ทางออกนอกตำรา : ธปท.ต้องรับผิด อย่าหลอกประชาชน

12 พ.ค. 2561 | 07:30 น.
1545411 ผมเขียนเรื่องผลการดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ขาดทุนสะสมทบต้นทบดอกสูงลิ่วถึง 879,419 ล้านบาท มากกว่าจำนำข้าวที่ขาดทุนมหาศาล 6.3 แสนล้านบาทเสียอีก จากนั้นผมก็ตั้งคำถามไปตัวโตๆ ว่า การดำเนินงานที่ขาดทุนทางบัญชีขนาดนี้ทำไม คณะกรรมการ ธปท.ที่มี “อำพน กิตติอำพน” เป็นประธาน จึงต้องจ่ายเงินก้อนโตให้รองผู้ว่าการ 3 คน ผู้ว่าการอีก 1 คน คณะกรรมการชุดต่าง ๆ สูงถึงปีละ 62-63 ล้านบาท ผู้ใหญ่หลายคนในธปท.ต่างบอกว่า "ผมมีมอคติ ไม่เข้าใจหลักการทำงานของธนาคารกลางตามหลักสากล"

ผมขอบอกตรงๆ นะครับว่า ผมเข้าใจหลักการ และหน้าที่ของธนาคารที่ต้องทำหน้าที่ในการดูแลเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจ โดยใช้อัตราดอกเบี้ยมาคุมเงินเฟ้อ เพื่อดูแลระดับราคาสินค้าไม่ให้คนไทยเดือดร้อน

แต่ผมขอถามต่อไปนะครับ กี่ปีแล้วที่ ธนาคารชาติ ธนาคารกลางของไทย ซึ่งมี “คนเก่งระดับเกียรตินิยม ดี 1 ประเภท 1” มาบริหารจัดการแล้ว บริหารกรอบเงินเฟ้อพลาดเป้าหมายที่สัญญาไว้กับคณะรัฐมนตรี

[caption id="attachment_280585" align="aligncenter" width="503"] อําพน กิตติอําพน อําพน กิตติอําพน[/caption]

ใครไม่เชื่อผมไปสอบทานได้เลยครับ กรอบเงินเฟ้อในแต่ละปีที่ ธนาคารกลางกำหนดไว้ว่าจะควบคุมกำกับดูแลไว้ไม่ให้เกิน 0-3.5% ต่อมาปรับมาเป็น 0-3% ผิดพลาดมาตลอด “เงินเฟ้อที่เป็นตัวสะท้อนไปยังระดับราคาสินค้าติดลบมากี่ปีแล้ว” และช่องว่างที่ถี่ห่างขนาด 0-3.5% นั้นผมเคยให้ความเห็นทักท้วงไปว่า กว้างเกินไปชนิดที่ไม่ต้องอาศัยนักเรียนนอกมาบริหารก็ได้

คณะกรรมการก็ทำงานแบบประชุมกันเดือนละครั้งและจุดยืนเช่นเดิม ไม่เคยบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินเลยสักครั้ง ไม่เชื่อไปตรวจสอบได้

พอบริหารเงินเฟ้อพลาดเป้าหมายแล้วงัยครับ....ไม่มีอะไรในกอไผ่ มีแต่คำอธิบายว่า เศรษฐกิจโลกผันผวนหนัก ดอกเบี้ยทั้งโลกติดลบ เป็นเพราะประเทศมหาอำนาจอัดฉีดเงินลงระบบอย่างหนักหน่วง ฯลฯ โดยที่ฝ่ายบริหาร และคณะกรรมการ ไม่เคยรับผิดมีแต่รับชอบ

ผมขอบอกว่า ถ้าเป็นบริษัทเอกชนที่เขาทำงานแบบมุ่งหวังผลกำไร และต้องพึ่งพาผลสัมฤทธิ์ในการทำงานเป็นตัวตั้ง ทำพลาดขนาดนั้น 1 ครั้งยังพอทำเนา พลาดต่อเนื่องกัน 2-3 ครั้ง โบกมือลากันได้เลย เพราะต้นทุนเขาหายกำไรเขาหด

ผมทวนความจำให้ก็ได้ ถ้าจำอะไรไม่ได้จากการทำงาน ปลายปี 2560 ที่ผ่านมา ค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของ ธปท.ที่กำหนดไว้หลุดกรอบเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน กระทรวงการคลังเรียกร้องให้ ธปท.ลดอัตราดอกเบี้ยจากที่คงไว้ 1.50% ที่สูงกว่าดอกเบี้ยต่างประเทศ ทำให้มีเงินทุนไหลเข้ามามากและทำให้ค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วจนกระทบกับผู้ส่งออก

[caption id="attachment_280576" align="aligncenter" width="503"] ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)[/caption]

ที่สำคัญดอกเบี้ยนโยบายของธปท.ยังสูงกว่าดอกเบี้ยในตลาด ทำให้ธนาคารพาณิชย์ นำเงินที่ระดมได้จากประชาชนไปฝากไว้กับธปท.ฟันกำไรกันอื้อซ่าไม่ต้องมีความเสี่ยง ธปท.ต้องกลายเป็นผู้กู้สุทธิในตลาด นี่ใช่สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ขาดทุนเพิ่มขึ้นใช่มั้ย

โปรดอย่าลืมเขียนโน้ตไว้ตัวโต ๆเลยนะครับคณะกรรมการ ธปท.และผู้บริหาร ธปท.ว่า สิ่งที่ท่านทำพลาดนั้นมันลากเอาชีวิตคนไทย พนักงานบริษัท ตลอดจนเจ้าของกิจการเขาผิดเขาพลาดไปด้วย....

นี่เพียงแผลเรื่องดอกเบี้ย มาคุมเงินเฟ้อที่ผิดพลาด ผมก็ว่าฉกาจฉกรรจ์แล้ว

มาถึงเรื่องการรักษาเสถียรภาพของค่าเงิน ดูแลอัตราแลกเปลี่ยนที่เป็นตัวสะท้อนค่าเศรษฐกิจและราคาของประเทศ ผมก็ว่ามีปัญหามาก

ผมเข้าใจได้ว่าธนาคารกลางเปรียบเสมือนเจ้ามือ จะกระโจนไปรับซื้อ เทขายหมดไม่ได้

แต่หน้าที่ของธนาคารกลางต้องบริหารอัตราแลกเปลี่ยน บริหารค่าเงินให้มีเสถียรภาพอย่างมืออาชีพ คนที่เก่งด้านค้าเงินที่ดีที่สุด รู้เทคนิกวิธีการ รู้สัญญาณ จับอันตราย แก้ปัญหาทั้งเล่นโดยวาจา และโยนลูกผ่าน ธนาคารพาณิชย์ ที่ลงนามเป็น “Arms แขนขา” ในการ “เล่นกับเงิน” ควรที่จะยืนตรงจุดนั้น ไม่ใช่ “มีแต่คนคุมกฎ แต่ไม่เคยรู้เกม”

แต่ถามว่าปัจจุบันมีมั้ย...ผมว่า ไม่มี และที่มีอยู่ก็สู้ “นักค้าเงิน นักบริหารเงิน นักปริวรรตเงินตราในตลาดไม่ได้”
58
เมื่อไม่มี....ผมจึงไม่แปลกใจที่เดือนเมษายน 2561 เดือนเดียว จะมีการแจ้งผลการดำเนินการที่ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนพรวดเดียว 79,000 ล้านบาท ทำให้ขาดทุนสะสมเพิ่มเป็น 879,000 ล้านบาท ซึ่ง คุณผึ้ง-จันทวรรณ สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.ออกมาชี้แจงกับสาธารณะว่า “เป็นการขาดทุนทางบัญชี” นั่นแหละครับ

เป็นไปได้อย่างไร ที่จะขาดทุนเดือนเดียวมากขนาดนั้น แสดงว่า บริหารดีเลิศประเสริฐสุดใช่มั้ย?

จะอธิบายว่า หน้าที่ของธปท.ในการดูแลค่าเงินนั้น ยึดหลักการว่าจะเข้าไปดูแลในกรณีที่ค่าเงินบาทผันผวนมากเกินไปจนอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม หรือมีสัญญาณว่าเกิดการเก็งกำไรในค่าเงินบาท ธปท. ก็อาจจะเข้าไปดูแลความผันผวนในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเป็นครั้งคราวตามความจำเป็นของสถานการณ์  โดยจะพิจารณาจาก Nominal effective exchange rate (NEER) ซึ่งประกอบด้วยสกุลเงินของคู่ค้าและ คู่แข่งทางการค้าที่สำคัญ เป็นหลักไม่ใช่แค่ดอลลาร์สหรัฐฯ  เพียงสกุลเดียว แต่การดูแลค่าเงินบาทของธปท. จะต้องไม่ฝืนปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ ผมว่าคงใช่ไม่ได้ละมั้ง
ขนเงิน98ล้านบาทฝากธนาคาร4 ผู้บริหารธนาคารฝรั่งอย่างน้อย 2 คน บอกกับผมว่า เขาเห็นตัวเลขก็ตกใจมา 2 ปีแล้วที่เป็นเช่นนั้น ในฐานะที่เป็นฝ่ายบริหารเขาบอกว่า ถ้าเป็นการขาดทุนจากการเข้าไปแทรกแซงตลาด Intervention เขาพอเข้าใจได้ ในการเล่นกับเงิน แต่ถ้าขาดทุนจากการดำเนินการเขารับไม่ได้...แต่คนไทยส่วนใหญ่ นักเศรษฐศาสตร์ของไทยบอกว่าเรารับได้ที่จะให้ธนาคารกลางของเราขาดทุนแบบนี้ แต่ผมคนนึงละรับไม่ได้

ในภาวะที่ธปท.ขาดทุนค่าเงิน เชื่อมั้ยธนาคารพาณิชย์เขาทำกำไรจากค่าเงินอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ธนาคารไทยพาณิชย์กำไรค่าเงิน 2,850 ล้านบาท ธนาคารกรุงเทพ 1,500 ล้านบาทเศษ ธนาคารกสิกรไทยกว่า 2,1,55 ล้านบาทเศษ แน่นอนว่าเขาทำการค้า เขาเก็งกำไร แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือเขาบริหารการเงิน...

เขามีการขาดทุนทางบัญชีจากการ “มาร์คทูมาร์เก็ต” เช่นเดียวกับธนาคารกลางนั่นแหละครับ แต่เขารู้จักบริหาร

ธปท.เองก็มีเครื่องมือบริหารการเงินผ่านการซื้อสวอป ผ่านการซื้อฟอร์เวิร์ด ผ่านวิธีการเล่นกับเงินที่มีเครื่องมือในหน้าต่างการเงินเพียบสารพัดวิธี แต่ทำไมถึงถี่ห่างกันขนาดนี้

ไม่มีใครว่าในเรื่อง “จิตวิญญาณของคนธปท.” ที่ยึดมั่นในความสุจริต เที่ยงตรง ยืนยึดมั่นในอุดมการณ์ แต่ผมกำลังตั้งคำถามในเรื่องทักษะการบริหารจัดการที่ยึดประสิทธิภาพเป็นตัวตั้ง วัดผลได้
mSQWlZdCq5b6ZLkwX8vdqwhdJNnCTkcb ถึงเวลานี้ผมอยากให้คนธปทงหันมาพิจารณาตัวเองกันใหม่ เลิกนั่งแต่ในหอคอย ในเวียงวัง มาฟังคลัง มาฟัง นา กันบ้างเพราะ ไม่ว่า ธปท.จะออกมาแก้ต่างเรื่องผลขาดทุนอย่างไร ธปท.ก็ต้องยอมรับว่าผลขาดทุนของ ธปท.ที่เกิดขึ้น แม้ว่าจะเป็นตัวเลขทางบัญชี แต่ก็กระทบความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของไทยไม่น้อย

เลิกหลอกประชาชนคนอย่างผมว่า ผลขาดทุนทางบัญชีไม่มีผลกระทบกับเศรษฐกิจเลย แต่คนธปท.ต้องออกมาบอกว่าจะทำอย่างไรให้ผลการดำเนินงานของ ธปท.มีกำไร หรือมีผลขาดทุนที่ลดลง

อย่าใช้วาทะกรรม “ธนาคารกลางต้องยอมขาดทุนเพื่อชาติ” มากลบผลงานเลยครับ

เพราะไม่ว่าอ้างอย่างไร ในตลาดการเงินเสรีของโลกแล้วไซร้ การทำกำไรคือตัววัดผลการดำเนินงาน แม้ว่าธนาคารกลางไม่ได้ตั้งขึ้นมาเพื่อแสวงหากำไร แต่ทำหน้าที่บริหารเศรษฐกิจให้มั่นคงก็ตาม

ผิดพลาดก็ต้องยอมรับกันตรง ๆ ครับ...อย่าบิดข้อมูล...

…………………………
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา |โดย...บากบั่น บุญเลิศ |หน้า 6 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ| ฉบับ 3365 ระหว่างวันที่ 13-16 พ.ค.2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง......

[caption id="attachment_280580" align="aligncenter" width="503"] ทางออกนอกตำรา : ขาดทุนสะสมยับ! 9 แสนล้าน ทำไมบอร์ด-ผู้บริหารธปท. รับปีละ 62 ล้าน ทางออกนอกตำรา : ขาดทุนสะสมยับ! 9 แสนล้าน ทำไมบอร์ด-ผู้บริหารธปท. รับปีละ 62 ล้าน[/caption]