มอเตอร์เวย์ หาดใหญ่ -ชายแดนไทย -มาเลเซีย

01 พ.ค. 2561 | 11:20 น.
63+9+95696 จัดเป็นอีกหนึ่งโครงการ ที่จะเชื่อมโครงข่ายการคมนาคม และโลจิสติกส์ อีกทั้งในอนาคต เส้นทางดังกล่าวจะมีส่วนสําคัญ อย่างยิ่งทั้งในแง่ของการพัฒนา เขตเศรษฐกิจพิเศษสะเดาและ กิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่นในพื้นที่ ภาคใต้

โดยมีจุดเริ่มต้นโครงการ บริเวณจุดตัดกับทางหลวง หมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ประมาณ กม.1242+135 บริเวณ อําเภอบางกล่ํา จังหวัดสงขลา แนว สายทางมุ่งหน้าลงด้านทิศใต้ไป สิ้นสุดโครงการ (กม.62+596) ที่ ชายแดนไทย-มาเลเซียบริเวณที่ ตั้งของด่านศุลกากรสะเดา แห่ง ที่ 2 อําเภอสะเดา จังหวัดสงขลา รวมระยะทางประมาณ 62.60 กิโลเมตร
appDriving_on_the_left_or_the_right โดยบริเวณ กม. 11+630 จะมีแนวทางแยกขนาด เล็กที่เชื่อมเข้าสู่เส้นทางหลักได้ (Spur Line) ระยะทาง 7.83 กิโลเมตร เพื่อเชื่อมต่อการเดิน ทางสู่ท่าอากาศยานหาดใหญ่และ ทางหลวงหมายเลข 4135 ออกแบบเป็นทางหลวงพิเศษขนาด4 ช่อง จราจร ควบคุมทางเข้าออกอย่าง สมบูรณ์ โดยมีด่านเก็บค่าผ่าน ทางด้วยระบบปิดทั้งหมด 4 ด่าน และมีที่พักริมทาง 1 แห่ง

สําหรับวงเงินลงทุน โครงการจํานวน 57,022 ล้าน บาท แบ่งเป็นวงเงินลงทุนก่อสร้าง 37,399 ล้านบาท ประกอบ ด้วย งานทางและโครงสร้าง 27,424 ล้านบาท ค่าจัดกรรมสิทธิ์ ที่ดิน 6,974 ล้านบาท งาน ระบบ 2,856 ล้านบาท และค่า ลงทุนระยะเริ่มต้น 145 ล้าน บาท ขณะที่วงเงินค่าบริหารและ บํารุงรักษา (O&M) อยู่ที่ 19,623 ล้านบาท ประกอบด้วยค่าบํารุง รักษา 12,440 ล้านบาทและค่า ดําเนินงาน 7,183 ล้านบาท โดย รายได้จะมาจากการเก็บค่าผ่าน ทางและรายได้เชิงพาณิชย์จาก ศูนย์บริการทางหลวง(Service Area) จํานวน 1 แห่ง แบ่ง เป็น 2 ฝั่ง ด้านทิศตะวันออก พื้นที่ 71 ไร่ และด้านทิศตะวัน ตกพื้นที่ 48.5 ไร่
1525172595764 สําหรับอัตราค่าผ่านทางนั้นจะคิดค่าแรก เข้า 10 บาท และคิดตามระยะ ทาง 1.25 บาทต่อกิโลเมตรเมื่อ รวมตลอดเส้นทางทั้งเส้นจะมี อัตราค่าผ่านทางรวม 88 บาท

คาดว่ามอเตอร์เวย์โครงการ นี้จะผ่านการอนุมัติจากคณะ กรรมการนโยบายให้เอกชนร่วม ลงทุนในกิจการของรัฐ(พี่พี่พี่) และที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในปีนี้ ก่อนเปิด ประกวดราคาในช่วงไตรมาสแรก ของปี 2562 อีกทั้งจะลงนาม สัญญาและก่อสร้างช่วงกลาง ปี 2562 ก่อนที่จะเปิดให้บริการ ตามแผนปี 2565-2566

โดยตามผลการศึกษาพบ ว่าเมื่อโครงการแล้วเสร็จและเปิด ให้บริการ คาดว่าจะมีปริมาณการ จราจรเริ่มต้นในปี 2567 อยู่ ที่ 20,910 คัน รวมรายได้จาก ค่าผ่านทาง 478 ล้านบาทต่อ ปี จากนั้นในปี 2596 ปริมาณการ จราจรจะเพิ่มเป็น 46,050 คัน เช่น เกี่ยวกับรายได้ที่จะมีปริมาณการ เติบโตรวมทั้งหมด 2,145 ล้าน บาท ทั้งนี้รวมรายได้ตลอด 30 ปี มอเตอร์เวย์สายนี้จะอยู่ที่ 41,767 ล้านบาท
1525173139604 ดังนั้นจึงจัดว่าเป็นโครงสร้าง พื้นฐานหลักที่กระตุ้นเศรษฐกิจ ภาคใต้ควบคู่ไปกับเพิ่มมูลค่าการ ค้าด่านชายแดนไทย-มาเลเซีย ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่เขตเศรษฐกิจ พิเศษ (Special Economic Zone : SEZ) ที่มียอดการค้าเกือบ 5 แสนล้านต่อปี แบ่งเป็นด่านสะเดา 3.25 แสนล้านบาทต่อปี และด่าน ปาดังเบซาร์ 1.5 แสนล้านบาท ต่อปี

อีกทั้งยังจัดได้ว่าเป็นเส้น ทางสายใหม่ที่จะกลายมาเป็น เส้นทางสายหลักส่งเสริมการค้า ชายแดนและลดปัญหาจราจร แออัดบริเวณด่านชายแดนเนื่องจาก ปัจจุบันเริ่มปริมาณขนส่งสินค้า มากขึ้นทําให้สภาพการจราจร ติดขัดจนต้องลงทุนก่อสร้างด่าน ศุลกากรแห่งที่ 2 ที่ด่านชายแดน สะเดา

สําหรับเรื่องการใช้ เทคโนโลยีในระบบมอเตอร์เวย์ สายนี้จะเป็นระบบเก็บค่าผ่าน ทางอัตโนมัติ (ETC) และเป็น แบบไม่มีไม้กั้นและไม่ใช้บัตร (Cardless) เพื่อแก้ปัญหารถติด หน้าด่านเก็บเงินตลอดจนการ เชื่อมต่อระบบการเดินทางด้วย บัตรใบเดียวหรือตัวร่วม (บัตร แมงมุม)