ยกเว้น "แวตรายย่อย" | เทรดโทเคนในตลาดรอง - ไม่รวมผู้ออก ICO

17 มิ.ย. 2561 | 17:09 น.
170661-2355

คลังจ่อประกาศอัตราภาษีสินทรัพย์ดิจิตอลเร็ว ๆ นี้ ไฟเขียว! เว้นจัดเก็บแวตรายย่อยที่ซื้อขายคริปโตฯ-โทเคนผ่าน Exchange แต่คงแวตผู้ซื้อขายที่เป็นนิติบุคคล ขณะที่ บจก.-บมจ.ไทย ที่ระดมทุนเสนอขายไอซีโอ ต้องเสียภาษีนิติบุคคล 20% และแวต 7% เป็นปกติ ปัดเรียกเก็บภาษีทันที 27%

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"
 ว่า กรมสรรพากรเตรียมจะออกประกาศการจัดเก็บภาษีสินทรัพย์ดิจิตอล โดยจะยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) ให้กับบุคลธรรมดาที่ทำการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิตอลในศูนย์ซื้อขาย (Exchange) ที่ได้รับใบอนุญาต ส่วนกรณีที่เป็นนิติบุคคลซื้อขายยังต้องเสียแวต 7% ขณะนี้ เรื่องผ่านการอนุมัติจากกระทรวงการคลังแล้ว อยู่ระหว่างเสนอพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) สินทรัพย์ดิจิตอลในส่วนของกฎหมายลูกที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษี เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในเร็ว ๆ นี้

 

[caption id="attachment_289460" align="aligncenter" width="335"] ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ ประภาศ  ดร.เอกนิติ  นิติทัณฑ์ประภาศ[/caption]

"ในชั้นนี้ กรมสรรพากรเสนอให้มีการตรากฎหมายยกเว้นแวตให้กับบุคลธรรมดาที่ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิตอลใน Exchange ที่ได้ใบอนุญาตจากคลังก่อน ส่วนการจะพิจารณายกเว้นแวตให้รายย่อยที่ซื้อขายผ่านนายหน้า (Broker) และซื้อขายผ่านผู้ให้บริการ (Dealer) ด้วยหรือไม่นั้น เป็นเรื่องของนโยบายที่ต้องหารือในรายละเอียดกันอีกมาก"

ส่วนผู้ที่มีกำไรหรือผลตอบแทนจากการถือครองสินทรัพย์ดิจิตอล ต้องเสียภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ในอัตรา 15% ในแต่ละครั้งที่ได้กำไรหรือได้ผลตอบแทน (Capital Gain Tax) ต้องนำรายได้ไปคำนวณการหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในสิ้นปี


TP10-3350-2C

"ทุกอย่างยังเป็นหลักการจัดเก็บภาษีตามกฎหมายปัจจุบัน เพียงแต่เดิมธุรกิจนี้ที่ผ่านมา อาจจะเทา ๆ ไม่ชัดเจน เราเพียงแต่นำมาจัดวางให้ถูกที่ จัดประเภทเงินได้ใหม่ให้รองรับสินทรัพย์ดิจิตอลเท่านั้น และที่ต้องกำหนดให้มีการหัก ณ ที่จ่าย ก็เพื่อตอนสิ้นปี ผู้ที่มีรายได้ไม่มีภาระภาษีมากจนเกินไป และถ้าสิ้นปี มีรายได้คำนวณภาษี แล้วถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้เกิน ก็ขอคืน แต่ถ้าต้องจ่ายเพิ่ม ก็จ่ายเพิ่ม ไม่ต่างจากการมีรายได้ประเภทอื่น ๆ ขณะที่ บริษัทไทยที่ออกหรือเสนอขายไอซีโอ (Initial Coin Offering) ต้องเสียภาษีนิติบุคคลในอัตรา 20% และภาษีแวต 7%"


MP17-3374-A


กรณีมีผู้เชี่ยวชาญให้สัมภาษณ์ว่า บริษัทผู้ออกไอซีโอต้องเสียภาษีทันที 27% นั้น กรมสรรพากรได้ชี้แจงไปแล้วว่า เป็นเรื่องเข้าใจผิด การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลต้องดูเป็นรอบระยะเวลาบัญชี บริษัทที่ออกไอซีโอมีรายได้ทั้งปีเท่าไหร่ หักรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจการ มีกำไรสุทธิเหลือเท่าไหร่ จึงเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล 20% ซึ่งเป็นหลักการปกติ

ส่วนการออกไอซีโอตามกฎหมายต้องเรียกเก็บแวต 7% จากผู้ซื้อ ซึ่งเรียกว่า ภาษีขาย บริษัทก็เอาภาษีขายหักออกจากภาษีซื้อ ถ้าภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ ถึงจะเสีย 7% จากส่วนต่างนี้ แต่ถ้าภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย ก็ขอคืนภาษีซื้อได้ ดังนั้น การจะมาบอกว่า การออกไอซีโอแล้วต้องเสียภาษีทันที 27% เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง


415052

ด้าน นายศิวนัส ยามดี ผู้ก่อตั้ง บริษัท คอยน์ แอสเซท จำกัด (Coin Asset) กล่าวว่า เห็นด้วยที่รัฐจะยกเว้นแวตสำหรับรายย่อยที่ซื้อขายผ่าน Exchange เพราะมีบทเรียนจากประเทศอื่นให้เห็นแล้วว่า ถ้าเก็บเงินทุนก็ไหลออกหมด อย่าง ออสเตรเลียเคยเก็บภาษี GST (Goods and Services Tax) เหมือนแวตบ้านเรา คนก็แห่ออกไปขายต่างประเทศ เพราะต้นทุนต่ำกว่า หรืออย่าง ญี่ปุ่นที่ยกเว้น Consumption Tax ก็เหตุผลเดียวกัน


……………….
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,374 วันที่ 14-16 มิ.ย. 2561 หน้า 17-18

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
เปิดเกณฑ์คุม‘ICO’กระทบต้นทุนระดมเงินสตาร์ตอัพ
“กม.ประกอบธุรกิจดิจิทัล” ทำ ICO ต้องขอล่วงหน้า


ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว