ฐานโซไซตี : "ค่าโง่รัฐสภาใหม่" 1.6 พันล้าน ใครต้องรับผิดชอบ?

16 มิ.ย. 2561 | 11:18 น.
4565626 ในที่สุดก็เกิดเป็น “ค่าโง่รัฐสภาใหม่” จนได้ เมื่อทางฝ่าย บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)โดย พีระนาควิมล ผอ.โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ออกมาเปิดเผยผ่าน“ประชาชาติ”เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า “จากความล่าช้าของโครงการ ทำให้บริษัทต้องขอขยายเวลาก่อสร้างไป ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเกิดขึ้น ล่าสุดยื่นเรียกร้องค่าเสียหายจากรัฐสภาแล้ว เป็นวงเงิน 1,673 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทต้องตั้งสำรองเงินประมาณ 3,000 ล้านบาท สำหรับการประสบปัญหาขาดทุนจากการก่อสร้างโครงการนี้ การก่อสร้างที่ล่าช้า เป็นเพราะการบริหารงานของรัฐที่ล่าช้า ไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างให้ได้ จึงทำให้โครงการเริ่มงานไม่ทันตามกำหนด จนต้องขยายระยะเวลาก่อสร้างจาก 900 วัน เป็น 2,400 วัน หรือใช้เวลาก่อสร้าง 6 ปี 5 เดือน”
20180307135933827 โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ มูลค่าที่ตั้งไว้ 12,000 ล้านบาท แต่พอถึงเวลาจริงกลับมีค่าโน่นค่านี่ “งอก” ออกมาอีกบานตะไท โดยเฉพาะระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบรักษาความปลอดภัย ระบบเครื่องเสียงในห้องประชุม มูลค่ากว่า 8,000 ล้านบาท จนที่ประชุม ครม.เบรกหัวทิ่มมาแล้ว และยังมาเจอ “ค่าโง่” อีกกว่า 1,600 ล้านบาท จนก่อเกิดคำถามว่า ค่าโง่ที่เกิดขึ้นคิดมูลค่าจากสมมติฐานใด ฝ่ายรัฐจะมีการโต้แย้งค่าเสียหายที่เกิดขึ้นหรือไม่ ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นมีใครตั้งใจทำให้เกิดขึ้นหรือไม่ และใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการจ่ายค่าโง่นี้ ทั้งหมดเป็น “คำถาม” ที่รอ “คำตอบ”
20180307140518033 เห็น พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. เคยออกมายืนยันว่า “ผมจะไม่เสียอะไรง่ายๆ จะรักษาผลประโยชน์ของประเทศ ดังนั้น อะไรที่จะเกิดปัญหาก็ต้องเดินหน้าไปตามสัญญา”... ถึงเวลาที่จะคอยดูว่าใครหน้าไหนจะปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติไว้ได้หรือไม่ หรือต้องนำเงินภาษีของประชาชนไป “ประเคน” ให้กับเอกชนเหมือนกับหลายๆโครงการที่เกิดค่าโง่ขึ้นมาหรือไม่?
1522837840257 web-01 ภายหลังมีประกาศออกมาชัดเจนว่าตำแหน่ง ก.ก.ผอ.ใหญ่ หรือ ดีดี คนใหม่ของการบินไทย เป็นของ สุเมธ ดำรงชัยธรรม ซึ่งอยู่ในระหว่างเจรจาต่อรองผลประโยชน์การจ้าง ที่จะแลกกับความสามารถ (ที่พนักงานและผู้ถือหุ้นต่างคาดหวัง) ว่าพร้อมทุ่มเทและพิสูจน์ฝีมือสำหรับการเป็นเบอร์ 1 ของแดนสนธยาแห่งนี้หรือไม่ แอร์ไลน์ยักษ์ใหญ่ ที่มีพนักงานกว่า 20,000 คน บางเว็บไซต์ถือโอกาสวิจารณ์และอ้างแหล่งข่าวกันให้วุ่น เช่น “มีผู้ใหญ่ต้องการให้เร่งดำเนินการให้ ดีดี คนใหม่เข้ามาบริหารให้เร็วที่สุด เพื่อที่จะแก้ปัญหาในการบินไทย”

[caption id="attachment_290571" align="aligncenter" width="503"] สุเมธ ดำรงชัยธรรม สุเมธ ดำรงชัยธรรม[/caption]

ใครอ่านเจอคงต้องตีความกันยุ่งว่าปัญหาอะไร? เวลา 1 ปีกับ 4 เดือน ที่ผู้นำหญิงลูกหม้อคนขยันอย่าง อุษณีย์ แสงสิงแก้ว ได้รับความไว้วางใจจากบอร์ดให้นั่งเป็นรักษาการ ดีดี จนใกล้จะเกษียณในเดือนกันยายนนี้ ก็พิสูจน์ให้สาธารณชน ผู้ถือหุ้น หรือแม้แต่พนักงานทั้งองค์กรเห็นแล้วว่า ผู้นำองค์กรคนนี้ได้ตั้งใจทุ่มเททำงานมากมายให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี จากที่ขาดทุนเป็นหมื่นล้านบาท จนพลิกกลับมาเป็นกำไร ในไตรมาสแรกของปี 2561 ที่เพิ่งจะประกาศผล ออกไป 3,836 ล้านบาท นับเป็นการตอกยํ้าถึงความมั่นใจในทีมงานการตลาดของสายการพาณิชย์ ที่มีลูกหม้อคนรุ่นใหม่นำทีมโดย วิวัฒน์ ปิยะวิโรจน์ รองก.ก.ผอ.ใหญ่ ซึ่งกล้าการันตีฝีมือชงบอร์ดถึงเหตุและสกัดการสรรหา “คนนอก” มานั่งในองค์กร

[caption id="attachment_290572" align="aligncenter" width="503"] อุษณีย์ แสงสิงแก้ว อุษณีย์ แสงสิงแก้ว[/caption]

พูดถึงเรื่องการสรรหาก็ไม่รู้จริงๆ ว่าเป็นความคิดของใครที่เสนอขึ้นมาแล้วช่างดูสวยหรู แต่ก็ยังมียกเว้นอยู่บางฝ่าย (2 มาตรฐาน) ซึ่งพอจะรู้กันได้ว่าตำแหน่งคุมด้านไหนในองค์กรนี้ จะปฏิรูปทั้งทีก็ดันไม่กล้าแตะ! อันนี้หรือไม่ที่ว่า “มีปัญหา” แล้ว “ดีดีคนใหม่” กล้าพอที่จะแก้ปัญหาที่ใครๆ คนไหนเข้ามาก็ถือเป็น “ของแสลง” ได้หรือไม่? คนทำงานกันมา 20 ปี พอถึงเวลาจะเป็นผู้อำนวยการระดับ 10 ยังต้องเปิดสรรหาจาก “คนนอก” และคนที่อยู่เติบโตมาจะเจริญก้าวหน้าได้อย่างไร? คนทำดีรักองค์กรมีฝีมือและได้รับการยอมรับ ก็ควรจะได้ดิบได้ดีในหน้าที่การงานและเป็นความภูมิใจของครอบครัว แต่ก็มีอีกมากที่เหมือนกับการจับเบอร์ขึ้นมาเป็นใหญ่และฝีไม้ฝีมือไม่ถึง...สรุปได้ว่าปัญหาใหญ่ของ “เจ้าจำปี” ถ้าจะมี ก็คงเป็นเพราะองค์กรใหญ่เกินไปสำหรับการแข่งของธุรกิจปัจจุบันนั่นเอง
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว ยินดีกับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด(มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ที่คว้า 3 รางวัลใหญ่จากเวที Asian Excellence Award 2018 ประกอบด้วย ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส รับ Asia’s Best CEO (Investor Relations) ในฐานะผู้นำองค์กรที่มีวิสัยทัศน์ สร้างธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน, ไพศาล จิระกิจเจริญ คว้ารางวัล Asia’s Best CFO ผู้โดดเด่นด้านการบริหารจัดการการเงินและตลาดทุน และ กอบบุญ ศรีชัย คว้า Best Investor Relations Company (Thailand) ที่มีการเปิดเผยข้อมูลองค์กรอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม งานนี้จัดโดย Corporate Governance Asia วารสารชั้นนำด้านเศรษฐกิจและการกำกับดูแลกิจการของฮ่องกงและเอเชีย ซึ่งมีการมอบรางวัลกันไปแล้ว ที่ประเทศฮ่องกง

| คอลัมน์ : ฐานโซไซตี
| โดย : ว.เชิงดอย
| หน้า 4 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3375 หน้า 4 ระหว่างวันที่ 17-20 มิ.ย.2561
web-01