ธ.ก.ส.ตั้งเป้าNPLไม่เกิน4%ปรับทีมใหม่ช่วยเกษตรกรเเละSMEs

16 พ.ค. 2561 | 11:41 น.
ธ.ก.ส.ตั้งเป้า “เอ็นพีแอล” ไม่เกิน 4%ปรับทีมใหม่ช่วยเกษตรกรเเละเอสเอ็มอี

นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า ปีนี้ธนาคารยังคงต้องจับตากลุ่มผู้มีรายได้น้อย โดยเฉพาะเกษตร รวมถึงกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) เป็นพิเศษ เนื่องจากยังมีความเสี่ยงก่อหนี้เพิ่มและยังต้องควบคุมการปล่อยสินเชื่อ เนื่องจากปัจจัยการฟื้นตัวในประเทศยังกระจุกตัวในบางพื้นที่ โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่เริ่มเห็นสัญญาณการก่อหนี้ใกล้เต็มเพดานแล้ว ทำให้ศักยภาพการผ่อนค่อนข้างจำกัด และหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ค่อนข้างสูงที่ 4% กว่า หรือสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ วางเป้าหมายในปีนี้คุม NPLไม่เกิน 4% ซึ่งปัจจุบันมีหนี้เฉลี่ยประมาณ 1.5 ล้านบาทต่อราย

นอกจากนี้ ยังมีอีกกลุ่มที่ต้องจับตา คือ กลุ่มเอสเอ็มอี ที่เกี่ยวกับการแปรรูปสินค้าการเกษตร เพราะมีวงเงินกู้ต่อรายสูง ซึ่งบางรายขยายวงเงินจาก 10 ล้านบาท เป็น 20 ล้านบาท และค่อนข้างมีความอ่อนไหวค่อนข้างมาก จากการซื้อขายสินค้าทางการเกษตรที่ราคาผันผวนมากขึ้น แม้ปัจจุบัน NPL ยังต่ำที่ 0.6% แต่วางเป้าหมายในปีนี้คุม NPL ไม่เกิน 1%

apirom

ธนาคารได้แนวทางการช่วยเหลือ ในส่วนของกลุ่มเอสเอ็มอีและผู้มีรายได้น้อย โดยในช่วงเดือนก.ค.นี้ ธนาคารเตรียมปรับโครงสร้างทีมงานส่วนกลาง และในเดือนต.ค.นี้ เตรียมปรับโครงสร้างทีมงานส่วนภูมิภาค เพื่อเข้ามาดูแลส่วนงานลูกค้าเอสเอ็มอีและสหกรณ์ควบคู่กันไป ซึ่งแยกการดูแลออกจากลูกค้ารายย่อยกลุ่มเกษตรกรและผู้มีรายได้น้อยให้ชัดเจนจากเดิมจะดูแลรวมกันหมด

นอกจากนี้ ยังได้วางแนวทางเข้าไปช่วยปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้เอสเอ็มอีและผู้มีรายได้น้อย โดย ธนาคารจะมีเครื่องมือเข้าไปดูแลครอบคลุมตามลูกหนี้แต่ละกลุ่ม ทั้งช่วยปรับโครงสร้างหนี้ ขยายระยะเวลาออกไปอีก 7 ปี และช่วยปรับปรุงการผลิตในระยะยาวสร้างอาชีพเสริม รวมถึงทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ก็จะมีความสามารถชำระหนี้มากขึ้นด้วย สำหรับผู้มีรายได้น้อย

“ปัจจุบันเราก็เข้าไปแก้ไขปัญหาให้กลุ่มผู้มีรายได้น้อยค่อนข้างมาก เพื่อให้สามารถปลดภาระหนี้ แต่เราต้องเร่งทำอีก คือ ต้องไปดูว่ามีลูกค้าธ.ก.ส.อีกเท่าไหร่ ที่ต้องเข้าสู่ขบวนการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อช่วยลดภาระ นอกจากนี้เราก็ช่วยลดภาระดอกเบี้ยให้เขาด้วย โดยให้ปลอดดอกเบี้ย 2 ปีแรก ซึ่งเรากับรัฐก็ชดเชยดอกเบี้ยให้ในส่วนนี้ ในส่วนของเอสเอ็มอีก็เข้าไปตรวจเยี่ยมทุกเดือนหากพบปัญหาเร่งแก้ไข“

โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6

นายอภิรมย์กล่าวว่า ส่วนการปล่อยกู้ใหม่ สำหรับผู้มีรายได้น้อย ธนาคารจะยังคงให้เฉพาะลูกค้าเก่าที่ชำระหนี้เก่าหมดก่อน แต่ลูกค้าใหม่ก็ยังเปิดรับ จะพิจารณาเป็นรายกรณี ขณะที่เอสเอ็มอี จะผลักดันการสร้าง “หัวขบวนเอสเอ็มอี“ เพิ่มขึ้นเป็น 8,700 ราย จากปัจจุบันอยู่ที่ 2,400 รายจากเอสเอ็มอีทั้งหมด 60,000 ราย เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มทางการเกษตร การสร้างงานและรายได้สู่ลูกค้ากลุ่มต่างๆ รวมถึงชุมชน

โดยธนาคารเตรียมสินเชื่อเอสเอ็มอีใหม่ไว้ประมาณ 15,000 ล้านบาทในรอบปีบัญชี 2561 และมียอดสินเชื่อคงค้างอยู่ที่ 65,000 ล้านบาท ซึ่งจะเข้าไปคุมการปล่อยสินเชื่อทั้งหมด ทั้งกระแสเงินสด เงินเข้าเงินออกโดยได้ให้นโยบายกับศูนย์ธุรกิจลูกค้าเอสเอ็มอีของธนาคาร ให้เข้าไปดูแลเอสเอ็มอีมากขึ้น ทั้งเข้าไปเยี่ยมลูกค้าทุกเดือน

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว