกันความเสี่ยงบางส่วน เพื่อทราบผลกำไรแน่นอน อย่าเก็งกำไรค่าเงิน เพราะหากคาดผิดข้าง หรือ เกิดเหตุไม่คาดการณ์จะทำให้กำไรหาย และแนะนำให้ผู้ส่งออกป้องกันความเสี่ยงจากการไม่ได้รับชำระค่าสินค้าด้วย เพราะ 5 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ผู้ซื้อเบี้ยวจ่ายค่าสินค้า 10 ราย มูลค่า 83 ล้านบาท ถือว่ารุนแรงกว่า ทั้งที่ปีก่อนมีเพียง 12 ราย มูลค่า 78 ล้านบาท แต่เริ่มเห็นผู้ส่งออกซื้อประกันความเสี่ยงเพิ่ม ส่วนหนึ่งไม่มั่นใจคู่ค้าในตลาดเกิดใหม่ ไม่ว่าตะวันออกกลาง ยุโรป และสหรัฐฯ รวมทั้งการซื้อประกันภัยเสี่ยงทางการเมือง


fcb8hbcb9bigi8aa6bibd

เงินเปโซอ่อนสุดรอบ 12 ปี
สำหรับปัญหาของฟิลิปปินส์ กลางเดือน ก.พ. 2561 ค่าเงินเปโซ ฟิลิปปินส์ อ่อนลงมากที่สุดในรอบ 11 ปี ที่อัตราแลกเปลี่ยน 52.12 เปโซต่อดอลลาร์สหรัฐฯ จากเดิมอยู่ที่ระดับ 51.98 เปโซต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2561 เนื่องจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว ทำให้เกิดการนำเข้าสูงขึ้นมาก จนการขาดดุลการค้าขยายตัวสูงขึ้นตาม ส่วนการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดก็เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 4% ของจีดีพี ต่อมาวันที่ 14 มิ.ย. ที่ผ่านมา ค่าเงินเปโซอ่อนค่าทุบสถิติอีกครั้ง คือ อ่อนที่สุดในรอบ 12 ปี ที่อัตราแลกเปลี่ยน 53.3 เปโซต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เชื่อว่าแนวโน้มในอนาคต ค่าเงินเปโซยังจะอ่อนตัวต่อไปได้อีก และขณะนี้ก็ถือว่า เงินเปโซของฟิลิปปินส์เป็นสกุลเงินที่อ่อนแอ และตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบากกว่าประเทศอื่น


GP-3377_180625_0010

……………….
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,377 วันที่ 24-27 มิ.ย. 2561 หน้า 01-02

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
การเตรียมกลไก แก้วิกฤติการเงินในอนาคต
บทเรียนจากวิกฤติการเงินโลก


e-book-1-503x62