ประยุทธ์ย้ำหน่วยราชการเร่งใช้เทคโนโลยีทำงานพัฒนาชาติเเละช่วยปชช.

19 พ.ค. 2561 | 12:42 น.
ประยุทธ์ย้ำหน่วยราชการเร่งใช้เทคโนโลยีทำงานพัฒนาชาติเเละช่วยปชช.

พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน”ว่า” เรื่องการยกระดับการให้บริการ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและการลงทุน อาทิ โครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ หรือ National e-Payment ที่ช่วยทั้งในเรื่องความสะดวกสบายในการชำระเงินของประชาชน และภาคธุรกิจ SMEs ทั้งการโอนเงินที่เชื่อมโยงมากขึ้น ผ่านระบบพร้อมเพย์ (Prompt Pay) ที่ปัจจุบัน มีผู้ลงทะเบียนใช้แล้วกว่า 40 ล้านบัญชี ยอดการทำธุรกรรมสูงถึง 127 ล้านรายการ มูลค่ารวมกว่า 4.9 แสนล้านบาท ซึ่งการปรับลดค่าธรรมเนียมในโครงการพร้อมเพย์นี้ ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ยกเลิกค่าธรรมเนียมการโอนเงินทั้งหมดในที่สุด

ผมขอขอบคุณธนาคารพาณิชย์ที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ช่วยกันสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนและธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs เป็นจำนวนมาก ในภาครัฐเอง ตอนนี้ก็มีการปรับในเรื่องการรับชำระเงินต่าง ๆ ให้สะดวกขึ้นผ่านเดบิตการ์ด ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนไม่ต้องถือเงินสดจำนวนมาก ๆ มายังสถานที่ราชการอีกแล้ว ต่อไปเราก็จะเร่งเชื่อมโยงฐานข้อมูลผู้มีรายได้น้อย ข้อมูลสวัสดิการสังคม และระบบการรับจ่ายเงินให้แก่ประชาชน เพื่อให้สามารถให้ความช่วยเหลือและให้บริการประชาชนได้อย่างตรงจุด ตรงคน ลดการทุจริตในกระบวนการจ่ายเงินของภาครัฐ ถึงมือพี่น้องประชาชนผู้ได้รับผลประโยชน์โดยตรง

king

ในโครงการต่าง ๆ อีกด้วย เช่น ความร่วมมือระหว่างธนาคารกรุงไทย กรมบัญชีกลาง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้สร้างระบบการจ่ายเงินอุดหนุนผู้ประสบภัยทางสังคมที่มีบัญชีกับธนาคารกรุงไทย ให้สามารถรับเงินอุดหนุนได้ทันที ซึ่งระบบนี้สามารถตรวจสอบข้อมูลและสิทธิ์ของผู้รับโอนก่อนดำเนินการได้ด้วย นอกจากนี้ ยังจะมีการยกเว้นค่าธรรมเนียมการเปิดบัญชี สำหรับผู้รับเงินอุดหนุนที่ไม่มีบัญชีธนาคาร รวมถึงค่ารักษาบัญชี และผู้รับเงินจะได้รับ SMS แจ้ง เมื่อมีเงินเข้าบัญชีโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ในอนาคต เพื่อให้ผู้ที่ไม่มีบัญชีธนาคาร หรือไม่สะดวกไปเปิดบัญชี ก็จะสามารถรับเงินผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือใช้บัตร e-Money ได้อีกด้วย

นอกจากนี้ ยังมีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน และการบริการภาครัฐอย่างกว้างขวาง อาทิ การพัฒนาแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) ตั้งเป้าหมายการปรับเปลี่ยนพื้นที่การเพาะปลูกให้เหมาะสม ระยะ 20 ปี (60-79) รวม 6 ล้านไร่ ช่วง 5 ปีแรกเราทำได้ 1.5 ล้านไร่ โดยมี ศพก. (ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร) 882 ศูนย์ทั่วประเทศ และเกษตรแปลงใหญ่เป็นกลไกขับเคลื่อน ในเฉพาะปี 61 นี้ มีเกษตรกรเข้าร่วม 43,000 กว่าราย เป็นพืชเศรษฐกิจ ราว 160,000 ไร่ เกษตรผสมผสาน กว่า 81,000 ไร่ ปศุสัตว์ 18,000 กว่าไร่ และประมง 1,100 กว่าไร่ ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิตสินค้าทางการเกษตรชนิดใหม่ ให้มีรายได้เพิ่มขึ้น คุณภาพชีวิตดีขึ้น

ทางตลาดการผลิต อีกตัวอย่างหนึ่ง ก็คือร้านค้าดิจิทัลชุมชนที่เป็นการยกระดับการบริหารร้านค้าปลีก ขยายผลจากเครือข่ายเน็ตประชารัฐ ให้สามารถทำการค้าออนไลน์ (e-Commerce) ประกอบด้วย 3 ระบบงานย่อย เกี่ยวกับ ร้านค้า ธุรกรรมการเงิน การส่งสินค้า (e-Marketplace, e-Payment และ e-Logistics) โดยเริ่มจากร้านค้าประชารัฐสามัคคี ที่มีที่ตั้งเหมาะสมในพื้นที่โครงการเน็ตประชารัฐ ราว 25,000 จุด แล้วเราจะขยายไปจนครบ 75,030 หมู่บ้านทั่วประเทศ เฉพาะปี 61 จำนวน 5,000 แห่ง โดย 25 พ.ค.นี้ จะทดลองขายสินค้าเป้าหมาย 125 รายการ จาก 1,300 รายการสินค้า ที่อยู่ในระบบคาดว่าจะสร้างมูลค่าได้ ราว 6.5 ล้านบาทต่อเดือน

โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6

สิ่งสำคัญในปัจจุบัน เพื่อให้เกิดการบริหารราชการในอนาคตก็คือ การบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ BIG Data ของภารรัฐ ซึ่งวันนี้ผมได้มุ่งเน้นให้ดำเนินการในเรื่องนี้เป็นพิเศษ มีความคืบหน้าไปตามลำดับ มีการบูรณาการฐานข้อมูลภาครัฐ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความมั่นคง เช่น ฐานข้อมูลกลางและภาพถ่ายทางอากาศ พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และฐานข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล ด้านทรัพยากรน้ำและภูมิอากาศ ซึ่งเราจะมีระบบอัจฉริยะสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำด้วย ด้านข้อมูลประชาชนและการบริการภาครัฐ และด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของชาติ และระบบสารสนเทศ เชื่อมโยงการบริหารข้อมูลภาครัฐทั้งปวง เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้ จะช่วยในการตกลงใจในการใช้จ่ายงบประมาณได้อย่างมีธรรมาภิบาล และมีการกำหนดทิศทางการบริหารประเทศได้อย่างมียุทธศาสตร์ในอนาคต รวมทั้งช่วยการแก้ปัญหาปากท้องของประชาชนได้อย่างตรงจุด ตรงคน ตรงกับความต้องการ วันนี้ภาคธุรกิจก็ใช้ Big Data ในการบริหารจัดการอยู่ด้วย”

e-book-1-503x62