ประมง 1.2 แสนล้านผวา หวั่นคู่ค้าแบน เร่งคลอดก.ม.ใหม่-นายจ้างห่วงเพิ่มภาระ

01 มิ.ย. 2561 | 08:41 น.
ผวาโลกแบนสินค้าประมงไทย 1.2 แสนล้าน 1 มิ.ย. กระทรวงแรงงานนัดสมาคมประมงถกร่างกฎหมายแรงงานใหม่ให้สอดรับกับ ILO ประมงนอกน่านนํ้าวิจารณ์ยับ แปลอังกฤษเป็นไทยเพี้ยน “มงคล” ติง 2 ประเด็นใหญ่เพิ่มภาระนายจ้าง

ความคืบหน้า ร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)แรงงานประมง พ.ศ. ... จัดทำโดยกระทรวงแรงงานที่ได้ศึกษามา 2 ปี ร่วมกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ประจำประเทศไทย ให้เหตุผลจำเป็นต้องมีพ.ร.บ.หรือกฎหมายนี้เนื่องจากสภาพการจ้าง สภาพการทำงานในภาคประมงมีความแตกต่างจากการทำงานของลูกจ้างทั่วไป มีความเสี่ยงภัยทางทะเลและมีระยะเวลาการทำงานที่ต่อเนื่องเป็นเวลานาน

Workers sort fish catch onboard a bottom trawler in the Gulf of Thailand. Bottom trawl fishing uses weighted nets that are dragged on the bottom of the seafloor and can destroy whole habitats. When used with very small net mesh sizes they also catch everything in their path including non targeted species and juvenile marine life. The Greenpeace ship Esperanza is documenting illegal and destructive fishing methodologies in the Gulf of Thailand as part of its Oceans Defender tour.

ขณะที่กฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน คือกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล พ.ศ. 2557 ออกตามความในพ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับสภาพการจ้าง สภาพการทำงานแก่คนงานประมงทะเลแต่มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่สอดคล้องและครอบคลุมสภาพการจ้างงานในงานประมงทั้งหมด จึงจำเป็นต้องมีกฎหมายว่าด้วยแรงงานประมงให้ครอบคลุมประมงทุกภาคส่วน เพื่อคุ้มครองและส่งเสริม สิทธิของแรงงานประมง ให้สอดคล้อง กับมาตรฐานระหว่างประเทศ เป็นการป้องกันการใช้แรงงานที่ผิดกฎหมายในภาคการประมง รวมทั้งวางมาตรการในการควบคุม กำกับ ดูแลและบริหารจัดการในการออกใบรับรองด้านแรงงานภาคประมงให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล TP10-3370-A-

ต่อเรื่องนี้ แหล่งข่าวจากสมาคมการประมงนอกน่านนํ้าไทย เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า จากที่กระทรวงแรงงานได้มีการลอกกฎหมายในอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 188 ว่าด้วยการทำงานในภาคการประมง พ.ศ.2550 (ค.ศ.2007) มาใช้ยกร่างกฎหมายฉบับนี้ถือว่าไม่สอดคล้องกับบริบทและวิถีของภาคประมงไทย จากการตรวจสอบยังมีการแปลความหมายภาษาอังกฤษเป็นไทยผิดเพี้ยนในหลายมาตรา

ทั้งนี้ทางกระทรวงอ้าง
เพื่อขจัดการละเมิดการทำงานในภาคประมง รวมทั้งเสริมสร้างกรอบความคุ้มครองทางกฎหมายของประเทศไทยโดยอ้างอิงกรอบของ ILO จะได้รับการคุ้มครองทางสังคม อาทิ การได้รับการตรวจสุขภาพ การจัดอาหารและนํ้าดื่มที่ถูกสุขลักษณะ การให้การดูแลทางการแพทย์เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายจากการทำงาน มีเวลาพัก ตลอดจนการจัดที่พักอาศัยให้อย่างเหมาะสม การจัดทำบัญชีรายชื่อสัญญาจ้าง ทะเบียนลูกจ้าง หลักฐานการจ่ายค่าจ้าง รวมทั้งการส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานให้เกิดผลเป็นรูปธรรม เป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชนและมาตรฐานสากล ประมง

แหล่งข่าวจากกระทรวงแรงงาน  กล่าวยอมรับว่าการออกกฎหมายย่อมมีผลกระทบต่อผู้ประกอบการ แต่หากยังยืนอยู่กับสิ่งที่มีที่เป็นโดยไม่มองถึงโลกที่เปลี่ยนแปลงไป หากเกิดผลกระทบกับการค้าของประเทศก็ควรมีการปรับเปลี่ยน

นายมงคล สุขเจริญ คณา ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้ซํ้าซ้อนกับกฎกระทรวงที่เคยออกมาก่อนหน้านี้แล้ว มี 2 เรื่องที่ทางสมาคมไม่เห็นด้วย 1. การปรับเก๋งเรือจะต้องมีความสูงไม่ตํ่ากว่า 2 เมตร ไม่สามารถใช้กับเรือเก่าได้ เสนอให้บังคับใช้กับเรือใหม่ ถึงจะเป็นธรรม 2.ให้นายจ้างต้องทำประกันสังคมให้แรงงาน ก็มีความเสี่ยงทำไปแล้วลูกจ้างออกจะทำอย่างไร ปัญหาเหล่านี้เพิ่มภาระต้นทุนให้นายจ้างทั้งสิ้น กระทรวงแรงงานได้นัดหารือกับสมาคม ในวันที่ 1 มิถุนายนนี้เพื่อถกกันในประเด็นที่ยังเป็นปัญหา จากข้อมูลของกรมประมงในปี 2560 ไทยมีการส่งออกสินค้าประมงทุกชนิดปริมาณ 1.9 ล้านตันมูลค่า 1.2 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ส่งออก 1.8 ล้านตัน มูลค่า 1.1 แสนล้านบาท

เซกชั่น : การค้า-การลงทุน | หน้า 10 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,370 วันที่ 31 พ.ค.-2 มิ.ย. 61
e-book-1-503x62-7