ผ่าแผนปฏิรูปเศรษฐกิจ อัด 2 หมื่นล้านเพิ่มศักยภาพแข่งขัน

07 เม.ย. 2561 | 13:06 น.
 

5258484 ปัจจุบันประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาเชิงโครงสร้างหลายเรื่อง อาทิ ศักยภาพการเติบโตที่ลดลง ช่วงก่อนปี 2540 ประเทศไทยเคยเติบโตเฉลี่ยประมาณ 9% ช่วงปี 2543-2556 โตเฉลี่ยประมาณ 4% แต่หลายปีที่ผ่านมากลับเติบโตตํ่ากว่า 4% ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการพัฒนาที่มุ่งเน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ ขณะเดียวกันความสามารถในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศตํ่าลง

นอกจากนี้ยังมีปัญหาความเหลื่อมลํ้าในหลายมิติ ภายใต้บริบทโลกยุคใหม่ที่เต็มไปด้วยความท้าทายใหม่ๆ และปัญหาเชิงโครงสร้างที่กล่าวข้างต้น คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ ที่มี นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล เป็นประธาน จึงกำหนดเป้าหมายหลักของการปฏิรูปไว้ว่า มองไปข้างหน้า อยากจะเห็นประเทศไทยมี“การพัฒนาเศรษฐกิจที่แท้จริง”การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ให้กับทุกภาคส่วนในระบบเศรษฐกิจ

โดยได้จัดทำแผนการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ เสนอต่อรัฐบาล3 ด้าน คือ 1.การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 2.ความเท่าเทียมและการเติบโตอย่างมีส่วนร่วม3.การปฏิรูปสถาบันทางเศรษฐกิจการปรับกลไกและบทบาทของภาครัฐ

หากโฟกัสไปที่ประเด็นปฏิรูปการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ที่คณะกรรมการปฏิรูปเสนอจะมีทั้งหมด 17 เรื่องรวมงบประมาณที่จะใช้ดำเนินการประมาณ 2.2 หมื่นล้านบาท ดังนี้
industry-4-change พัฒนาท่องเที่ยว-บริการ

1.อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ ปัจจุบันมีมูลค่าทางด้านเศรษฐกิจถึง 25% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศมีเป้าหมายเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการวางแผนและการดำเนินการของแผนด้านการบริการ เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและเพิ่มผลประโยชน์จากการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมการบริการในประเทศไทยและภูมิภาค CLMV ระยะเวลาดำเนินการ 12 เดือน วงเงิน 4,023 ล้านบาท แหล่งเงินจากงบประมาณประจำปีและกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

2.อุตสาหกรรมการเกษตร มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ 10% ของมูลค่าทางด้านเศรษฐกิจโดยรวม มีการจ้างงานประมาณ 30% เป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการวางแผนและการดำเนินการของอุตสาหกรรมการเกษตร เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมของประเทศและเพิ่มผลประโยชน์จากการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมเกษตรของภูมิภาค CLMV ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี วงเงินและแหล่งงาน อยู่ระหว่างการตอบกลับจากหน่วยงาน
industry-4-0-energy-01 3.อุตสาหกรรมอาหาร มีการเจริญเติบโต 3.5% ต่อปี ในช่วงปี 2554-2558 มีการจ้างงาน 1.5 ล้านคน เป้าหมายเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการวางแผนและการดำเนินการของอุตสาหกรรมอาหาร เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และเพิ่มผลประโยชน์จากการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารของภูมิภาค CLMV ระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี วงเงิน 13,832.7 ล้านบาท

4.อุตสาหกรรมเศรษฐกิจชีวภาพ มีความเจริญเติบโตในปัจจุบันและคาดว่าในอนาคต เช่น การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพได้เพิ่มขึ้น 6.3%ต่อปี คาดว่าจะเติบโตขึ้นต่อเนื่อง 10.2% ต่อปี ระหว่างปี 2559-2564 เป้าหมายเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของเศรษฐกิจชีวภาพไทย พัฒนาและการนำมาใช้อุตสาหกรรมเศรษฐกิจชีวภาพในระดับภูมิภาค รวมไปถึงการบูรณาการห่วงโซ่อุปทาน ระยะเวลาดำเนินการ 12 เดือน วงเงินและแหล่งเงินอยู่ระหว่างการหารือหน่วยงานเพื่อปรับแก้ไข
643B7856-48BA-4CFE-9C7B-1BF00BF8C0D2 เพิ่มศักยภาพอุตฯรถไฟฟ้า
5.อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ไทยเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของเครื่องยนต์แบบดั้งเดิมและมีฐานผลิต 2.6 ล้านคันในปี 2559 มีเป้าหมายเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย และเพิ่มผลประโยชน์จากการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค CLMV ระยะเวลาดำเนินการ 12 เดือน วงเงิน 15 ล้านบาท จากงบประมาณประจำปี

6.อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ ตั้งแต่ปี 2555 อุตสาหกรรมแนวโน้มลดลง การส่งออกลดลง การผลิตลดลง การลงทุนจากต่างประเทศตํ่าลง มีเป้าหมายเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม เพิ่มผลประโยชน์จากการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมของภูมิภาค CLMV ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี วงเงินและแหล่งเงินอยู่ระหว่างการหารือและหน่วยงานเพื่อปรับแก้ไข
online vs offine-698x400 เพิ่มผลประโยชน์จากดิจิตอล

7.อุตสาหกรรมเศรษฐกิจดิจิตอล ในอาเซียนอุตสาหกรรมนี้มีมูลค่า 50 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2559 คาดว่าจะเพิ่มถึง 200 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จนถึงปี 2568 แสดงให้เห็นถึงการเติบโตประมาณ 17% ต่อปี เป้าหมายเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและเพิ่มผลประโยชน์จากการเจริญเติบโตในประเทศและภูมิภาค CLMV ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี วงเงินจากงบประมาณประจำปี 1,563 ล้านบาท

8.อุตสาหกรรมการศึกษา เป็นสิ่งสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ แต่ในด้านอุดมศึกษายังด้อยกว่าหลายประเทศในภูมิภาค เป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการศึกษา เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และใช้ประโยชน์จากการเจริญเติบโตของภูมิภาคในอุตสาหกรรม ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี วงเงินและแหล่งเงินอยู่ระหว่างการหารือหน่วยงานเพื่อปรับแก้ไข

9.อุตสาหกรรมสุขภาพ ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมและใช้ประโยชน์จากการเจริญเติบโตในภูมิภาค

10.การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อาชีวศึกษา ต้องมีการปฏิรูประบบอาชีวศึกษาในประเทศไทยให้เป็นปัจจัยสนับสนุนการเจริญเติบโตในอุตสาหกรรมต่างๆ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และแรงงานให้มีทักษะและประสบการณ์เพียงพอ ระยะเวลา 12 เดือน วงเงินและแหล่งเงินอยู่ระหว่างการหารือหน่วยงานเพื่อปรับแก้ไข

11.การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อุดมศึกษา ต้องมีการปฏิรูปในระยะเวลาดำเนินการ 12 เดือน ให้เป็นปัจจัยสนับสนุนการเจริญเติบโตในอุตสาหกรรมที่เป็นเลิศ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และแรงงานให้มีทักษะระดับสูงและความสามารถในการบริหารเพียงพอ วงเงินและงบประมาณ อยู่ระหว่างการหารือหน่วยงานเพื่อปรับแก้ไข

industry-4-0-energy-02 เพิ่มประสิทธิภาพเทคโนโลยี

12.การเพิ่มประสิทธิภาพทางเทคโนโลยี โครงการพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานด้านนี้ยังล้าหลังกว่าประเทศใกล้เคียง เช่น สิงคโปร์ ส่งผลให้เกิดการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพและดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี วงเงินจากงบประมาณประจำปี 166.7 ล้านบาท

13. การเพิ่มประสิทธิภาพทางเทคโนโลยี หรือ Big data เพราะมีบทบาทในการตัดสินใจในทุกอุตสาหกรรม เป็นกุญแจสำคัญในการทำธุรกิจและเติบโตของอุตสาหกรรม เนื่องจากการทำบิ๊กดาต้าเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลปริมาณมหาศาล การวิเคราะห์ข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ทำให้เกิดข้อกังวลที่เกี่ยวข้องกับสิทธิส่วนบุคคลในการเปิดเผยข้อมูล อำนาจและข้อได้เปรียบจากสิทธิการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ รัฐบาลจึงควรเข้ามาเป็นผู้ควบคุมการใช้บิ๊กดาต้า รวมทั้งเป็นผู้เก็บข้อมูลเพื่อทำให้มั่นใจว่าการใช้ข้อมูลเป็นไปในทางที่ถูกต้องและทำให้เกิดผลประโยชน์มากที่สุด วงเงินจากงบประมาณประจำปีจำนวน 1,813 ล้านบาท

ยกระดับแข่งขันทางธุรกิจ

14.การเพิ่มระดับการแข่งขันทางธุรกิจ หน่วยงานดูแลควบคุมด้านกฎหมายการแข่งขันทางการค้าและตลาดเสรี เพื่อเป็นการผลักดันให้ตลาดเป็นตลาดเสรี เพิ่มปริมาณการแข่งขันและให้เกิดความเป็นธรรมในการแข่งขันระหว่างบริษัทขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ในอุตสาหกรรมต่างๆ ในระบบเศรษฐกิจ และระหว่างบริษัทในประเทศและบริษัทในต่างประเทศ โดยให้การแข่งขันขึ้นอยู่กับราคา คุณภาพ ความแตกต่างของสินค้าและนวัตกรรม ไม่มีการได้เปรียบเสียเปรียบจากกฎระเบียบต่างๆ

กรอบระยะเวลาในการดำเนินการ 3 ปี วงเงินจากงบประมาณประจำปี 1,000 ล้านบาท (อยู่ระหว่างหารือกับหน่วยงานเพื่อปรับแก้ไข) โดยมีเป้าหมาย 1.จำกัดผลกระทบต่อผู้บริโภคจากการผูกขาดทางตลาด และผลกระทบอื่นๆ จากตำแหน่งทางการตลาดที่แข็งแกร่งเกินไปของผู้ผลิต 2.ขจัดมาตรการการกีดกันเพื่อสนับสนุนให้เกิดตลาดเสรีตามแนวทางการเปิดตลาดเสรี

15.คณะทำงานด้านการประชาสัมพันธ์ เพื่อดึงดูดการลงทุนต่างชาติ และสนับสนุนให้เกิดตลาดเสรี รัฐบาลควรจัดตั้งคณะทำงานด้านการประชาสัมพันธ์เป็นหน่วยงานสนับสนุนที่มีประสิทธิผลสูงในการบรรลุผล มีหน้าที่หลักในการวางแผนและพัฒนาเครื่องมือที่จำเป็นต่างๆ เพื่อประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมและโน้มน้าวนักลงทุนต่างชาติให้มาลงทุนในประเทศไทย
editor_image_6f0ab0a446fcd4731469560109b0eeba 16.การเพิ่มระดับการแข่งขันทางธุรกิจ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ระยะเวลาดำเนินการ 12 เดือน วงเงินและแหล่งเงินอยู่ในระหว่างการหารือหน่วยงานเพื่อปรับแก้ไข เป้าหมายเพื่อพัฒนาระบบนิเวศทางธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้แข็งแกร่งทำให้เกิดความหลากหลายทางขนาดของธุรกิจ

17.การเพิ่มระดับการแข่งขันทางธุรกิจ ความยากง่ายในการทำธุรกิจ ระยะเวลาดำเนินการ 12 เดือน วงเงินและแหล่งเงินอยู่ในระหว่างการหารือหน่วยงานเพื่อปรับแก้ไข เป้าหมายเพื่อสนับสนุนให้เกิดการประกอบธุรกิจภายในประเทศมากขึ้นและดึงดูดธุรกิจจากต่างชาติให้มาลงทุนในประเทศ รัฐบาลควรออกนโยบายเพื่อเพิ่มความง่ายและความสะดวกในการจัดตั้ง การขอใบอนุญาต การปกป้องผู้ประกอบการ การบังคับผลของสัญญาและการแก้ปัญหาล้มละลาย โดยตัวชี้วัดของเรื่อง คือ อันดับของประเทศไทยในการจัดอันดับความยากง่ายในการทำธุรกิจของธนาคารโลก
........................
รายงาน :ผ่าแผนปฏิรูปเศรษฐกิจ อัด 2 หมื่นล้านเพิ่มศักยภาพแข่งขัน |เซกชั่นการเมือง หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ  ฉบับ 3355 ระหว่าง วันที่ 6-8 เมษายน 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว